๕. สุภาสิตชยสูตร ว่าด้วยการแข่งขันคําสุภาษิต
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 474
๕. สุภาสิตชยสูตร
ว่าด้วยการแข่งขันคําสุภาษิต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 474
๕. สุภาสิตชยสูตร
ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต
[๘๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
[๘๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างพวกเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด.
ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ตกลงเราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้งผู้ตัดสินว่า ผู้ตัดสินเหล่านี้จักรู้ทั่วถึงคำสุภาษิต คำทุพภาษิตของพวกเรา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ในเทวโลกนี้ท่านเป็นเทพมาก่อน ท่านจงกล่าวคาถาเถิด.
[๘๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
พวกคนพาลไม่มีผู้กำราบ มันยิ่งกำเริบ ฉะนั้น นักปราชญ์ผู้มีปัญญา พึงกำราบคนพาลเสียด้วยอาญาอันรุนแรง.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 475
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาแล้ว เหล่าอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็พากันนิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแลท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดาท่านจงกล่าวคาถาเถิด.
[๘๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถานี้ว่า
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ เราเห็นว่าการระงับไว้ได้ของผู้นั้น เป็นการกำราบคนพาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาแล้ว พวกเทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแลท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ดูก่อนท้าวเวปจิตติ ท่านจงตรัสคาถาเถิด.
[๘๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
ดูก่อนท้าววาสวะ เราเห็นโทษของการอดกลั้นนี้แหละ เพราะว่าเมื่อใดคนพาลสำคัญเห็นผู้นั้นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนพาลผู้ทรามปัญญายิ่งข่มขี่ผู้นั้นเหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไป ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรภาษิตคาถาแล้ว เหล่าอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็นิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแลท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถาเถิด.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 476
[๘๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า
บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว หรือหาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลังอดกลั้นต่อคนทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นไว้ได้ของผู้นั้นบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลย่อมอดทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลายเรียกกำลังของผู้ที่มีกำลังอย่างคนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้ที่มีกำลังอันธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษอันลามกจึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว บุคคลผู้ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนผู้ที่ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 477
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาเหล่านี้แล้ว พวกเทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง.
[๘๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทวดาและพวกอสูรได้กล่าวคำนี้ว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล แต่คาถาเหล่านั้นมีความเกี่ยวเกาะด้วยอาชญา มีความเกี่ยวเกาะด้วยศาสตรา เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล ก็คาถาเหล่านั้นไม่เกี่ยวเกาะด้วยอาชญา ไม่เกี่ยวเกาะด้วยศาสตรา เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความไม่หมายมั่น ความไม่แก่งแย่ง ความไม่ทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะจอมเทวดาชนะเพราะได้ตรัสคำสุภาษิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิตได้เป็นของท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาสุภาสิตชยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุภาสิตชยสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อสุรินฺทํ เอตทโวจ ความว่า ได้กล่าวคำนี้ ด้วยความเป็นผู้ฉลาด. ได้ยินว่า จอมอสูรนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า การกล่าวแก้การถือของผู้อื่นก่อน เป็นการหนัก แต่การกล่าวคล้อยตามคำของผู้อื่นในภายหลัง สบาย. บทว่า ปุพฺพเทวา ความว่า ผู้อยู่มานานในเทวโลก ย่อมเป็นเจ้าของก่อน. อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวคำที่มาตามประเพณีของท่านก่อน. บทว่า อทณฺฑาวจรา ความว่า เว้นจากการถือตะบอง. อธิบายว่า ไม่มี เช่นในคำนี้ว่า พึงถือตะบองหรือมีด.
จบอรรถกถาสุภาสิตชยสูตรที่ ๕.