กรณียเมตตสูตร .. ว่าด้วยการแผ่เมตตาในสัตว์ทั้งปวง

 
somjeat
วันที่  5 พ.ค. 2550
หมายเลข  3646
อ่าน  6,245

อยากได้บทสวดมนต์ กรณียเมตตสูตร ค้นหาไม่เจอครับ เป็นสูตรที่พระพุทธองค์ให้ไว้แก่พระภิษุที่จำพรรษาในป่า แล้วถูกเทวดารบกวน น่าจะเป็นบทแผ่เมตตาครับ พอจะแนะนำได้ไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 พ.ค. 2550

สุตฺต ขุ. ขุทฺทกปาฐขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ

[๑๐] กรณียมตฺถกุสเลน ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจุ สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี สนฺตุสฺสโก จ สุภโร จ อปฺปกิจฺโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ สนฺตินฺทฺริโย จ นิปโก จ อปฺปคพฺโภ กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ฯ น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญจิ เยน วิญญ ปเร อุปวเทยฺยุ ฯ สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา ทีฆา วา เย มหนฺตา วา มชฺฌิมา รสฺสกา อณุกถูลา ทิฏฺฐา วา เย จ อทิฏฺฐา เย จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร ภูตา วา สมฺภเวสี วา สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ นาติมญเญถ กตฺถจิ นํ กิญจิ พฺยาโรสนา ปฏีฆสญญา นามญญสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ฯ มาตา ยถา นิยํ ปุตฺตํ อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ เมตฺตญจ สพฺพโลกสฺมึ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ อุทฺธํ อโธ จ ติริยญจ อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ ติฏฺฐญจรํ นิสินฺโน วา สยาโน วา ยาว ตสฺส วิคตมิทฺโธ เอตํ สตึ อธิฏฺเญยฺย พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ ฯ ทิฏฺฐิญจ อนุปคมฺม สีลวา ทสฺสเนน สมฺปนฺโน กาเมสุ วิเนยฺย เคธํ น หิ ชาตุ คพฺภเสยฺยํ ปุนเรตีติ ฯ เมตฺตสุตฺตํ นิฏฺฐตํ ฯ เพื่อความถูกต้องโปรดตรวจทานอักษรอีกครั้งหนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 6 พ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 6 พ.ค. 2550

เมตตาเกิดโดยไม่ต้องท่องก็ได้ค่ะ เมตตาจริงๆ คือ ความรู้สึกที่เป็นเพื่อนกับทุกคน ความสนิทสนม ความหวังดี ความเกื้อกูล การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถ้าเราเห็นใครแล้วไม่มีความรู้สึกเหล่านี้ ก็ไม่ใช่เมตตาค่ะ แต่อย่าลืมว่าเมตตากับโลภะใกล้กันมาก โลภะเป็นความติด ความผูกพัน แต่เมตตาเป็นกุศล ความเป็นมิตรด้วยกาย คือ การช่วยเหลือ ด้วยจาวาคือ การพูดเพราะด้วยกุศลจิต ด้วยใจคือการหวังดีไม่หวังร้าย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornchai.s
วันที่ 6 พ.ค. 2550

โลภะ-ความรัก-ความผูกพัน-ความติดข้อง-ความต้องการ-ความหวัง ... ฯลฯ เป็น

อกุศล เมตตา ต้องเป็นไปทั่วในสัตว์ทั้งหลาย วัตถุที่จะให้ ถ้าให้คนนี้ได้ แต่ให้คนอื่นไม่ได้ อย่างนี้ไม่ใช่เมตตา หรือต้องให้กับลูกของตนเท่านั้น ต้องให้กับเพื่อนของตนเท่านั้น ให้คนอื่นไม่ได้ นี่ก็ไม่ใช่เมตตา ครับ

การอบรมเจริญเมตตาเบื้องต้น ให้เทียบเคียงกับความรู้สึกที่ดี ซึ่งเรามีให้ต่อครู-อาจารย์ ไม่ใช่ความรัก ไม่ใช่ความผูกพัน ซึ่งเป็นศัตรูใกล้ของเมตตา ดังนั้น จึงเป็นความยากมาก ที่จะเข้าใจ และแยกความต่างกันของ ความรัก (โลภะ) กับความเมตตา (อโทสะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 พ.ค. 2550

อยากได้บทสวดมนต์ กรณียเมตตสูตร ค้นหาไม่เจอครับ เป็นสูตรที่พระพุทธองค์ให้ไว้แก่พระภิษุที่จำพรรษาในป่า แล้วถูกเทวดารบกวน น่าจะเป็นบทแผ่เมตตาครับ พอจะแนะนำได้ไหมครับ

อยากได้บทสวดมนต์ ก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า ที่จะสวดเมตตสูตร เพราะอะไร ธรรมต้องถูกตั้งแต่ต้น ถ้าเริ่มต้นผิด ทุกอย่างก็ผิด ถ้าเริ่มต้นด้วยความหวังความต้องการที่จะได้ผลจากการสวด เช่น ป้องกันภัย หรือให้คนรัก แต่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในเรื่องกรณียเมตตสูตร เพื่อขัดเกลากิเลส ให้มีเมตตากับบุคคลอื่นมากขึ้น ท่องสวด แต่ไม่ชอบคนนั้นคนนี้มากมาย ท่องสวดเสร็จ ไม่ได้มีเมตตาเพิ่มขึ้นกับคนรอบข้างเลย ท่องสวดเสร็จ ยังไม่ชอบขี้หน้าคนนั้นเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม ดังนั้น ขณะที่ท่อง เป็นสัญญาเจตสิก ที่ทรงจำคำ เช่นกิจอันใด ...

แต่ถ้าเราอ่านให้เข้าใจในพระไตรปิฎกโดยไม่ต้องท่อง ก็จะรู้ว่ากิจอันใดที่ควรทำ คืออบรมปัญญาเพื่อดับกิเลส ขณะที่ท่องรู้อย่างนี้หรือเปล่า ก็ได้แต่ท่อง แต่ถ้าเราศึกษาด้วยการอ่านให้เข้าใจ ก็จะรู้ว่าควรอบรมปัญญา นี่คือกิจอันใด และก็รู้ว่าหนทางเดียวคือ สติปัฏฐาน ธรรมเป็นเรื่องขัดเกลา ละตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เพื่อได้อานิสงส์ของเมตตา แต่มีเมตตากับบุคคลอื่นมากขึ้นเมื่ออ่านสูตรนี้ มิใช่ท่องครับ เช่น คำว่า สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ไม่ว่าในที่ไรๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความคุมแค้น. ถ้าเราท่อง ก็จำได้เท่านั้น แต่ต่างกับพิจารณาให้เข้าใจในคำอธิบายในพระไตรปิฎกว่าเราไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น เพราะว่าคนอื่นก็รักสุขเหมือนเรา พิจารณาดังนี้ เมตตาก็เพิ่มขึ้น ต้องท่องไหมครับ หรือคิดว่าต้องท่องเพื่อเมตตาจะได้เพิ่มขึ้น ขณะที่เห็นคนถือของหนักช่วยเขาหิ้วขณะนั้นต้องท่องว่า กรณี ... อะไรไหม หรือพิจาณาว่าควรช่วยเหลือกันครับ ดังนั้นเหตุให้เกิดเมตตาคือ การฟังธรรมให้เข้าใจในเรื่องเมตตาหรืออ่าน แล้วพิจารณาในสิ่งที่อ่าน มิใช่การท่องครับ ดังนั้นจุดประสงค์สำคัญที่สุดว่า เราท่องเพื่ออะไร รู้ว่าห้ามไม่ได้ แต่ควรพิจาณาเพราะธรรมเป็นเรื่องละเอียด และขณะใดที่เป็นไปเพื่อได้ (ขณะนั้น) มิใช่คำสอนของพระองค์ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jirasak0143
วันที่ 8 พ.ค. 2550

เรียนท่านอาจารย์ที่เครารพ อยากทราบเหมือนกันครับ จำได้ว่าท่านอาจารย์เคยบรรยายไว้ว่า มีพรหมลงมากล่าวบอกบทนี้กับพระพุทธองค์ ว่าถ้าท่องบทนี้แล้ว พวกยักษ์ เวลาคราวเข้ารับใช้พระพรหมจะเข้าหน้าไม่ได้ เพราะพระพรหมจะรู้ได้ คิดว่าเป็นเทปชุดต้นๆ ครับ แต่ไม่ทราบว่า ท่านอาจารย์ เอามาจากท่อนไหนในพระไตรปิฏก ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 8 พ.ค. 2550

คงหมายถึงสูตรนี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 123 ๙. อาฏานาฏิยสูตร

[๒๐๘] ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ เพื่อให้ยักษ์พวกที่ไม่เลื่อมใสในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลื่อมใส เพื่อคุ้มครองเพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
jirasak0143
วันที่ 12 พ.ค. 2550

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ พบตามที่ท่านอาจารย์กล่าวครับ tipitaka_16 pdf

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่มที่ ๓ ภาค ๒ - หน้า ๑๒๓ - ๑๕๗

หากเป็น พระไตรปิฎกภาษาบาลี สุตฺต ที. ปาฏิกฺวคฺโด - หน้า ๒๐๘ - ๒๒๑ อาฏานาฏิยสุตฺตํ

หากเป็นหนังสือ มนต์พิธี เล่มเหลือง (พระครูอรุณธรรมรังษี เอี่ยม สิริวณุโณ วัดอรุณราชวรารามคณะ3) อาฏานาฏิยะปะริตตัง หน้า 71-75 มีเฉพาะ ท่อน [207]

ส่วนที่เหลือ ไม่ทราบว่าท่านพระครูเอามาจากไหน ไม่เหมือนในพระไตรปิฎกภาษาบาลี และ หน้า136 อาฏานาฏิยะปะริตตัง (ย่อ) เฉพาะ 136 ไม่รู้ที่มาเลยครับ ไม่เหมือนเลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
somjeat
วันที่ 21 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนา ต่อท่านผู้ไม่ประมาททั้งหลาย สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
somjeat
วันที่ 4 พ.ค. 2552

ขอกราบขอบพระคุณผู้ปฏิบัติดีทุกท่าน และอนุโทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
suwit02
วันที่ 6 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 6 พ.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ