พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สัมพหุลสูตร ว่าด้วยเทวดาคร่ําครวญถึงภิกษุผู้จากไป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36424
อ่าน  360

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 360

๔. สัมพหุลสูตร

ว่าด้วยเทวดาคร่ําครวญถึงภิกษุผู้จากไป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 360

๔. สัมพหุลสูตร

ว่าด้วยเทวดาคร่ำครวญถึงภิกษุผู้จากไป

[๗๖๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุมากด้วยกัน พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสแล้วหลีกไปสู่จาริก.

[๗๖๙] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น เมื่อไม่เห็นภิกษุเหล่านั้นก็คร่ำครวญถึง ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ความสนิทสนมย่อมปรากฏประดุจความไม่ยินดีเพราะเห็นภิกษุเป็นอันมากในอาสนะอันสงัด ท่านเหล่านั้น เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ ท่านเป็นสาวกของพระโคดม ไปที่ไหนกันเสียแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 361

[๗๗๐] เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวกะเทวดานั้นด้วยคาถาว่า

ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ไม่อาลัยที่อยู่ เที่ยวไปเป็นหมู่ ประดุจวานรไปสู่แคว้นมคธและโกศล บางพวกก็บ่ายหน้าไปสู่แคว้นวัชชี.

อรรถกถาสัมพหุลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัมพหุลสูตร ที่ ๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺพหุลา คือ ผู้ทรงพระสูตร ผู้ทรงพระอภิธรรม ผู้ทรงพระวินัย เป็นอันมาก. บทว่า วิหรนฺติ ได้แก่ เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วอยู่. บทว่า ปกฺกมึสุ ความว่า ได้ยินว่า คนทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่งในชนบทนั้น ก็มีจิตเลื่อมใส ปูลาดผ้าขนแกะเป็นต้นไว้ที่หอฉัน ถวายข้าวต้มและของขบเคี้ยวแล้วนั่งใกล้. พระมหาเถระ กล่าวกะพระธรรมกถึกรูปหนึ่งว่า เธอจงกล่าวธรรม. พระธรรกถึกนั้นจึงกล่าวธรรมกถาอย่างไพเราะ. คนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วได้ถวายโภชนะอันประณีตในเวลาฉัน. พระมหาเถระได้กระทำอนุโมทนาอาหารอย่างพึงพอใจ. คนทั้งหลายเลื่อมใสอย่างยิ่งแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์จำพรรษาอยู่ในที่นี้ตลอด ๓ เดือนเถิด ให้ท่านรับปฏิญญาแล้ว ให้สร้างเสนาสนะในที่ซึ่งสะดวกด้วยการไปมาอุปฐากด้วยปัจจัย ๔.

พระมหาเถระสอนภิกษุในวันเข้าพรรษาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกท่านเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาผู้เป็นครู ชื่อว่า ความปรากฏแห่งพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 362

พุทธเจ้าหายาก พวกท่านจงฟังธรรมเดือนละ ๘ วัน ละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะแล้วไม่ประมาทอยู่เถิด ดังนี้. จำเดิมแต่นั้นมา ภิกษุเหล่านั้น ย่อมขวนขวายพากเพียร บางวันก็ทำการฟังธรรมตลอดคืน บางวัน ก็แก้ปัญหา บางคราวก็ทำความเพียร. ในวันธรรมสวนะ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวธรรมจนอรุณขึ้น ในวันแก้ปัญหากระทำการถามและการแก้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดถามปัญหา ผู้เป็นบัณฑิตแก้ ในวันทำความเพียร ตีระฆังในเวลาพระอาทิตย์ตก ลงสู่ที่จงกรมทำความเพียร. ภิกษุเหล่านั้น จำพรรษาอย่างนี้ปวารณาแล้วหลีกไป. คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงความข้อนั้น.

บทว่า ปริเทวมานา ความว่า เทวดากล่าวคำเป็นต้นว่า บัดนี้เราจักได้ฟังธรรมและกล่าวปัญหาอันไพเราะเห็นปานนั้นแต่ไหนเล่า ดังนี้แล้วคร่ำครวญอยู่. บทว่า ขายติ แปลว่า ย่อมปรากฏ คือเข้าไปตั้งไว้. บทว่า โกเม แปลว่า (พระสาวก) เหล่านี้ (ไป) ไหน. บทว่า วชฺชิภูมิยา แปลว่า บ่ายหน้าไปแคว้นวัชชี. บทว่า มกฺกุฏฺาวิย แปลว่า เหมือนลิง. ภิกษุท่องเที่ยวไปที่เชิงเขาหรือที่ราวป่านั้นๆ ไม่ถือว่า ที่นี้เป็นสมบัติของมารดา. เป็นสมบัติของบิดาของเรา ที่มาตามประเพณี ภิกษุเหล่านั้นมีความผาสุกด้วยโคจรคามและความไม่มีอันตรายอยู่ในที่ใด ก็อยู่ในที่นั้น แม้ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่มีเรือนอย่างนี้ จึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ นี้เป็นสมบัติของอุปัชฌาย์อาจารย์ของเรา ที่มาตามประเพณี ดังนี้ จึงไม่ถือเอา ภิกษุเหล่านั้นมีที่สบายด้วยอากาศ สบายด้วยโภชนะ สบายด้วยเสนาสนะ สบายด้วยการฟังธรรม หาง่าย มีอยู่ในที่ใด ย่อมอยู่ในที่นั้น.

จบอรรถกถาสัมพหุลสูตรที่ ๔.