พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อปราทิฏฐิสูตร ว่าด้วยพระอรหันต์ ๔ ทิศทรมานพรหม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36373
อ่าน  468

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 149

๕. อปราทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยพระอรหันต์ ๔ ทิศทรมานพรหม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 149

๕. อปราทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยพระอรหันต์ ๔ ทิศทรมานพรหม

    [๕๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

    ก็โดยสมัยนั้นแล พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย.

    [๕๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระวิหารเชตวันปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้นเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้ไว้ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น.

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว.

    [๕๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดเช่นนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ที่ไหนหนอ.

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณแล้วด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 150

    ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศบูรพา นั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว.

    [๕๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระมหากัสสปะได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ฯลฯ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.

    ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะอาศัยทิศทักษิณนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว.

    [๕๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล

    ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวันปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.

    ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะอาศัยปัจฉิมทิศ นั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนพรหมนั้น ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว.

    [๕๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระอนุรุทธะได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 151

    ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ อาศัยทิศอุดรนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว

    [๕๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคลลานะได้กล่าวกะพรหมด้วยคาถาว่า

    ผู้มีอายุ ทิฏฐิในก่อนของท่าน แม้ในวันนี้ก็ยังมีแก่ท่านหรือ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้าของสัตว์ในพรหมโลกหรือ.

    [๕๘๐] พรหมนั้นตอบว่า

    ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ทิฏฐิในเก่าก่อนของข้าพเจ้ามิได้มีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าย่อมเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้าของสัตว์ในพรหมโลก ไฉนในวันนี้ ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่าเราเป็นผู้เที่ยงเป็นผู้ติดต่อกัน ดังนี้เล่า.

    [๕๘๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ายังพรหมนั้นให้สลดใจแล้วได้หายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วในพระวิหารเชตวันปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น

    ลำดับนั้นแล พรหมได้เรียกพรหมปาริสัชชะ (๑) องค์หนึ่งมาว่า แน่ะ ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงมา ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงกล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์


    ๑. คือพรหมสำหรับรับใช้ของมหาพรหม เพราะแม้มหาพรหมก็มีพรหมไว้รับใช้เหมือนพระเถระมีภิกษุหนุ่มๆ ไว้ช่วยถือบริขาร ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 152

สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เหมือนกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสปะ ท่านพระกัปปินะและท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ก็ยังมีอยู่หรือหนอแล.

    พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า อย่างนั้นท่านผู้นิรทุกข์แล้วหายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วข้างหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.

    [๕๘๒] ครั้งนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้น อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    พรหมปาริสัชชะนั้นยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสปะ ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะก็ยังมีอยู่หรือหนอ.

    [๕๘๓] ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมปาริสัชชะด้วยคาถาว่า

    สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจากกิเลส มีอยู่มาก ดังนี้.

    [๕๘๔] ลำดับนั้นแล พรหมปาริสัสชะนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านมหาโมคคัลลานะแล้ว เข้าไปหาพรหมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะพรหมนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระมหาโมคคัลลานะกล่าวเช่นนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 153

    สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมออาสวะ ไกลกิเลส มีอยู่มาก ดังนี้.

    [๕๘๕] พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพรหมปาริสัชชะนั้นแล.

อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตร

    ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า เตโชธาตุํ สมาปชฺชิตา ความว่า พระเถระทำบริกรรมในเตโชกสิณแล้วออกจากฌานที่เป็นบาท อธิษฐานว่า ขอเปลวไฟจงพุ่งออกจากสรีระ ด้วยอานุภาพจิตอธิษฐาน เปลวไฟพุ่งออกทั่วสรีระ. พระเถระชื่อว่าเข้าเตโชธาตุสมาบัติอย่างนี้. ครั้นเข้าสมาบัติอย่างนั้นแล้ว ก็ไปในพรหมโลกนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้ไปในที่นั้น. ตอบว่า ได้ยินว่า พระเถระเข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์เห็นพระตถาคตประทับนั่งเหนือพรหมนั้น จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า บุคคลนี้เป็นผู้แทงทะลุปรุโปร่งถึงอัฐิ ก็เราพึงไปในที่นั้น ฉะนั้นจึงได้ไปในที่นั้น. แม้ในการไปของพระเถระที่เหลือก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แม้พรหมนั้นไม่ได้เห็นอานุภาพของพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต จึงไม่ควรเข้าถึงการแนะนำ. ด้วยเหตุนั้น จึงได้มีประชุมกันอย่างนั้นในที่ประชุมนั้น เปลวไฟที่พุ่งออกจากสรีระของพระตถาคตล่วงเลยพรหมโลกทั้งสิ้นแล่นไปในอวกาศ ก็แลวรรณะเหล่านั้น ได้มี ๖ สี รัศมีของสาวกพระตถาคตก็มีวรรณะธรรมดานั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 154

    ด้วยคำว่า ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺตํ นี้ พระเถระถามว่า ท่านเห็นรัศมีที่เปล่งออกจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอันล่วงเสียซึ่งรัศมีแห่งสรีระของพรหมวิมานและเครื่องประดับเป็นต้นอย่างอื่นในพรหมโลกนี้หรือ. บทว่า น เม มาริส สา ทิฏฺิ ความว่า ทิฏฐินั้นใดของเราว่า คนอื่นไม่ว่าสมณะหรือพราหมณ์ก็ตามไม่สามารถจะมาในที่นี้ได้ ทิฏฐิของเรานั้นแต่ก่อนไม่มี. บทว่า กถํ วชฺชํ ความว่า เพราะเหตุไร เราจึงกล่าว. บทว่า นิจฺโจมฺหิ สสฺสโต ความว่า ได้ยินว่า พรหมนี้มีทิฏฐิ ๒ อย่าง คือ ลัทธิทิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ. ในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น พรหมนั้นเมื่อเห็นพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต ย่อมเป็นอันละลัทธิทิฏฐิได้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นอันมากในเรื่องทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น. ในที่สุดเทศนา พรหมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. อันพรหมนั้นละสัสสตทิฏฐิด้วยมรรค เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า พฺรหฺมปาริสชฺชํ ได้แก่ พรหมปริจาริกาผู้ปรนนิบัติพรหมจริงอยู่ ชื่อว่า พรหมปาริสัชชะแม้ของพรหมทั้งหลายก็เหมือนภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้ถือห่อของพระเถระ. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า เพราะเหตุไรพรหมจึงส่งพรหมปาริสัชชะ ไปสู่สำนักของพระเถระนั่นแล ได้ยินว่า พรหมนั้นได้เกิดความคุ้นเคยด้วยการเจรจาปราศรัยในพระเถระ เพราะฉะนั้น พรหมนั้นจึงส่งไปยังสำนักของพระเถระนั้นแล. บทว่า อญฺเปิ ความว่า ชนทั้ง ๔ ก็เหมือนพวกท่าน เหล่าสาวกแม้อื่นๆ เห็นปานนั้นยังมีอยู่หรือ หรือมีแต่พวกท่านทั้ง ๔ เท่านั้นที่มีฤทธิ์มาก. บทว่า เตวิชฺชา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยวิชชา ๓ คือ บุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณและอาสวักขยญาณ. บทว่า อิทฺธิปฺปตฺตา ได้แก่ บรรลุอิทธิวิธิญาณ. บทว่า เจโตปริยายโกวิทา ได้แก่ เป็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 155

ผู้ฉลาดในวารจิตของชนเหล่าอื่น. ในที่นี้ท่านกล่าวอภิญญา ๕ ไว้โดยสรุปด้วยประการฉะนี้. แต่ทิพยโสตญาณได้มาด้วยอำนาจอภิญญา ๕ เหล่านั้นเหมือนกัน. บทว่า พหู ความว่า เหล่าพุทธสาวกผู้ได้อภิญญา ๖ อย่างนี้มีมากเหลือคณนานับ เที่ยวทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์.

    อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตรที่ ๕