พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทฬิททสูตร ว่าด้วยผู้ไม่ขัดสน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36460
อ่าน  403

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 497

๔. ทฬิททสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ขัดสน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 497

๔. ทฬิททสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ขัดสน

[๙๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า.

[๙๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว กรุงราชคฤห์นี้แล ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์ยากไร้ เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 498

จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ครั้นเขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ได้อุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้น รุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ.

[๙๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์นัก ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยังไม่เคยมีมาเลย เทพบุตรผู้นี้เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์ยากไร้ เมื่อแตกกายตายแล้ว เขาอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกะเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ายกโทษต่อเทพบุตรนี้เลย ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เทพบุตรนี้แล เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อนยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ครั้นยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายลง จึงอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ.

[๙๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงพลอยยินดีกะพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลใด มีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระตถาคต มีศีลงามที่พระอริยะเจ้าพอใจสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 499

สงฆ์และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรมเถิด.

อรรถกถาทฬิททสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทฬิททสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า มนุสฺสทฬิทฺโท คือ คนขัดสน. บทว่า มนุสฺสกปโณ คือ ถึงความเป็นมนุษย์ควรกรุณา. บทว่า มนุสฺสวราโก คือเป็นคนเลว. บทว่า ตตฺร แปลว่า ในที่นั้น. หรือในความรุ่งเรืองนั้น. บทว่า อุชฺฌายนฺติ แปลว่า เพ่งโทษ ได้แก่ คิดแต่ความลามก. บทว่า ขิยฺยนฺติ คือประกาศ. บทว่า วิปาเจนฺติ คือพูดเปิดเผยในที่นั้นๆ. ในบทนี้ว่า เอโส โข มาริส มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ ได้เป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี ในแคว้นกาสี ทรงกระทำประทักษิณพระนคร ซึ่งยกธงชัยและธงแผ่นผ้าขึ้น ประดับด้วยเครื่องประดับพระนครอย่างดี ด้วยสิริสมบัติของพระองค์ อันฝูงชนจ้องมองเป็นตาเดียวกัน. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ถึงพร้อมด้วยการฝึกตนอย่างดี มาจาก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 500

เขาคันธมาทน์ เที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองนั้น. ฝ่ายมหาชน ละความยำเกรงพระราชา มองดูพระปัจเจกพุทธเจ้าอย่างเดียว. พระราชาทรงดำริว่า เดี๋ยวนี้ในหมู่ชนนี้ แม้คนหนึ่ง ก็ไม่มองดูเรา นี่เรื่องอะไรกัน เมื่อมองดู ก็เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้นั้นก็ชราอายุมาก. แม้จีวรของท่านก็คร่ำคร่า. เส้นด้ายห้อยย้อยจากที่นั้นๆ. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้บำเพ็ญบารมีมาตลอดสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. เพียงจิตเลื่อมใส หรือเพียงยกมือไหว้ก็ไม่มี. พระราชานั้น ทรงโกรธว่า ผู้นี้เห็นจะเป็นนักบวชไม่มองดูเราด้วยความริษยา ทรงดำริว่า นี่ใครห่มผ้าขี้เรื้อนแล้วทรงถ่มเขฬะเสด็จหลีกไป. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระราชาจึงไปเกิดในมหานรก ด้วยวิบากที่เหลือ มาสู่มนุษยโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงที่ยากจนข้นแค้น ในกรุงราชคฤห์. ตั้งแต่เวลาที่ถือปฏิสนธิ หญิงนั้นไม่ได้อาหารเต็มท้องเพียงน้ำข้าว. เมื่อทารกนั้นอยู่ในห้อง หูและจมูกแหว่งวิ่น. เมื่อเด็กออกจากท้องมารดา เป็นโรคเรื้อน มีผมหงอกขาวโพลน. ชื่อว่ามารดาบิดาเป็นผู้ตกระกำลำบาก. ด้วยเหตุนั้น มารดาของทารกนั้น ได้นำน้ำข้าวบ้าง น้ำบ้างให้แก่ทารกตลอดเวลาที่ไม่สามารถจะถือกระเบื้องเที่ยวไปได้ ก็เมื่อถึงคราวที่ทารกนั้น สามารถเที่ยวขอทานได้ มารดาจึงมอบกระเบื้องให้ในมือกล่าวว่า เจ้าจักรับผิดชอบตามกรรมของตนแล้วหลีกไป. ตั้งแต่นั้นมา เนื้อของทารกนั้นขาดไปจากตัวทั่วทั้งร่างกาย. น้ำเหลืองก็ไหล. ได้รับเวทนาหนัก. อาศัยตรอกนอนร้องโหยหวนตลอดคืน. ด้วยเสียงปริเทวนาน่าสงสารของเด็กนั้น พวกมนุษย์ในทุกถนนไม่ได้นอนตลอดคืน. ตั้งแต่นั้นมา เขาจึงมีชื่อว่า สุปปพุทธะ เพราะอรรถว่า ทำคนนอนสบายให้ตื่น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 501

ครั้นสมัยต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ชาวเมืองนิมนต์พระศาสดาสร้างมหามณฑป ท่ามกลางพระนคร ได้พากันถวายทาน. แม้นายสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อนก็ได้ไปนั่ง ณ ที่ใกล้โรงทาน ชาวเมืองอังคาสพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ได้ให้ข้าวยาคู และภัตรแก่สุปปพุทธะบ้าง. เมื่อสุปปพุทธะบริโภคโภชนะอันประณีตแล้ว ก็มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. ในที่สุดภัตกิจ พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว ทรงแสดงสัจธรรม. นายสุปปพุทธะนั่งในที่ที่ตนนั่งนั้น เมื่อจบเทศนาส่งญาณไปตามกระแสของเทศนา ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.พระศาสดาทรงลุกขึ้นเสด็จไปสู่พระวิหาร. แม้นายสุปปพุทธะนั้น ก็สวมรองเท้ามีเชิงถือกระเบื้อง ยันไม้เท้าไปที่อยู่ของตน ถูกแม่โคขวิดตาย ไปบังเกิดในเทวโลกในวาระจิตที่สอง ดุจทำลายหม้อดินแล้วได้หม้อทองคำอาศัยบุญของตน จึงรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น. ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะแสดงถึงเหตุนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอโส มาริส ดังนี้. บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธา อันมาแล้วโดยมรรค. บทว่า สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ ได้แก่ กัลยาณศีล ที่ท่านกล่าวว่า อริยกันตศีลของพระอริยสาวก. ในลำดับนั้น ศีลแม้ข้อหนึ่งของพระอริยสาวก ชื่อว่า ไม่น่าใคร่ ย่อมไม่มี ก็จริง ถึงดังนั้น ในความที่ท่านประสงค์เอาเบญจศีลที่ไม่ละแม้ในภพต่างๆ.

จบอรรถกถาทฬิททสูตรที่ ๔