๒. สักกสูตร ว่าด้วยการสอนคนอื่น
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 387
๒. สักกสูตร
ว่าด้วยการสอนคนอื่น
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 387
๒. สักกสูตร
ว่าด้วยการสอนคนอื่น
[๘๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์.
[๘๐๕] ครั้นนั้นแล ยักษ์มีชื่อว่าสักกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กราบทูลด้วยคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 388
การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่าน ผู้ละกิเลสได้ทั้งหมด ผู้พ้นจากไตรภพ.
[๘๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนสักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกันย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คนมีปัญญาไม่ควรที่จะไหวตามเหตุนั้นด้วยใจ ถ้าคนมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้พัวพันด้วยเหตุนั้น นอกจากจะอนุเคราะห์เอ็นดู.
อรรถกถาสักกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสักกสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สกฺกนามโก คือ ยักษ์มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า ยักษ์นี้เป็นฝ่ายมาร. บทว่า วิปฺปมุตฺตสฺส ได้แก่ พ้นจากภพ ๓. บทว่า ยทฺํ ตัดบทว่า ยํ อญฺํ (อื่นใด). บท วณฺเณน คือเพราะเหตุ. บทว่า สํวาโส คืออยู่ด้วยกัน. อธิบายว่า เป็นสหายธรรม มิตรธรรม. บทว่า สปฺปญฺโ คือผู้มีปัญญา ผู้รอบรู้.
จบอรรถกถาสักกสูตรที่ ๒