พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ภิกขกสูตร ว่าด้วยความเป็นภิกษุ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36403
อ่าน  406

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 295

๑๐. ภิกขกสูตร

ว่าด้วยความเป็นภิกษุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 295

๑๐. ภิกขกสูตร

ว่าด้วยความเป็นภิกษุ

    [๗๑๖] สาวัตถีนิทาน.

    ครั้งนั้น ภิกขกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยกันตามธรรมเนียมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกขกพราหมณ์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคนขอ พระองค์ก็เป็นผู้ขอ ในความข้อนี้ เราจะต่างอะไรกัน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 296

    [๗๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    บุคคลหาชื่อว่าเป็นภิกษุเพียงด้วยการขอคนอื่นไม่ บุคคลสมาทานธรรมเป็นพิษ หาชื่อว่าเป็นภิกษุได้ไม่ ผู้ใดในโลกนี้ละบุญและบาปเสียแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการพิจารณา ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็น ภิกษุ.

    [๗๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกขกพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดมข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาภิกขกสูตร

    ในภิกขกสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า อิธ ได้แก่ ในความเป็นภิกษุนี้นั่นแล. บทว่า วิสํ ธมฺมํ ได้แก่ อกุศลธรรมที่มีกลิ่นเหม็น. บทว่า วาเหตฺวา ได้แก่ ละได้ด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า สงฺขาย ได้แก่ญาณ. บทว่า ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ ความว่า ผู้นั้นแล ท่านเรียกชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสแล.

    จบอรรถกถาภิกขกสูตรที่ ๑๐