พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อันธกวินทสูตร ว่าด้วยสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36381
อ่าน  489

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 179

๓. อันธกวินทสูตร

ว่าด้วยสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 179

๓. อันธกวินทสูตร

ว่าด้วยสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

    [๖๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอันธกวินทคามในแคว้นมคธ.

    ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในที่แจ้งในราตรีคืนเดือนมืดและฝนกำลังตกประปรายอยู่.

    ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงดงามยิ่ง ยังอันธกวินทคามทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว เข้าไปเฝ้พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

    [๖๑๒] ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

    ภิกษุพึงเสพที่นอนและที่นั่งอันสงัด พึงประพฤติเพื่อความหลุดพ้นจากสัญโญชน์ถ้าว่าภิกษุไม่พึงได้ความยินดีในที่นั้นไซร้ก็พึงเป็นผู้มีตนรักษาแล้ว มีสติ พึงอยู่ในหมู่ภิกษุผู้เที่ยวไปอยู่จากตระกูลสู่ตระกูลเพื่อบิณฑบาต มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงเสพที่นอนและที่นั่งอันสงัด ภิกษุพ้นแล้วจากภัย น้อมไปแล้วในธรรมอันไม่มีภัย ปราศจากความสยดสยอง นั่งอยู่แล้วในที่มีสัตว์เลื้อย-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 180

คลาน อันน่ากลัว สายฟัาฉวัดเฉวียน ฝนตกในราตรีอันมืด ก็ข้าพระองค์ไม่อาจกำหนดนับในใจของข้าพระองค์ได้เลยว่า เหตุนี้ข้าพระองค์เคยเห็นแล้วแน่ ข้าพระองค์ไม่กล่าวถึงเหตุนี้ว่าเป็นอย่างนี้ในพรหมจรรย์ (คือธรรมเทศนา) คราวหนึ่งเกิดมีพระขีณาสพผู้ละความตายได้มีจำนวนพัน พระเสขะมากกว่าห้าร้อย และพระเสขะทั้งสิบ ทั้งร้อย ทั้งหมดถึงกระแสมรรคแล้ว ไม่ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เป็นผู้มีส่วนบุญดังนี้เพราะกลัวมุสาวาท.

อรรถกถาอันธกวินทสูตร

    ในอันธกวินทสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

    บทว่า อนฺธกวินฺทํ ความว่า บ้านมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดาทรงกระทำความเพียรอยู่แม้ในบัดนี้ ชนทั้งหลายประกอบความเพียรกันเนืองๆ เราจะไปยืนอยู่ในสำนักแล้วจักกล่าวคาถาว่าด้วยเรื่องความเพียรที่เหมาะแก่คำสอน ดังนี้จึงเข้าไปเฝ้า.

    บทว่า ปนฺตานิ ความว่า เสนาสนะที่อยู่นอกถิ่นมนุษย์เลยชุมชนออกไป. บทว่า สญฺโชนวิปฺปโมกฺขา ความว่า เมื่อเสพเสนาสนะเหล่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 181

นั้น จะพึงเสพเพื่อต้องการจีวรเป็นต้นก็หามิได้ ที่แท้พึงประพฤติเพื่อต้องการหลุดพ้นจากสังโยชน์ ๑๐. บทว่า สงฺเฆ วเส ความว่า เมื่อไม่ได้ความยินดีในเสนาสนะเหล่านั้น ก็ไม่อยู่ในป่าซึ่งเกิดขึ้นเหมือนขี้ผงบนหลังลา พึงอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อรักษาน้ำใจญาติโยมเป็นต้น. บทว่า รกฺขิตตฺโต สติมา ความว่า ก็ภิกษุเมื่ออยู่ในที่นั้นไม่เสียดสีไม่กระทบกระทั่งเพื่อนพรหมจรรย์ รักษาตนมีสติปัฏฐานเป็นเบื้องหน้าอยู่เหมือนโคผู้ตัวดุในถิ่นของตน.

    บัดนี้สหัมบดีพรหมนั้นบอกภิกขาจารวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ จึงกล่าว คำว่า กุลา กุลํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑิกาย จรนฺโต ได้แก่ เที่ยวไปเพื่อต้องการอาหาร. บทว่า เสเวถ ปนฺตานิ สยนาสนานิ ความว่า แม้หยั่งลงสู่ท่ามกลางสงฆ์อยู่ ปลูกต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้นในบริเวณใกล้ ไม่พึงเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยอุปัฏฐากเป็นต้น ทำความคู่ควรแห่งจิตให้เกิด ให้จิตร่าเริงยินดี จึงอยู่ในเสนาสนะอันสงัดอีกเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงกล่าวสรรเสริญป่าอย่างเดียว. บทว่า ภยา ได้แก่ จากภัยในวัฏฏะ. บทว่า อภเย ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ พึงเป็นผู้น้อมไปอยู่.

    บทว่า ยตฺถ เภรวา ความว่า สัตว์ที่มีวิญญาณครองมีสีหะและเสือโคร่งเป็นต้นที่ก่อให้เกิดภัยในที่ใด สิ่งที่ไม่มีวิญญาณมีตอไม้และเถาวัลย์เป็นต้น มีมากในกลางคืน. บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานมีงูเป็นต้น. บทว่า นิสีทิ ตตฺถ ภิกขุ ความว่า ภิกษุนั่งในที่เช่นนั้น. ด้วยคำว่า นิสีทิ ตตฺถ ภิกฺขุ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไว้ดังนี้ว่า บัดนี้พวกเธอนั่งไม่ใส่ใจถึงอารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวที่อยู่ในที่นั้น สัตว์เลื้อยคลานและสายฟ้าแลบเป็นต้น โดยประการใด ภิกษุทั้งหลายย่อมนั่งประกอบความเพียรโดยประการนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 182

    บทว่า ชาตุ เม ทิฏฺํ แปลว่าที่เราเห็นแล้วโดยส่วนเดียว. คำว่า อิทํ อิติห ในคำว่า นยิทํ อิติหีติหํ นี้ความว่า เรากล่าวเพราะเหตุแห่งความตรึกเอา เพราะเหตุแห่งการคาดเอาหรือเพราะเหตุอ้างปิฎก คือตำรา ก็หาไม่. บทว่า เอกสฺมึ พฺรหฺมจริยสฺมึ ได้แก่ ในพระธรรมเทศนาอย่างหนึ่ง จริงอยู่ พระธรรมเทศนา ท่านประสงค์ว่า พรหมจรรย์ในที่นี้. บทว่า มจฺจุหายินํ ได้แก่ พระขีณาสพผู้ละความตาย.

    ในคำว่า ทสา จ ทสธา ทสา นี้บทว่า ทสา ได้แก่จำนวน ๑๐ เท่านั้น. ชื่อว่า สตํ เพราะเอา ๑๐ คูณด้วย ๑๐ อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เราเห็นภิกษุเหล่าอื่นเป็นพระเสขะ ๑๑๐ รูป. บทว่า โสตํ สมาปนฺนา ได้แก่บรรลุกระแสแห่งมรรค. บทว่า อติรจฺฉานคามิโน นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนา. อธิบายว่า ผู้ไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดา. บทว่า สงฺขาตุํ โนปิ สกฺโกมิ ความว่า เราไม่อาจนับว่าเหล่าสัตว์ที่เป็นภาคีแห่งบุญมีเท่านี้ เพราะกลัวมุสาวาท เพราะเหตุนั้น ท่านหมายเอาพรหมเทศนาเป็นอันมาก จึงกล่าวอย่างนี้.

    จบอรรถกถาอันธกวินทสูตรที่ ๓