๙. อารัญญกสูตร ว่าด้วยกลิ่นของผู้มีศีล
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 484
๙. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยกลิ่นของผู้มีศีล
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 484
๙. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยกลิ่นของผู้มีศีล
[๘๙๕] สาวัตถีนิทาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมากรูปด้วยกัน อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยใบไม้ ในราวป่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าวเวปจิตติจอมอสูร เข้าไปหาฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นถึงที่อยู่.
[๘๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรสวมรองเท้าหนาหลายชั้น สะพายดาบ มีผู้กั้นร่มให้ เข้าไปสู่อาศรมทางทวารอันเลิศ เข้าไปใกล้ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นห่างไม่ถึงวา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลท้าวสักกะจอมเทวดาทรงถอดฉลองพระบาท ประทานพระขรรค์ให้แก่ผู้อื่นรับสั่งให้ลดฉัตร เสด็จเข้าไปทางอาศรมโดยทางทวารเข้า ประทับยืน ประคองอัญชลีนมัสการฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นอยู่ใต้ลม.
[๘๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 485
กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรตมานาน ย่อมจะฟุ้งจากกายไปตามลม ดูก่อนท้าวสหัสนัยน์ พระองค์จงถอยไปเสียจากที่นี้ ดูก่อนท้าวเทวราช กลิ่นของพวกฤาษีไม่สะอาด.
[๘๙๘] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรตมานาน ย่อมจะฟุ้งจากกายไปตามลม ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่นนี้เหมือนกับบุคคลมุ่งหวังระเบียบดอกไม้อันวิจิตร งดงาม บนศีรษะ ฉะนั้นก็พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มีศีลนี้ว่าเป็นกลิ่นปฏิกูลไม่.
อรรถกถาอารัญญกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอารัญญกสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-
บทว่า ปณฺณกุฏีสุ สมฺมนฺติ ความว่า ฤาษีทั้งหลายอาศัยอยู่ ในบรรณศาลา สมบูรณ์ด้วยที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้นในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ในหิมวันตประเทศ. เทพทั้งสองเหล่านี้คือ ท้าวสักกะจอมเทพและท้าวเวปจิตติเป็นลูกเขยพ่อตากัน บางครั้งก็ทะเลาะกัน บางครั้งก็เที่ยวไปด้วยกัน แต่ในครั้งนี้เที่ยวไปด้วยกัน. บทว่า อฏลิโย ได้แก่ รองเท้า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 486
หนาหลายชั้น. บทว่า ขคฺคํ โอลคฺเคตฺวา ได้แก่ สะพายดาบ. บทว่า ฉตฺเตน ได้แก่ กั้นเศวตฉัตรทิพย์ไว้เบื้องสูง. บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา แปลว่า ห่างไม่ถึงวา. บทว่า จิรทกฺขิตานํ แปลว่า ประพฤติพรตมานาน. ฤาษีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงถอยไปเสียจากนี้ จงเว้น เสียจากที่นี้ อย่ายืนเหนือลม. บทว่า น เหตฺถ เทวา ความว่า พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มีศีลนี้ว่า ปฏิกูลไม่. ท่านแสดงไว้ว่า ก็พวกเทวดามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มีศีลว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจทั้งนั้น.
จบอรรถกถาอารัญญยกสูตรที่ ๙