๗. นาคทัตตสูตร ว่าด้วยเทวดาเตือนพระนาคทัตตะ
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 368
๗. นาคทัตตสูตร
ว่าด้วยเทวดาเตือนพระนาคทัตตะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 368
๗. นาคทัตตสูตร
ว่าด้วยเทวดาเตือนพระนาคทัตตะ
[๗๗๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระนาคทัตตะ พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านพระนาคทัตตะเข้าไปสู่บ้านแต่เช้าตรู่และกลับมาหลังเที่ยง.
[๗๗๙] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์แก่ท่านพระนาคทัตตะ ใคร่จะให้ท่านสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า
ท่านนาคทัตตะ ท่านเข้าไปแล้วในกาลและกลับมาในกลางวัน (ท่าน) มีปกติเที่ยวไปเกินเวลา คลุกคลีกับคฤหัสถ์พลอยร่วมสุขร่วมทุกขกับเขา เราย่อมกลัวพระนาคทัตตะ ผู้คะนองสิ้นดี และพัวพันในสกุลทั้งหลาย ท่านอย่าไปสู่อำนาจของมัจจุราชผู้มีกำลัง ผู้กระทำซึ่งที่สุดเลย.
ลำดับนั้น ท่านพระนาคทัตตะ เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความสลดใจแล้วแล.
อรรถกถานาคทัตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนาคทัตตสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อติกาเลน ความว่า ภิกษุนาคทัตตะ นอนหลับตลอดคืนในเวลาใกล้รุ่ง เอาปลายไม้กวาดปัดกวาดเสียหน่อยหนึ่ง ล้างหน้าแล้ว เข้าไปขอข้าวต้มแต่เช้า บทว่า อติทิวา ความว่า รับข้าวต้มไปโรงฉันดื่มแล้ว
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 369
นอนหลับในที่แห่งหนึ่ง คิดว่า เราจะได้อาหารอย่างดีในเวลาบริโภคของคนทั้งหลาย ดังนี้ เมื่อใกล้เที่ยง ก็ลุกขึ้นเอาเครื่องกรองน้ำตักน้ำล้างตาแล้ว ไปหาอาหารฉันตามต้องการ ครั้นเลยเที่ยงแล้วก็หลีกไป. บทว่า ทิวา จ อาคนฺ ตฺวา ความว่า ชื่อว่า ผู้เข้าไปเกินเวลา พึงมาก่อนภิกษุทั้งหลายอื่น แต่ท่านมาสายเกินไป. บทว่า ภายามิ นาคทตฺตํ ได้แก่ เรากลัวท่านนาคทัตตะนั้น. บทว่า สุปคพฺภํ ได้แก่ คะนองด้วยดี. บทว่า กุเลสุ คือ ในตระกูลผู้อุปัฏฐากมีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น.
จบอรรถกถานาคทัตตสูตรที่ ๗