พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สุทัตตสูตร อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36442
อ่าน  579

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 410

๘. สุทัตตสูตร

อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 410

๘. สุทัตตสูตร

อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก

[๘๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในสีตวัน กรุงราชคฤห์.

สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีไปถึงกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจบางอย่าง.

อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้สดับว่า เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก ในขณะนั้นเอง ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้ดำริว่า วันนี้เป็นกาลไม่ควรเพื่อจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พรุ่งนี้เถิด เราจึงจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตามเวลา ท่านคฤหบดีนอนรำพึงถึงพระพุทธเจ้า สำคัญว่าสว่างแล้วลุกขึ้นในราตรีถึง ๓ ครั้ง.

ลำดับนั้น ท่านคฤหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์เปิดประตูให้.

[๘๒๗] ครั้นเมื่ออนาถบิณฑิกคฤหบดีออกจากเมืองไป แสงสว่างก็อันตรธานไป ความมืดปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 411

ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อสีวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า

ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอดสวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้งแห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.

[๘๒๘] แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก.

แม้ครั้งที่ ๒ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า

ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอดสวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้งแห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 412

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.

[๘๒๙] แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก.

แม้ครั้งที่ ๓ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า

ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่งท่านจงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดีท่านจงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างได้ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.

[๘๓๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินเข้าไปถึงสีตวัน.

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคฤหบดีผู้มาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกอนาบิณฑิกคฤหบดีว่า มานี่เถิดสุทัตตะ.

ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทักเราโดยชื่อ จึงหมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเอง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขหรือพระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 413

[๘๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า

พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้ว ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้เย็น ปราศจากอุปธิ ย่อมเป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัดตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องได้หมดแล้ว กำจัดความกระวนกระวายในใจเสียได้ เป็นผู้สงบอยู่เป็นสุข เพราะถึงสันติด้วยใจ.

อรรถกถาสุทัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุทัตตสูตรที่ ๘ ต่อไปนี้ :-

บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ได้แก่ ประสงค์เอาพาณิชยกรรม. อนาถบิณฑิกคฤหบดี และราชคหเศรษฐี เป็นคู่เขยกันและกัน. เมื่อใด ในกรุงราชคฤห์ มีสินค้าส่งออกมีค่ามาก เมื่อนั้น ราชคหเศรษฐี พาเอาสินค้านั้นไปกรุงสาวัตถีด้วยเกวียนร้อยเล่ม พักอยู่ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งให้ผู้อื่นรู้ว่าตนมาแล้ว. อนาถบิณฑิกคฤหบดี ไปต้อนรับ ทำสักการะเป็นอันมากแก่เขาแล้วจึงขึ้นยานเดียวกันเข้าไปกรุงสาวัตถี. ถ้าว่า สินค้าจำหน่ายได้เร็ว เขาก็จำหน่ายถ้าจำหน่ายไม่ได้ ก็จะเก็บไว้ในเรือนพี่สาวแล้ว ก็หลีกไป. แม้อนาถบิณฑิกคฤหบดี ก็กระทำอย่างนั้น เหมือนกัน. แม้ในกาลนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 414

นั้น ได้ไปด้วยกรณียกิจนั้นแล. ข้อนั้น ท่านหมายถึงกรณียกิจนั้น จึงกล่าวแล้ว.

ก็ในวันนั้น ราชคหเศรษฐี ได้ฟังข่าว อันอนาถบิณฑิกคฤหบดีพักอยู่ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งส่งไปแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าตนมาแล้ว จึงได้ไปวิหารเพื่อฟังธรรม. เขาฟังธรรมกถาแล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อฉันในวันพรุ่ง จึงให้ช่วยกันขุดเตาไฟ และผ่าฟืนเป็นต้น ในเรือนของตน. แม้อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า ท่านเศรษฐี จักทำการต้อนรับเราบัดนี้ จักทำเดี๋ยวนี้ แม้ที่ประตูเรือน ก็ไม่ได้การต้อนรับ จึงเข้าไปภายในเรือน ก็ได้การปฏิสันถาร ไม่มากนัก. การปฏิสันถารได้มีประมาณเท่านี้ว่า ท่านมหาเศรษฐีท่านไม่เหน็ดเหนื่อยในหนทางของรูปทารกในตระกูลหรือ. อนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้น เห็นการขวนขวายมากของท่านเศรษฐีนั้นแล้ว ยังถ้อยคำให้เป็นไปโดยนัยมาแล้วในขันธกะว่า ข้าแต่ท่านคหบดี ท่านจักมีอาวาหมงคลหรือ ดังนี้ได้ฟังเสียงว่า พระพุทธเจ้า จากปากของท่านราชคหเศรษฐีนั้น ก็ได้ปีติมีวรรณะ ๕. ปีตินั้นตั้งขึ้นที่ศีรษะของอนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้น จนถึงหลังเท้า ตั้งขึ้นที่หลังเท้า แผ่ไปจนถึงศีรษะ. ตั้งขึ้นแต่ข้างทั้งสองรวมลงท่ามกลาง ตั้งขึ้นท่ามกลางแผ่ไปโดยข้างทั้งสอง. เขาอันปีติถูกต้องชั่วนิรันดร จึงกล่าวว่าคหบดี ขอท่านได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าเถิด. ข้าพเจ้ากล่าวอยู่ว่า พระพุทธเจ้า. ถามสามครั้งอย่างนี้แล้ว กล่าวว่า เสียงว่า พุทฺโธ นั้นแล หาได้ยากในโลก. ท่านหมายถึงข้อนี้ จึงกล่าวว่า อนาถบิณฑิกคหบดี ได้สดับว่า เขาลือกันว่าพระพุทธเจ้า ทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้.

บทว่า เอตทโหสิ อกาโล โข อชฺช ความว่า ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีถามท่านเศรษฐีว่า คหบดี พระศาสดา ประทับอยู่ที่ไหน. ครั้งนั้น ท่าน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 415

เศรษฐี จึงบอกแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลายเข้าใกล้ได้ยากเช่นกับอสรพิษ พระศาสดา ประทับอยู่ในป่าช้า ผู้เช่นท่านไม่อาจเพื่อจะไปเฝ้าในเวสานี้ในที่นั้นได้. ครั้งนั้น ท่านเศรษฐี ได้มีความดำรินั้น. บทว่า พุทฺธคตาย สติยา นิปชฺชิ ความว่า ได้ยินว่า ในวันนั้น แม้จิตของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ไม่เกิดขึ้นในเกวียนบันทุกสินค้าหรือในคนใช้ ไม่รับประทานอาหารมื้อเย็น ได้ขึ้นปราสาท ๗ ชั้น เมื่อทำการสาธยายว่า พุทฺโธ พุทฺโธ บนที่นอนอันประเสริฐที่จัดไว้ดีและตกแต่งไว้อย่างดี นอนหลับไป. เพราะเหตุนั้น. ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อมีสติถึงพระพุทธเจ้า จึงหลับไป.

บทว่า รตฺติยา สุทํ ติกฺขตฺตุํ อุฏฺาสิ ปภาตนฺติ มญฺมาโน ความว่า เมื่อปฐมยามล่วงไป เขาลุกขึ้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า. ในกาลนั้น ความเลื่อมใสของอนาถบิณฑิกนั้น ได้เกิดมีกำลัง. แสงสว่างแห่งปีติได้มีแล้ว. ความมืดก็หมดไป. เหมือนประทีปพันดวงลุกโพลงและดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น. อนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้นคิดว่า เราถึงแล้วซึ่งความเสื่อมใส ถูกเขาลวงแล้วดวงอาทิตย์ขึ้น ดังนี้ แล้วลุกขึ้น ยืนบนพื้นอากาศ มองดูดวงจันทร์คิดว่า ยามหนึ่งล่วงไปแล้วยังเหลืออยู่อีกสองยาม จึงเข้าไปนอนอีก. โดยอุบายนั้น เขาลุกขึ้นสามครั้งคือ ในที่สุดมัชฌิมยามครั้งหนึ่ง ส่วนในที่สุดปัจฉิมยาม ลุกขึ้นในเวลาจวนสว่างมายังพื้นอากาศ มุ่งหน้าต่อประตูใหญ่. ประตู ๗ ชั้นได้เปิดเองลงจากปราสาทเดินไประหว่างทาง.

บทว่า วิวรึสุ ความว่า อมนุษย์ทั้งหลายคิดกันว่า มหาเศรษฐีนี้ออกไปด้วยคิดว่า เราจักไปอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผลด้วยการเห็นครั้งแรกแล ได้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศแห่งพระรัตนตรัย ทำสังฆารามให้เป็นสถานที่หาที่เปรียบมิได้ แต่จักไม่เปิดประตูรับหมู่พระอริยะผู้มาจากจาตุรทิศ มหาเศรษฐีนี้ ไม่ควรปิดประตูเลยดังนี้ จึงได้เปิดแล้ว. บทว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 416

อนฺตรธายิ ความว่า ได้ยินว่า กรุงราชคฤห์ มีมนุษย์เกลือนกล่นภายในเมือง เก้าโกฏิ ภายนอกเมือง เก้าโกฏิ รวมได้มนุษย์ ๑๘ โกฎิ เข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์นั้นอยู่. พวกมนุษย์ ไม่สามารถ เพื่อจะนำเอาคนตายออกไปภายนอกในมิใช่เวลาได้ วางไว้บนธรณีประตูทิ้งไปภายนอกประตู. มหาเศรษฐีพอออกไปภายนอกเมือง เท้าก็เหยียบซากที่ยังสด. หลังเท้า ก็กระทบซากที่ยังสด. หลังเท้า ก็กระทบซากแม้อื่นอีก. ฝูงแมลงวัน ก็บินขึ้น กระจายออกรอบๆ. กลิ่นเหม็น ก็กระทบโพรงจมูก. ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ถึงความลดน้อยลง. เพราะเหตุนั้น แสงสว่างของมหาเศรษฐีนั้น ก็อันตรธานไป. ความมืดปรากฏขึ้น. บทว่า สทฺทมนุสฺสาเวสิ ความว่า สิวกยักษ์คิดว่า เราจักยังความอุตสาหะให้เกิดแก่เศรษฐีได้ส่งเสียงให้ได้ยินด้วยเสียงอันไพเราะเหมือนคนเคาะกระดิ่งทองฉะนั้น.

บทว่า สตํ กญฺาสหสฺสานิ ความว่า แม้บทแรก เชื่อมกับบทสหัสสะนี้แล ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า กับหญิงสาวแสนหนึ่ง ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถแสนหนึ่ง. แต่ละแสนท่านแสดงไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปทวีติหารสฺส ได้แก่ ขนาดศอกกำมาหนึ่งในระหว่างเท้าทั้งสอง ในการเดินไปสม่ำเสมอ ชื่อว่าการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง. บทว่า กลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสึ ความว่า ส่วนหนึ่งอันจำแนก ๑๖ ส่วนโดย ๑๖ ครั้งอย่างนี้คือ แบ่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน จาก ๑๖ ส่วนนั้น แบ่งส่วนหนึ่งออกเป็น ๑๖ ส่วนอีก. จาก ๑๖ ส่วนนั้น แบ่งส่วนหนึ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน ชื่อว่าเสี้ยวที่ ๑๖ สี่แสนเหล่านี้ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ นั้น มีคำอธิบายว่า เจตนาที่เป็นไปในส่วนกล่าวคือเสี้ยวที่ ๑๖ นั้น ของบุคคลกำลังไปยังวิหาร เป็นเจตนาที่ยอดเยี่ยมกว่า การได้นี้ประมาณเท่านี้คือ ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถแสนหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 417

นางสาวแสนหนึ่ง ก็นางสาวเหล่านั้นแลที่สวมแก้วมณีและกุณฑลเป็นราชธิดาอยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นเทียว. ถามว่า ก็การไปวิหารนี้ ท่านถือแล้วด้วยอำนาจของใคร. ตอบว่า ของผู้ไปยังวิหารแล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลโดยไม่มีอันตราย. ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ไปด้วยคิดว่า เราจักทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น จักไหว้พระเจดีย์ จักฟังธรรม จักบูชาด้วยเทียนและธูป นิมนต์สงฆ์ ถวายทาน จักตั้งอยู่ในสิกขาบท หรือว่า สรณะดังนี้ ย่อมควรเหมือนกัน.

บทว่า อนฺธกาโร อนฺตรขายิ ความว่า นัยว่า ท่านเศรษฐีคิดว่า เราทำความสำคัญว่า เราอยู่คนเดียว แม้การประกอบความเพียรก็มีแก่เรา เพราะเหตุไร เราจึงต้องกลัวเล่า ดังนั้น จึงได้เป็นผู้กล้า. ครั้งนั้น ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า มีกำลังเกิดขึ้นแล้ว. เพราะฉะนั้น ความมืด จึงอันตรธานไป. แม้ในวาระที่เหลือก็มีนัยนี้แล อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เดินไปข้างหน้าๆ ได้เห็นซากศพหลายอย่างเป็นต้นว่า ร่างกระดูกมีเนื้อและเลือดติดอยู่ในทางป่าช้าอันน่ากลัว ได้ยินเสียงสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น. เขายังความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าให้เจริญบ่อยๆ ย่ำยีอันตรายทั้งหมดนั้นไปได้. บทว่า เอหิ สุทตฺต ความว่า ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นเดินคิดไปว่า ในโลกนี้มีเดียรถีย์มีปูรณกัสสปะเป็นต้นเป็นอันมาก ก็กล่าวว่าเราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้าเราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า เราพึงรู้ความที่ศาสดาเป็นพุทธเจ้าได้อย่างไร หนอแล ครั้งนั้น ท่านเศรษฐีได้มีความดำรินั้นว่า มหาชน รู้จักชื่อซึ่งเกิดด้วยอำนาจคุณของเรา แต่ใครๆ ยังไม่รู้จักกุลทัตติยะเป็นชื่อของเรา นอกจากเราหากว่าพระพุทธเจ้าจักมี พระองค์ก็ทรงเรียกเราโดยชื่อว่า กุลทัตติกะ. พระศาสดา ทรงรู้จิตของเขาแล้ว จึงตรัส อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 418

บทว่า ปรินิพฺพุโต ความว่า พราหมณ์ ผู้ดับแล้ว ด้วยความดับกิเลส. บทว่า อาสตฺติโย แปลว่า ตัณหา. บทว่า สนฺตึ แปลว่า ความสงบระงับกิเลส. บทว่า ปปฺปุยฺย แปลว่า ถึงแล้ว. ก็แลพระศาสดา ตรัสพระดำรัสนี้ จึงตรัสอนุปุพพีกถา แก่เศรษฐีนั้น แล้วก็ทรงประกาศสัจจะ ๔ ในที่สุด. เศรษฐีฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เริ่มถวายมหาทานตั้งแต่วันรุ่งขึ้น. อิสรชนมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้น ส่งสาสน์ไปแก่เศรษฐีว่า ท่านเป็นอาคันตุกะ สิ่งใดไม่พอ ท่านจงให้นำสิ่งนั้นมาแต่ที่นี้เถิด. ท่านห้ามชนทั้งหมดว่า พอ พวกท่านมีกิจมาก ได้ถวายมหาทาน ๖ วันด้วยสมบัติที่ตนนำมาด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม. ก็ในที่สุดแห่งการถวายทาน ทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงการอยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถีแล้ว ได้ถวายแสนหนึ่งทุกๆ โยชน์ เมื่อให้สร้างวิหาร ๔๐ แห่ง ระหว่างกรุงราชคฤห์กับกรุงสาวัตถี ได้ไปยังกรุงสาวัตถีให้สร้างเชตวันมหาวิหารเสร็จแล้ว ได้มอบถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.

จบอรรถกถาสุทัตตสูตรที่ ๘