พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อานันทสูตร ว่าด้วยเทวดาเตือนพระอานนท์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36425
อ่าน  427

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 363

๕. อานันทสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนพระอานนท์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 363

๕. อานันทสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนพระอานนท์

[๗๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ เป็นผู้มากไปด้วยการรับแขกฝ่ายคฤหัสถ์เกินเวลาอยู่.

[๗๗๒] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์แก่ท่านพระอานนท์ ใคร่จะให้ท่านสังเวชจึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า

ท่านเข้าไปสู่ที่รกคือโคนต้นไม้แล้ว จงใส่ใจถึงพระนิพพาน โคตมะ ท่านจงเพ่งฌาน อย่าประมาท ถ่อยคำที่สนทนาของท่านจัก ทำอะไรได้.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความสลดใจแล้วแล.

อรรถกถาอานันทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อานนฺโท คือ พระเถระผู้เป็นคลังพระธรรม. บทว่า อติเวลํ แปลว่า เกินเวลา. บทว่า คิหิสญฺตฺติพหุโล ความว่า ยังคฤหัสถ์ให้รู้จักเวลาเป็นอันมาก ทั้งกลางวันและกลางคืน. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระกล่าวกะพระเถระว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 364

ผู้มีอายุ เราจักไปเข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์แล้วสังคายนาพระธรรม ท่านจงไปจงเข้าไปสู่ป่ากระทำความเพียร เพื่อประโยชน์แก่มรรคทั้ง ๓ เบื้องบนเถิด. พระอานันทเถระถือเอาบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังแคว้นโกศล อยู่ในสำนักป่าแห่งหนึ่ง รุ่งขึ้น จึงเข้าไปยังบ้านแห่งหนึ่ง. คนทั้งหลายเห็นพระเถระแล้วกล่าวคำเป็นอันมากว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ในคราวก่อนท่านมากับพระศาสดา วันนี้มารูปเดียวเท่านั้น ท่านทอดทิ้งพระศาสดาไว้เสียที่ไหน บัดนี้ ท่านถือบาตรและจีวรของใครมา ท่านจะถวายน้ำล้างหน้าจะปัดกวาดบริเวณ จะทำวัตรปฏิบัติแก่ใคร ดังนี้ พากันคร่ำครวญแล้ว พระเถระกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย อย่าเศร้าโศกเลย อย่าคร่ำครวญเลย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ยังเขาให้รู้พร้อมแล้ว ทำภัตกิจแล้วไปสู่ที่พัก. แม้ในเวลาเย็น คนทั้งหลายไปในที่นั้น พากันคร่ำครวญอย่างนั้นพระเถระก็สั่งสอนอย่างนั้นเหมือนกัน. คำนี้ ท่านกล่าวหมายถึงข้อนั้น.

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาคิดว่า พระเถระนี้คิดว่า เราฟังคำของภิกษุสงฆ์แล้วจักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้ แล้วเข้าไปสู่ป่า บัดนี้ยังคฤหัสถ์ให้รู้พร้อมกันอยู่ ยังไม่กระทำศาสนาของพระศาสดาที่ตั้งอยู่ให้เป็นประมวลธรรมเหมือนกองดอกไม้ที่ไม่ได้รวบรวม เราจะเตือนท่าน ดังนี้แล้วจึงกล่าว. บทว่า ปสกฺกิย แปลว่า เข้าไปแล้ว. บทว่า หทยสฺมึ โอปฺปิย ได้แก่ ใส่ไว้ในหทัยด้วยกิจและด้วยอารมณ์. พระเถระคิดว่า เราจะบรรลุพระนิพพาน ดังนี้แล้ว ทำความเพียรอยู่ ชื่อว่า ใส่พระนิพพานไว้ในหทัยด้วยกิจ แต่เพื่อยังสมาบัติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ให้แนบแน่นนั่งอยู่. (ชื่อว่าใส่พระนิพพานไว้ในหทัย) ด้วยอารมณ์. เทวดานี้ย่อมกล่าวหมายถึงกิจและอารมณ์ทั้ง ๒ นั้น. บทว่า ฌาย คือ จงเป็นผู้เพ่งด้วยฌานทั้งสอง. บทว่า ปีฬิปีฬิกา แปลว่า นี้ถ้อยคำพูดกับคฤหัสถ์.

จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๕.