พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. รัชชสูตร ว่าด้วยมารเชิญให้เสวยราชสมบัติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36352
อ่าน  442

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 52

๑๐. รัชชสูตร

ว่าด้วยมารเชิญให้เสวยราชสมบัติ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 52

๑๐. รัชชสูตร

ว่าด้วยมารเชิญให้เสวยราชสมบัติ

    [๔๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กระท่อมอันตั้งอยู่ในป่า ในประเทศหิมวันต์ แคว้นโกศล.

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักผ่อนอยู่ในที่ลับได้ทรงปริวิตกว่า เราจะสามารถเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำผู้อื่นให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศกได้หรือไม่.

    [๔๗๖] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยจิตแล้ว เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเสวยรัชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำคนอื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทําให้ผู้อื่นเศร้าโศก.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเห็นอะไรของเรา ทำไมจึงได้พูดกะเราอย่างนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสวยรัชสมบัติเถิดพระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก.

    มารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า อิทธิบาททั้ง ๔ พระองค์ทรงบำเพ็ญให้เจริญ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นวัตถุที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมปรารภด้วยดีแล้ว พระเจ้าข้า ก็เมื่อพระองค์ทรงพระประสงค์ ทรง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 53

อธิษฐานภูเขาหลวงชื่อหิมพานต์ให้เป็นทองคำล้วน ภูเขานั้นก็พึงเป็นทองคำล้วน.

    [๔๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะมารด้วยพระคาถาว่า

    ภูเขาทองคำล้วนมีสีสุกปลั่ง ถึงสองเท่าก็ยังไม่พอแก่บุคคลหนึ่ง บุคคลทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติสงบ ผู้ใดได้เห็นทุกข์มีกามเป็นเหตุแล้ว ไฉนผู้นั้นจะพึงน้อมใจไปในกามเล่า บุคคลทราบอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้นเสีย.

    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

    จบรัชชสูตร

    จบทุติยวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 54

อรรถกถารัชชสูตร

    พึงทราบวินิจฉัยในรัชชสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

    บทว่า อหนํ อฆาฏยํ ได้แก่ ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้เขาเบียดเบียน. บทว่า อชินํ อชาปยํได้แก่ไม่ทำความเสื่อมทรัพย์เอง ไม่ใช้ให้เขาทำความเสื่อม. บทว่า อโสจํ อโสจาปยํ ได้แก่ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้เขาเศร้าโศก. เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมนุษย์ทั้งหลาย ถูกผู้ลงโทษเบียดเบียน ในรัชสมัยของเหล่าพระราชาผู้ไม่ทรงธรรม จึงทรงพระดำริอย่างนี้ ด้วยอำนาจความกรุณา. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิคว่าพระสมณโคดม ทรงดำริว่า เราอาจครองราชสมบัติได้ คงจักอยากครองราชสมบัติ ก็ขึ้นชื่อว่าราชสมบัตินี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อทรงครองราชสมบัติ เราอาจได้พบความผิดพลาด จำเราจักไปทำให้พระองค์เกิดความอุตสาหะ ดังนี้จึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า อิทฺธิปาทา ได้แก่ส่วนที่ให้สำเร็จ. บทว่า ภาวิตา ได้แก่ให้เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา ได้แก่กระทำบ่อยๆ . บทว่า ยานีกตา ได้แก่การทำให้เป็นดุจยานที่เทียมไว้แล้ว. บทว่า วตฺถุกตา ได้แก่กระทำให้มีที่ตั้ง เพราะอรรถาว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺิตา ได้แก่ ไม่ละแล้ว ติดตามอยู่เป็นนิตย์. บทว่า ปริจิตา ได้แก่สั่งสมดี ด้วยการกระทำติดต่อกัน คือชำนาญเหมือนฝีมือยิงธนูไม่พลาดของนักแม่นธนู. บทว่า สุสมารทฺธา ได้แก่ เริ่มพร้อมดีแล้วมีภาวนาบริบูรณ์แล้ว. บทว่า อธิมุจฺเจยฺย ได้แก่พึงคิด.

    บทว่า ปพฺพตสฺส แก้เป็น ปพฺพโต ภเวยฺย พึงมีภูเขา. บทว่า ทฺวิตาว ความว่า ภูเขาลูกเดียวยกไว้ก่อน ภูเขาทองขนาดใหญ่เพียงนั้นแม้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 55

สองเท่า ก็ยังไม่พอคือไม่พอความต้องการสำหรับคนๆ เดียวได้.บทว่า อิติ วิทฺธา สมญฺจเร ได้แก่ เมื่อรู้อย่างนี้ พึงประพฤติสม่ำเสมอ.บทว่า ยโตนิทานํ ได้แก่ขึ้นชื่อว่าทุกข์มีกามคุณ ๕ เป็นเหตุ. สัตว์ใดได้เห็นอย่างนี้ว่า ทุกข์นั้นมีกามคุณใดเป็นเหตุ. บทว่า กถํ นเมยฺย ความว่า สัตว์นั้นพึงน้อมไปในกามเหล่านั้นอันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เพราะเหตุอะไร. บทว่า อุปธึ วิทิตฺวา ความว่า รู้อุปธิคือกามคุณอย่างนี้ว่า นั่นเป็นเครื่องข้อง นี่ก็เป็นเครื่องข้อง. บทว่า ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเข ความว่าพึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้นนั่นแลเสีย ดังนี้.

    จบอรรถกถารัชชสูตรที่ ๑๐

    ทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรในวรรคที่ ๒ นี้มี ๑๐ สูตร คือ

    ๑. ปาสาณสูตร ๒. สีหสูตร ๓. สกลิกสูตร ๔. ปฎิรูปสูตร ๕. มานสสูตร ๖. ปัตตสูตร ๗. อายตนสูตร ๘. ปิณฑิกสูตร ๙. กัสสกสูตร ๑๐. รัชชสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา