พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ชฏาสูตร ว่าด้วยตัณหาพายุ่ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36389
อ่าน  386

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 212

๖. ชฏาสูตร

ว่าด้วยตัณหาพายุ่ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 212

๖. ชฏาสูตร

ว่าด้วยตัณหาพายุ่ง

    [๖๔๔] สาวัตถีนิทาน.

    ครั้งนั้นแล ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 213

    [๖๔๕] ชฎาภารทวาชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

    ตัณหาพายุ่งในภายใน พายุ่งในภายนอก หมู่สัตว์ถูกตัณหาพายุ่งไขว่ให้นุง ข้าแต่พระโคดม เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า ใครพึงสางตัณหาพายุ่งนี้ได้.

    [๖๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    ภิกษุใดเป็นคนมีปัญญา ตั้งมั่นอยู่ในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญ มีความเพียร มีปัญญารักษาตน ภิกษุนั้นพึงสางตัณหาพายุ่งนี้ได้ ราคะโทสะและอวิชชาอันชนเหล่าใด สำรอกแล้ว ชนเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้วตัณหาพายุ่งอันชนเหล่านั้นสางได้แล้ว นามและรูปย่อมดับไปไม่เหลือในที่ใด ปฏิฆสัญญา รูปสัญญา และตัณหาพายุ่งนั่น ย่อมขาดไปในที่นั้น.

    [๖๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ก็แหละท่านชฏาภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 214

อรรถกถาชฏาสูตร

    ในชฏาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า ชฏาภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้นชื่อภารทวาชะ แต่เพราะเขาถามปัญหาที่ยุ่งๆ พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวอย่างนั้น. คำที่เหลือท่านกล่าวไว้แล้วในเทวตาสังยุตแล.

    จบอรรถกถาชฏาสูตรที่ ๖