พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มานสสูตร ว่าด้วยบ่วงใจ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36347
อ่าน  478

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 39

๕. มานสสูตร

ว่าด้วยบ่วงใจ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 39

๕. มานสสูตร

ว่าด้วยบ่วงใจ

    [๔๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

    [๔๕๙] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

บ่วงใดมีใจไปได้ในอากาศ กำลังเที่ยวไป ข้าพระองค์จักคล้องพระองค์ไว้ด้วยบ่วงนั้น สมณะ ท่านไม่พ้นเรา.

    [๙๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

เราหมดความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของรื่นรมย์ใจแล้ว แน่ะมาร เรากำจัดท่านได้แล้ว.

    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถามานสสูตร

    พึงทราบวินิจฉัยในมานสสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

    บ่วงชื่อว่า จรไปในอากาศ เพราะผูกแม้แต่ผู้จรไปในอากาศ. บทว่า ปาโส ได้แก่ บ่วงคือ ราคะ. บทว่า มานโส ได้แก่ ประกอบกับใจ.

    จบอรรถกถามานสสูตรที่ ๕