พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สุสิมสูตร การได้ความสุขเพราะความหมั่น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36448
อ่าน  555

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 460

๒. สุสิมสูตร

การได้ความสุขเพราะความหมั่น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 460

๒. สุสิมสูตร

การได้ความสุขเพราะความหมั่น

[๘๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 461

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๘๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้พากันมารบกับพวกเทวดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสเรียกสุสิมเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุสิมเทพบุตรรับบัญชาท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุสิมเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในครั้งที่ ๓ สุสิมเทพบุตรรับบัญชาท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้แล้วมัวประมาทเสีย.

[๘๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะสุสิมเทพบุตรด้วยคาถาว่า

บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม แต่ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด ดูก่อนสุสิมะเจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้นด้วยเถิด.

[๘๕๘] สุสิมเทพบุตรทูลว่า

บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่นและไม่ใช้ใครๆ ให้กระทำกิจทั้งหลายอีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 462

ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้นแก่ข้าพระองค์.

[๘๕๙] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่นถึงความสุขล่วงส่วนได้ สุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้นด้วยเถิด.

[๘๖๐] สุสิมเทพบุตรทูลว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะพึงได้ความสุขใด โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขนั้นอันประเสริฐ ที่ไม่มีความแห้งใจ ไม่มีความคับแค้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๘๖๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน ไม่ว่าในที่ไหนๆ ใครๆ ย่อมยังชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน สุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 463

[๘๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นอิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงพรรณนาคุณแห่งความเพียร คือความหมั่น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยอันเรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้ พึงหมั่นเพียร พยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้.

อรรถกถาสุสิมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุสิมสูตร ที่ ๒ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สุสิมํ คือ บุตรองค์หนึ่งมีชื่ออย่างนี้ ในระหว่างบุตรพันองค์ของท้าวสักกะ.

จบอรรถกถาสุสิมสูตรที่ ๒