พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. นทุพภิยสูตร ว่าด้วยการไม่ควรประทุษร้าย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36453
อ่าน  400

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 480

๗. นทุพภิยสูตร

ว่าด้วยการไม่ควรประทุษร้าย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 480

๗. นทุพภิยสูตร

ว่าด้วยการไม่ควรประทุษร้าย

[๘๘๗] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดาผู้หลีกเร้นออกอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความตรึกนึกคิดขึ้นว่า เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้ทราบความดำริของท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยใจของตนแล้ว เข้าไปหาท้าวสักกะจอมเทวดาจนถึงที่ประทับ.

[๘๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ทอดพระเนตรเห็นท้าวเวปจิตติจอมอสูรผู้มาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วจึงตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า หยุดเถอะ ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านถูกจับเสียแล้ว.

ท้าวเวปจิตติตรัสถามว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านละทิ้งความคิดเมื่อก่อนของท่านเสียแล้วหรือ.

ท้าวสักกะตรัสว่า ท้าวเวปจิตติ ก็ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้ายต่อเรา.

[๘๘๙] ท้าวเวปจิตติตรัสคาถาว่า

แน่ะท้าวสุชัมบดี บาปของคนพูดเท็จ บาปของคนผู้ติเตียนพระอริยะเจ้า บาปของคนผู้ประทุษร้ายต่อมิตร และบาปของคนอกตัญญู จงถูกต้องผู้ที่ประทุษร้ายต่อท่าน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 481

อรรถกถานทุพภิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนทุพภิยสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ท้าวสักกะนี้ดำริว่า เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา. คิดต่อไปว่า ชื่อว่า ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อท้าวเวปจิตตินั้นนอกจากเราไม่มี เราจักทดลองดูท้าวเวปจิตตินั้นก่อน เขาเห็นเราแล้วจะประทุษร้าย หรือไม่ประทุษร้าย จึงเข้าไปหา. บทว่า ติฏฺ เวปจิตฺติ คหิโตสิ ความว่า ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนท้าวเวปจิตติ ท่านจงหยุด ณ ที่นี้เถิด ท่านถูกเราจับแล้ว. พร้อมกับดำรัสของท้าวสักกะนั้น ท้าวเวปจิตติก็ถูกผูกมัด โดยผูกมัดมีคอเป็นที่ ๕. บทว่า สปสฺสุ จ เม ความว่า ท้าวสักกะตรัสว่า ท้าวเวปจิตติ ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้ายในเรา. บทว่า ยํ มุสา ภณโต ปาปํ ความว่า ท่านกล่าวหมายถึงบาปของพระเจ้าเจติยราชในปฐมกัปในกัปนี้. บทว่า อริยูปวาทิโน ได้แก่ บาปดุจบาปของภิกษุโกกาลิกะ. บทว่า มิตฺตทฺทุโน จ ยํ ปาปํ ได้แก่บาปของผู้มีจิตประทุษร้ายในพระมหาสัตว์ ในมหากปิชาดก. บทว่า อกตญฺญุโน ได้แก่บาปของคนอกตัญญู เช่นเทวทัต. นัยว่า ในกัปนี้ มี ๔ มหากัป.

จบอรรถกถานทุพภิยสูตรที่ ๗.