๑. ธนัญชานีสูตร ว่าด้วยผลของพระฆ่าความโกรธ
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 195
พราหมณสังยุต
อรหันตวรรคที่ ๑
๑. ธนัญชานีสูตร
ว่าด้วยผลของพระฆ่าความโกรธ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 195
พราหมณสังยุต
อรหันตวรรคที่ ๑
๑. ธนัญชานีสูตร
ว่าด้วยผลของพระฆ่าความโกรธ
[๖๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ : -
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
ก็โดยสมัยนั้นแล นางพราหมณีชื่อธนัญชานีแห่งพราหมณ์ ผู้ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์.
[๖๒๗] ครั้งนั้นแล นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตเข้าไปเพื่อพราหมณภารทวาชโคตร ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น... ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
เมื่อนางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณภารทวาชโคตรได้กล่าวกะนางธนัญชานีพราหมณีว่า ก็หญิงถ่อยนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นอย่างนี้ อย่างนี้ ไม่ว่าที่ไหนๆ แน่ะหญิงถ่อย บัดนี้ เราจักยกวาทะต่อพระศาสดานั้นของเจ้า.
นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงยกถ้อยคำต่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโ่ลก
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 196
พร้อมด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้าแต่พราหมณ์ เอาเถิด ท่านจงไป แม้ไปแล้วก็จักรู้.
[๖๒๘] ลำดับนั้นแล พราหมณภารทวาชโคตรโกรธขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พราหมณภารทวาชโคตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าอะไรได้ ย่อมไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อมชอบใจการฆ่าธรรม อะไรเป็นธรรมอันเอก.
[๖๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.
[๖๓๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณภารทวาชโคตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีป
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 197
ในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุ ย่อมเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.
พราหมณภารทวาชโคตรได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.
พราหมณสังยุต
อรรถกถาธนัญชานีสูตร
อรหันตวรรคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ : -
บทว่า ธนญฺชานี ได้แก่ นางพราหมณี สกุลธนัญชานี ได้ยินว่า นางพราหมณีมีสกุลสูง. เล่ากันมาว่า พวกพราหมณ์นอกนั้นเกิดแต่ปากของพรหม. พราหมณ์เหล่านั้นมีลัทธิดังนี้ว่า สกุลธนัญชานีทำลายกระหม่อมออกมา. บทว่า อุทานํ อุทาเนสิ ความว่า ถามว่าเพราะเหตุไร พราหมณีจึงได้
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 198
เปล่งวาจา ได้ยินว่า พราหมณ์สามีนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อนางกล่าวว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ก็ปิดหูเสีย เป็นคนกระด้างเสมือนตอไม้ตะเคียน ส่วนพราหมณีเป็นอริยสาวกผู้โสดาบัน. พราหมณ์เมื่อให้ทาน ย่อมให้ข้าวปายาสมีน้ำน้อยแก่พราหมณ์ ๕๐๐ คน. พราหมณีได้ให้โภชนะมีรสต่างๆ แก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในวันที่พราหมณ์ให้ทาน พราหมณีได้อังคาสด้วยมือของตน เพราะอยู่ในอำนาจของพราหมณ์นั้น และเพราะละความตระหนี่เสียได้. แต่ในวันที่พราหมณีให้ทาน พราหมณ์ก็หนีออกไปจากเรือนแต่เช้าตรู่ ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์จึงปรึกษากับพราหมณี เชิญพราหมณ์ ๕๐๐ มาแล้วกล่าวกะพราหมณีว่า แน่ะแม่จำเริญ พรุ่งนี้ พราหมณ์ ๕๐๐ คน จักบริโภคในเรือนของเรานะ. นางถามว่า ฉันจะช่วยอะไรได้บ้างละพราหมณ์. พราหมณ์กล่าวว่า ไม่มีกิจอะไรอื่นที่เจ้าจะต้องช่วยดอก คนเหล่าอื่นจักกระทำการหุงต้ม และอังคาสทั้งหมด ข้อที่เจ้ายืนก็ดี นั่งก็ดี จามก็ดี ไอก็ดี ทำการนอบน้อมแก่สมณะโล้นนั้นว่า นโม พุทฺธสฺส นั้น พรุ่งนี้ เจ้าอย่าทำสิ่งนั้นสักวันหนึ่งเถิด ด้วยว่าพราหมณ์ทั้งหลายได้ยินดังนั้นแล้วจะไม่พอใจ เจ้าอย่าทำเราให้แตกจากพราหมณ์ทั้งหลายเลย. นางกล่าวว่า ท่านจะแตกจากพราหมณ์ก็ดี จากเทวดาก็ดี ส่วนฉันระลึกถึงพระศาสดา ไม่นอบน้อม ไม่สามารถที่จะอดกลั้นอยู่ได้ พราหมณ์กล่าวว่า แน่ะแม่มหาจำเริญ ก่อนอื่น เจ้าต้องพยายามปิดประตูบ้านในบ้าน ๑๐๐ ตระกูล เมื่อไม่สามารถจะปิดปากที่จะพึงปิดด้วยนิ้วทั้ง ๒ ชั่วเวลาที่พวกพราหมณ์บริโภค. พราหมณ์นั้นแม้พูดซ้ำซาก อย่างนี้ก็ไม่อาจห้ามได้ด้วยความรัก จึงถือเอาพระขรรค์ที่วางไว้บนหัวนอนกล่าวว่า แม่มหาจำเริญ เมื่อพราหมณ์นั่งประชุมกันพรุ่งนี้ ถ้าเจ้านมัสการสมณโล้นนั้นไซร้ เราจะเอาพระขรรค์เล่มนี้สับเจ้า ตั้งแต่พื้นเท้าจนถึงปลายผม ทำให้เป็นกองเหมือนหน่อไม้ ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 199
ถ้าเจ้ายังอยู่ในเรือนของเรา ไม่ทำตามสิ่งที่เราปรารถนา ยังจะพูดอยู่ว่าพุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ดังนี้ เราจะเอาพระขรรค์เล่มนี้บั่นเจ้า ตั้งแต่เท้าจนถึงศีรษะ เหมือนบั่นหน่อไม้.
ส่วนพราหมณี ผู้เป็นอริยสาวิกา ไม่มีความหวั่นไหวเหมือนแผ่นดินไม่มีความสะทกสะท้านเหมือนภูเขาสิเนรุ. เพราะฉะนั้น นางจึงกล่าวกะพราหมณ์นั้น อย่างนี้ว่า
ท่านพราหมณ์ ถ้าท่านจะตัดอวัยวะน้อยใหญ่ของเราก็ตาม เราจะไม่เว้นจากศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลย ท่านไม่อาจห้ามเราจากพระชินเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐ เป็นที่พึ่งอาศัยของเราได้ดอก ท่านจะตัดหรือจะต้มเราก็ตามทีเถิด เราก็ชื่อว่าเป็นธิดาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐแล้ว.
ธนัญชานีพราหมณี ขู่พราหมณ์ผู้คุกคาม จึงได้กล่าวคาถา ๕๐๐ คาถา ด้วยประการฉะนี้. พราหมณ์ไม่อาจจับต้องหรือตีพราหมณี กล่าวว่า แม่มหาจำเริญ เจ้าจงทำตามที่เจ้าชอบใจเถิด แล้วก็โยนพระขรรค์ไปบนที่นอน. ในวันรุ่งขึ้น จึงให้สร้างเรือนฉาบด้วยของเขียวสด ให้ประดับด้วยข้าวตอกหม้อเต็มด้วยน้ำดอกไม้และของหอมเป็นต้นในที่นั้นๆ แล้วให้จัดข้าวปายาสมีน้ำน้อย ปรุงด้วยเนยข้นเนยใสน้ำตาลกรวดและน้ำผึ้ง แล้วให้บอกเวลาแก่พราหมณ์ ๕๐๐ คน.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 200
ฝ่ายพราหมณีเองอาบน้ำหอมแต่เช้าตรู่ นุ่งผ้าใหม่มีราคา ๑,๐๐๐ เอาผ้ามีราคา ๕๐๐ เฉวียงบ่า ประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ถือทัพพีทองอังคาสเลี้ยงดูพวกพราหมณ์ในโรงอาหาร น้อมนำอาหารไปให้พราหมณ์นั้นผู้นั่งในแถวเดียวกับพราหมณ์เหล่านั้น ลื่นลงที่กองไม้ที่เขาเก็บไว้ไม่เรียบร้อย. ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแก่นาง เพราะกระแทกในการลื่นล้มลง. ขณะนั้นนางระลึกถึงพระทศพล. แต่เพราะนางสมบูรณ์ด้วยสติ นางก็ไม่ทิ้งถาดข้าวปายาส ค่อยๆ วางลงที่พื้น ประคองอัญชลีเหนือเศียร ในท่ามกลางพราหมณ์ ๕๐๐ คน แล้วน้อมอัญชลีไปทางพระวิหารเชตวัน จึงได้เปล่งอุทานนี้.
ก็เวลานั้น บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น บางพวกบริโภคเสร็จแล้ว บางพวกกำลังบริโภค บางพวกพอลงมือ บางพวกเพียงวางโภชนะไว้ข้างหน้า พราหมณ์เหล่านั้น พอได้ยินเสียงนั้น เป็นเสมือนถูกค้อนเท่าภูเขาสิเนรุฟาดลงบนศีรษะ และเหมือนถูกหลาวแทงที่หู เสวยทุกข์โทมนัสโกรธว่า พวกเราถูกคนนอกลัทธินี้ ลวงเราให้เข้าไปสู่เรือน จึงทิ้งก้อนข้าว คายสิ่งที่อมไว้เป็นเหมือนกาเห็นธนู พลางด่าพราหมณ์พากันหลีกไปคนละทิศคนละทาง. พราหมณ์เห็นพวกพราหมณ์ต่างพากันแยกไปอย่างนั้น มองดูนางพราหมณีตั้งแต่ศีรษะ คิดว่า พวกเราเห็นภัยนี้แล จึงขอร้องนางมหาจำเริญตั้งแต่วันวานก็ไม่ได้ จึงด่านางพราหมณีโดยประการต่างๆ แล้วได้กล่าวกะนางมีอาทิว่า เอวเมว ปน ดังนี้.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์ไปด้วยคิดว่าพระสมณโคดมผู้อันชาวบ้านชาวนิคมและชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ใครๆ ไม่อาจจะไปว่ากล่าวคุกคามอย่างใดๆ ได้ จำเราจักถามปัญหาสักข้อหนึ่ง จึงได้แต่งคาถาว่า กึสุ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 201
ฆตฺวา เป็นต้น แล้วคิดว่า ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราชอบใจการฆ่าบุคคลชื่อโน้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักข่มท่านว่า ท่านปรารถนาจะฆ่าเหล่าชนที่ท่านไม่ชอบใจ ท่านเกิดมาเพื่อจะฆ่าโลก ความเป็นสมณะของท่านจะมีประโยชน์อะไร ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราไม่ชอบใจการฆ่าใครๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะข่มท่านว่า ท่านไม่ปรารถนาจะฆ่ากิเลสมีราคะเป็นต้น เพราะเหตุไร ท่านจึงเป็นสมณะเที่ยวไป ดังนั้น ปัญหา ๒ เงื่อนนี้ พระสมณโคดมก็จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป. บทว่า สมฺโมทิ ความว่า พราหมณ์ไม่แสดงความโกรธ เพราะตนเป็นบัณฑิต จึงกล่าวถ้อยคำไพเราะชื่นชมกัน. ท่านกล่าวปัญหาไว้ในเทวตาสังยุต. แม้คำที่เหลือท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาธนัญชานีสูตรที่ ๑