ความคุ้นเคย
ตระกูลที่ภิกษุควรเข้าไปและไม่ควรเข้าไป
พระศาสดาไม่ตรัสโทษของพวกภิกษุ ตรัสว่า " มหาบพิตร สาวก
ทั้งหลายของอาตมภาพ ไม่มีความคุ้นเคยกับพระองค์. เพราะเหตุนั้น
ภิกษุทั้งหลายจักไม่ไปแล้ว เมื่อจะทรงประกาศเหตุแห่งการไม่เข้าไป และ
เหตุแห่งการเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
ตรัสพระสูตร๑นี้ว่า :-
"ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ภิกษุยังไม่เข้า
ไปแล้ว ก็ไม่ควรเข้าไป, และครั้นเข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้,
ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เป็นไฉน?
ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้; คือ
เขาไม่ต้อนรับด้วยความพอใจ, ไม่อภิวาทด้วยความพอใจ,
ไม่ให้อาสนะด้วยความพอใจ, ซ่อนของที่มีอยู่ของเขาไว้,
เมื่อของมีอยู่มาก ก็ให้แต่น้อย, เมื่อมีของประณีต ก็ให้ของ
เศร้าหมอง, ให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยความเคารพ,
ไม่นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม, เมื่อกล่าวธรรมอยู่เขาก็ไม่ยินดี ภิกษุทั้งหลาย
ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้แล ภิกษุยังไม่เข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรเข้าไป
และครั้นเข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้.
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ภิกษุยังไม่เข้าไป
ก็ควรเข้าไป และเมื่อเข้าไปแล้ว ก็ควรนั่งใกล้.
ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เป็นไฉน?
ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้ คือ
เขาต้อนรับด้วยความพอใจ, อภิวาทด้วยความพอใจ,
ให้อาสนะด้วย ความพอใจ, ไม่ซ่อนของที่มีอยู่ของเขาไว้, เมื่อของมีมาก ก็ให้มาก,
เมื่อมีของประณีต ก็ให้ของประณีต, รู้โดยเคารพ ไม่ให้โดยไม่เคารพ,
เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม, เมื่อกล่าวธรรมอยู่ เขาก็ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้แล
ภิกษุยังไม่เข้าไป ก็ควรเข้าไป และครั้นเข้ารูปแล้ว ก็ควรนั่งใกล้" ดังนี้แล้ว
จึงตรัสว่า " มหาบพิตร สาวกของอาตมภาพ เมื่อไม่ได้ความคุ้นเคย
จากสำนักของพระองค์ จึงจักไม่ไป ด้วยประการฉะนี้แล;
แท้จริงโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้เขาบำรุงอยู่ด้วยความเคารพในที่ๆ ไม่คุ้นเคย
ถึงเวทนาแทบปางตาย ก็ได้ไปสู่ที่ของผู้คุ้นเคยกันเหมือนกัน.
อันระราชาทูลถามว่า ในกาลไร? พระเจ้าข้า " ทรงนำอดีตนิทานมา (สาธกดังต่อไปนี้) :-
ในพะรไตรปิกฏก็มีแสดงไว้ พระราชาเห็นดาบสรูปหนึ่งเกิดความเลื่อมใส ก็นิมนต์ให้ไปอยู่
ในวังและให้อาหารอย่างดี มีรสอร่อย ดาบสก็ไม่เสวยอาหาร เพราะคิดถึงลูกศิษย์ ก็เลย
ขอพระราชากลับไปหาลูกศิษย์ในป่า ไปเสวยข้าวฟางและลูกเดือยอร่อยกว่าอาหารในวัง รสมีความคุ้นเคยเป็นรสอย่างยิ่งค่ะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 20
ลำดับนั้น นารทอำมาตย์ถามว่า :- " ข้าแต่เกสีดาบสผู้มีโชค อย่างไรหนอ ท่านจึง ละพระราชา ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์ ผู้บันดาลสมบัติ น่าใคร่ทั้งสิ้นให้สำเร็จเสีย แล้วยินดีในอาศรมของ กัปปกดาบส." ท่านตอบว่า :- " คำไพเราะชวนให้รื่นรมย์มีอยู่, รุกขชาติเป็น ที่เพลินใจมีอยู่, ดูก่อนนารทะ คำที่กัปปกะกล่าวดี แล้ว ย่อมให้เรายินดีได้ " นารทอำมาตย์ถามว่า " ท่านบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันเจือด้วยรส เนื้อดีๆ แล้ว, ข้าวฟ่างและลูกเดือย ซึ่งหารสเค็ม มิได้ จะทำให้ห่านยินดีได้อย่างไร?" ท่านตอบว่า " ผู้คุ้นเคยกันบริโภค๒อาหารไม่อร่อยหรืออร่อย น้อยหรือมากในที่ใด, (อาหารที่บริโภคในที่นั้นก็ให้ สำเร็จประโยชน์ได้) เพราะว่า รสทั้งหลายมีความ คุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง."
เรื่อง คนที่ควรคุ้นเคยและไม่ควรคุ้นเคยด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 893
ว่าด้วยพ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน
[๑๔๒๒] บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คน
มักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิดแต่ประ-
โยชน์ตน คนแสร้งทำสงบเสงี่ยมแต่ภายนอก.
[๑๔๒๓] มีคนพวก ๑ มีปกติเหมือนโคกระหาย
น้ำทำทีเหมือนจะกล้ำกลืนมิตรด้วยวาจา แต่ไม่
ใช้ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนี้.
[๑๔๒๔] คนพวก ๑ เป็นคนชูมือเปล่า พัวพัน
อยู่แต่ด้วยวาจา เป็นมนุษย์กระพี้ ไม่มีความ
กตัญญู ไม่ควรนั่งใกล้คนเช่นนั้น.
[๑๔๒๕] บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อสตรีหรือบุรุษผู้
มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความเกี่ยวข้องให้แจ้ง-
ชัดด้วยเหตุต่างๆ .
[๑๔๒๖] ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคล ผู้หยั่งลงสู่
กรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่นอน กำ-
จัดคนไม่เหลือกหน้า เหมือนดาบที่เขาลับแล้ว
ปกปิดไว้ ฉะนั้น.
[๑๔๒๗] คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ
เข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำพูดอันคมคาย
ซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งคนเทียม
มิตร แม้คนเช่นนี้ก็ไม่ควรคุ้นเคย.
[๑๔๒๘] คนมีความคิดชั่วเช่นนั้น พบเห็นอามิส
หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อมคิดประทุษร้าย
และครั้นได้แล้วก็ละสหายนั้นไป.
[๑๔๒๙] มีคนจำนวนมากที่ปลอมเป็นมิตรมาคบ
หา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย เหมือน
ไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.
[๑๔๓๐] อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าเหตุที่เกิดขึ้นได้
ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจศัตรู บุคคลนั้น
ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
[๑๔๓๑] ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้
ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจากการเบียดเบียน
ของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.
[๑๔๓๒] คนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรเว้น
บุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มักทำการกำจัดอยู่
เป็นนิตย์ เหมือนแร้วที่เขาดักไว้ในป่าเช่นนั้น
เสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้น
เหยี่ยว ฉะนั้น.
จบ กุกกุฏชาดกที่ ๑๐
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรายังเป็นปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส ขณะที่กุศลจิตเกิดเป็นบัณฑิต ขณะที่อกุศลจิตเกิดเป็นคนพาล เรามีทั้งพาลและบัณฑิตสลับกันค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
มองในส่วนดี ส่วนไม่ดี ควรเห็นใจ มีเมตตากับเขาในส่วนไม่ดี ทุกคนยังมีกิเลส
เหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับปัญญาว่าจะคิดด้วยความแยบคายอย่างไร แม้ในคนพาล ดัง
ข้อความในพระไตรปิฎกครับ
เรื่อง มองในส่วนวาจาที่ดีของเขา ส่วนกายที่ไม่ดีไม่พึงใส่ใจ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 339
ข้อความบางตอนจาก ทุติยอาฆาตวินยสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๕ จำพวกนั้น บุคคลใด เป็นผู้ความ
ประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุ
พึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร เห็นผ้าเก่าที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา
ส่วนใดเป็นสาระ ก็เลือกถือเอาส่วนนั้นแล้วหลีกไป แม้ฉันใด บุคคลใด
เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจา
บริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจ
ส่วนนั้นในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุ
พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างนี้.
เรื่อง มองในส่วนกายที่ดีของเขา ทางวาจาไม่ดีไม่ใส่ใจ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 340
ข้อความบางตอนจาก ทุติยอาฆาตวินยสูตร
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่
บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความ
อาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้
บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาลงสู่สระน้ำนั้น แหวก
สาหร่ายและแหนด้วยมือทั้งสองแล้ว กอบน้ำขึ้นดื่มแล้วพึงไป แม้ฉันใด
บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา
ภิกษุไม่พึงใส่ใจในส่วนนั้นในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใด
ของเขา ภิกษุพึงใส่ใจในส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความ
อาฆาตในบุคคลนี้อย่างนี้.
เรื่อง มองในส่วนที่เขายังมีกุศลจิตเกิดบ้าง
หรือศึกษาธรรมแล้วเกิดกุศลบ้าง แม้กายวาจาไม่ดีก็ไม่ใส่ใจ
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่
บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ
ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างไร เหมือนอย่างว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยโค บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว
เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาพึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอย
โคนี้ ถ้าเราจะกอบขึ้นดื่มหรือใช้ภาชนะตักขึ้นดื่มไซร้ เราก็จักทำน้ำนั้นให้
ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่เป็นที่ควรดื่มบ้าง ถ้ากระไรเราพึงคุกกเข่าก้มลงดื่ม
น้ำอย่างโคดื่มน้ำแล้วหลีกไปเถิด เขาคุกเข่าก้มลงดื่มน้ำอย่างโคดื่มน้ำแล้วไป
แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มิความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจได้ความเลื่อมใสโดยกาล
อันสมควร ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึง
ใส่ใจส่วนนั้นสมัยนั้น แม้ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา
ภิกษุก็ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แต่การได้ทางสงบใจได้ความเลื่อมใส
โดยกาลอันสมควรส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น
ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนั้น.
เรื่อง ควรสงสารเห็นใจที่เขากาย วาจา และใจไม่ดี
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่
บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ
ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างไร เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เดินทางไกล
แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ไกล แม้ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ไกล เขาไม่พึงได้
อาหารที่สบาย (ถูกโรค) เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไป
สู่บ้าน บุรุษบางคนผู้เดินทางไกลพึงเห็นเขา บุรุษนั้นพึงเข้าไปตั้งความกรุณา
ความเอ็นดู ควานอนุเคราะห์ในเขาว่า โอ คนๆ นี้พึงได้อาหารที่สบาย
เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า คนๆ นี้อย่าถึงความพินาศฉิบหาย ณ ที่นี้เลย แม้ฉันใด
บุคคลใดเป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทาง
วาจาไม่บริสุทธิ์และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร
ภิกษุพึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ในบุคคลแม้เห็น
ปานนี้ว่า โอท่านผู้นี้พึงละกายทุจริตแล้ว อบรมกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้ว
อบรมวจีสุจริต พึงละมโนทุจริตแล้ว อบรมมโนสุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ท่านผู้นี้เมื่อตายไปแล้ว อย่าเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้.
เรื่อง ใส่ใจในความดีของบุคคลที่ กาย วาจา ใจ ดี
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความ
เลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร
เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่มีน้ำใส มีน้ำอร่อยดี มีน้ำเย็น มีน้ำขาว มีท่าน้ำ
ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ดาดาษไปด้วยต้นไม้พันธุ์ต่างๆ บุคคลผู้เดินทางร้อน
อบอ้าว เหนื่อย อ่อน ระหายน้ำ เขาพึงลงสู่สระน้ำนั้น อาบบ้าง ดื่มบ้าง
แล้วขึ้นมานั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น แม้ฉันใด บุคคลใด
เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร แม้ความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัย
นั้น แม้การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยการอันสมควร ส่วนใดของ
เขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตใน
บุคคลนั้นอย่างนี้. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลผู้เป็นที่น่าเลื่อมใส
โดยประการทั้งปวง จิตย่อมเลื่อมใส. ขอนอบน้อมแด่พระรัีตนตรัย ขออุทิศให้สรรพสัตว์