พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๓. ปากตินทริยสูตร ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุผู้ฟุ่งซ่าน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36433
อ่าน  404

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 378

๑๓. ปากตินทริยสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 378

๑๓. ปากตินทริยสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน

[๗๙๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุมากด้วยกัน พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ล้วนเป็นผู้ฟุ้งซ่าน เห่อเหิม ขี้โอ่ ปากกล้า พูดเหลวไหล มีสติฟั่นเฟือน ไม่รู้สึกตน ไม่หนักแน่น จิตไม่มั่นคง มีอินทรีย์อันเปิดเผย.

[๗๙๔] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้น หวังจะให้พวกเธอสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะพวกเธอด้วยคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 379

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวก ของพระสมณะโคดมในกาลก่อนมีปกติเป็นอยู่ง่ายไม่มักได้ แสวงหาบิณฑบาต [ตามได้] ไม่มักได้แสวงหาเสนาสนะ [ตามได้] ท่านเหล่านั้นรู้ความไม่เที่ยงในโลกแล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว [ส่วนพวกท่าน] ทำตนให้เป็นผู้เลี้ยงยาก ประดุจผู้เอาเปรียบชาวบ้านในบ้าน กินแล้วๆ ก็นอนหมกมุ่นอยู่ในเรือนของคนอื่น เราขอกระทำอัญชลีแก่พระสงฆ์แล้ว ขอกล่าวถึงภิกษุที่ควรกล่าวบางพวก ในพระศาสนานี้ ท่านเหล่านั้นถูกเขาทอดทิ้งหาที่พึ่งมิได้ เหมือนอย่างคนที่ตายแล้ว ถูกเขาทอดทิ้งไว้ในป่าช้า ฉะนั้น เรากล่าวหมายถึงภิกษุจำพวกที่เป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ท่านเหล่าใดเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ เราขอกระทำการนอบน้อมแก่ท่านเหล่านั้น.

ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความสลดใจแล้วแล.

อรรถกถาปากตินทริยสูตรที่ ๑๓

ปากตินทริยสูตรที่ ๑๓ มีพิสดารอยู่ในชันตุเทวปุตตสูตร ในเทวปุตตสังยุต.