พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. เปสลาติมัญญนาสูตร ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36410
อ่าน  364

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 311

๓. เปสลาติมัญญนาสูตร

ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 311

๓. เปสลาติมัญญนาสูตร

ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีล

    [๗๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวีกับท่านพระนิโครธกัปปะผู้อุปัชฌาย์ ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระวังคีสะนึกดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น ด้วยปฏิภาณของตน

    ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่เราดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น ด้วยปฏิภาณของตน ดังนี้.

    [๗๓๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะยังความวิปฏิสารให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

    ดูก่อนท่านโคดม ท่านจงละมานะเสีย ท่านจงละหนทางแห่งมานะในโลกนี้เสีย ท่านจงเป็นผู้ละหนทางแห่งมานะในโลกนี้เสีย อย่าให้มีส่วนเหลือได้ (เพราะ) หมู่สัตว์ผู้อันความลบหลู่ทำให้มัวหมองแล้ว ย่อมเป็นผู้มีความเดือดร้อนตลอดกาลนาน สัตว์ทั้งหลายผู้อันมานะกำจัดแล้วย่อมตกนรก ชนทั้งหลายผู้อันมานะกำจัดแล้ว เข้าถึงนรกแล้ว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน ภิกษุผู้ชำนะกิเลสด้วยมรรคเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมไม่เศร้าโศกเลยในกาลไหนๆ ย่อมได้รับเกียรติคุณ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 312

และความสุข บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกภิกษุผู้เช่นนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม เพราะฉะนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงตะปูเครื่องตรึงใจในโลกนี้ เป็นผู้มีความเพียรจงละนิวรณ์ทั้งหลายเสีย เป็นผู้บริสุทธิ์และละมานะอย่าให้มีส่วนเหลือแล้ว ทำที่สุดแห่งกิเลสด้วยวิชชา เป็นผู้สงบระงับดังนี้.

อรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตร

    ในเปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า อติมญฺติ ความว่า ท่านพระวังคีสะดูหมิ่นว่า พระแก่ๆ เหล่านี้จะรู้อะไร บาลีก็ไม่รู้ อรรถกถาก็ไม่รู้ ความไพเราะของบทและพยัญชนะก็ไม่รู้ ส่วนพวกเรา ทั้งบาลีทั้งอรรถกถาปรากฏตั้งร้อยนัยพันนัย. เพราะตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้โคตมะ จึงเรียกตนว่าโคตมะ. บทว่า มานปถํ ได้แก่อารมณ์แห่งมานะ และธรรมที่เกิดกับมานะ. บทว่า วิปฺปฏิสารีหุวา ความว่า ได้เป็นผู้มีความร้อนใจ. บทว่า มคฺคชิโน ได้แก่ผู้ชนะกิเลสด้วยมรรค. บทว่า กิตฺติญฺจ สุขญฺจ ได้แก่การกล่าวสรรเสริญ และความสุขทางกายทางใจ. บทว่า อขีโลธ ปธานวา ความว่า ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังตะปู มีความเพียร คือสมบูรณ์ด้วยความเพียร. บทว่า วิสุทฺโธ ความว่า พึงเป็นผู้บริสุทธิ์. บทว่า อเสสํ ได้แก่ละมานะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 313

เก้าอย่างไม่ให้เหลือ. บทว่า วิชฺชายนฺตกโร ได้แก่ ผู้กระทำที่สุดแห่งกิเลสทั้งหลายด้วยวิชชา. บทว่า สมิตาวี ได้แก่ เป็นผู้สงบเพราะกิเลสมีราคะเป็นต้นสงบ.

    จบอรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓