พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปฐมสุกกาสูตร ว่าด้วยยักษ์สรรเสริญสุกกาภิกษุณี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36443
อ่าน  477

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 419

๙. ปฐมสุกกาสูตร

ว่าด้วยยักษ์สรรเสริญสุกกาภิกษุณี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 419

๙. ปฐมสุกกาสูตร

ว่าด้วยยักษ์สรรเสริญสุกกาภิกษุณี

[๘๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

สมัยนั้นแล ภิกษุณีชื่อสุกกา อื่นบริษัทใหญ่แวดล้อมแสดงธรรมอยู่.

[๘๓๓] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

มนุษย์ทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณี ผู้แสดงอมตบทอยู่ มัวทำอะไรกัน เป็นผู้ประดุจดื่มน้ำผึ้งหอมแล้วก็นอน ก็แลอมตบทนั้นใครจะคัดค้านไม่ได้ เป็นของไม่ได้เจือปรุง แต่มีโอชา ผู้มีปัญญาคงได้ดื่มอมตธรรม เหมือนคนเดินทางได้ดื่มน้ำฝนฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 420

อรรถกถาปฐมสุกกาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสุกกาสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-

บทว่า รถิกาย รถิกํ ความว่า เมื่อถือเอาถนนสายหนึ่ง ไปจากถนนสายนั้น ยังถนนอีกสายหนึ่ง ได้ชื่อว่า จากถนนหนึ่งเข้าไปหาถนนหนึ่ง. แม้ในตรอก ก็มีนัยนี้แล. ก็บทว่า รถิกา ในบทว่า รถิกาย นี้ แปลว่าถนน. บทว่า สิงฺฆาฏกํ แปลว่า ทางสี่แพร่ง. บทว่า กิมฺเม กตา ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ทำอะไรกัน คือทำอะไรอยู่. บทว่า มธุปิตาว เสยเร ความว่า ย่อมนอนเหมือนดื่มน้ำผึ้งมีกลิ่นหอม. นัยว่า คนดื่มน้ำผึ้งมีกลิ่นหอมไม่สามารถจะยกศีรษะขึ้นได้ นอนไม่รู้สึกเลย เพราะฉะนั้น ยักษ์จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า ตญฺจ ปน อปฺปฏิวานียํ ความว่า ก็แล สุกกาภิกษุณีแสดงธรรมนั้น ใครจะคัดค้านไม่ได้. แท้จริง โภชนะข้างนอก แม้จะอร่อยจริงแต่ย่อมไม่ชอบใจแก่คนที่บริโภคบ่อยๆ พึงถูกห้าม คือ พึงถูกนำออกด้วยคำว่า ท่าน จงนำไปเถิด ประโยชน์อะไรด้วยโภชนะนี้เล่า ธรรมนี้หาเป็นอย่างนั้นไม่. แท้จริง บัณฑิตทั้งหลายเมื่อฟังธรรมนี้ ตลอดร้อยปีบ้าง พันปีบ้าง ก็ยังไม่อิ่มเลย เพราะเหตุนั้น ยักษ์จึงกล่าวว่า ใครจะคัดค้านไม่ได้. บทว่า อเสจนกโมชวํ ได้แก่ มีโอชาซึ่งไม่ได้ปรุงแต่ง เหมือนอย่างว่า แม้ข้าวปายาสไม่เจือปนสิ่งภายนอกเป็นต้น แต่เอาเนยใส น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดใส่ลงระคนให้เข้ากันแล้ว ย่อมมีโอชารสอร่อยฉันใด ธรรมนี้หาเป็นฉันนั้นไม่. ก็ธรรมนี้เป็นธรรมไพเราะและมีโอชาตามธรรมดาของตน จะเอาสิ่งอื่นมาใส่เข้าไป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 421

ก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น ยักษ์จึงกล่าวว่า มีโอชาโดยไม่ได้ปรุงแต่ง บทว่า มญฺเ สปฺปญฺา ความว่า เหมือนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตดื่มอยู่. บทว่า วลาหกมิว ปนฺถคู ความว่า เหมือนคนเดินทางฤดูร้อนจัด ดื่มน้ำไหลจากกลีบเมฆ ฉะนั้น.

จบอรรถกถาปฐมสุกกาสูตรที่ ๙