พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. รามเณยยกสูตร ว่าด้วยภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36461
อ่าน  402

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 502

๕. รามเณยยกสูตร

ว่าด้วยภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 502

๕. รามเณยยกสูตร

ว่าด้วยภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์

[๙๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแล้วทรงถวายบังคมแล้วประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับเรียบร้อยแล้ว ได้ตรัสถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สถานที่เช่นไรหนอ เป็นภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์.

[๙๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

อารามอันวิจิตร ป่าอันวิจิตร สระโบกขรณีที่สร้างอย่างดี ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันแบ่งออก ๑๖ ครั้ง แห่งภูมิสถานอันรื่นรมย์ของมนุษย์ พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด เป็นบ้านหรือป่าก็ตาม เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถานอันน่ารินรมย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 503

อรรถกถารามเณยยกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรามเณยยกสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อารามเจตฺยา ได้แก่ เจดีย์ในสวน. บทว่า วนเจตฺยา ได้แก่ เจดีย์ที่ภูเขาและป่า. แม้ในบททั้งสองนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า เจดีย์ เพราะอรรถว่า ทำให้เกิดความเคารพ. บทว่า มนุสฺสรามเณยฺยสฺส คือความเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ของมนุษย์. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงพื้นที่อันน่ารื่นรมย์ด้วยสามารถเป็นพื้นที่อันน่ารื่นรมย์ของมนุษย์ จึงตรัสว่า คาเม วา ดังนี้เป็นต้น.

จบอรรถกถารามเณยยกสูตรที่ ๕