๑๐. ตติยสักกนมนัสสนสูตร ท้าวสักกะนมัสการพระสงฆ์
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 513
๑๐. ตติยสักกนมนัสสนสูตร
ท้าวสักกะนมัสการพระสงฆ์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 513
๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร
ท้าวสักกะนมัสการพระสงฆ์
[๙๓๘] สาวัตถีนิทาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกะมาตลีสังคหกเทพบุตรว่า ดูก่อนสหายมาตลี ท่านจงเตรียมจัดรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสท้าวสักกะจอมเทพว่า ขอเดชะ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว จัดเตรียมรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวเสร็จแล้ว กราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ รถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวสำหรับพระองค์ จัดเตรียมไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายได้ทราบว่า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันตปราสาท ทรงประณมอัญชลีน้อมนมัสการพระภิกษุสงฆ์อยู่.
[๙๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคหกเทพบุตรได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
นรชนผู้นอนทับกายอันเปื่อยเน่าเหล่านี้ พึงนอบน้อมพระองค์นั่นเที่ยว พวกเขาจมอยู่ในซากอันเต็มไปด้วยความหิวและความกระหาย ข้าแต่ท้าววาสวะ เพราะเหตุไรหนอ พระองค์จึงทรงโปรดปรานท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น ขอพระองค์ตรัสบอก
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 514
มรรยาทของฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสของพระองค์.
[๙๔๐] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
ดูก่อนมาตลี เราโปรดปรานมรรยาทของท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีความห่วงใยในบ้านที่ท่านหลีกออกไป บุคคลผู้จะเก็บข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางก็ไม่มี ผู้จะเก็บไว้ในหม้อก็ไม่มี ผู้จะเก็บไว้ในกระเช้าก็ไม่มี ท่านเหล่านั้นมีวัตรอันงาม แสวงหาอาหารที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารนั้น ท่านเหล่านั้น เป็นนักปราญ กล่าวคำสุภาษิต เป็นผู้นิ่งประพฤติสม่ำเสมอ ดูก่อนมาตลี พวกเทวดายังโกรธกับพวกอสูร และสัตว์เป็นอันมากยังมีโกรธกันและกัน เมื่อเขายังโกรธกัน ท่านเหล่านั้นไม่โกรธ ดับเสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน เมื่อชนทั้งหลายยังมีความถือมั่น ท่านเหล่านั้นไม่ถือมั่น ดูก่อนมาตลี เราน้อมนมัสการท่านเหล่านั้น.
[๙๔๑] มาตลีเทพบุตรทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่าพระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด บุคคล
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 515
เหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกเทียว ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้น.
[๙๔๒] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุขของเทวดาทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงน้อมนมัสการพระภิกษุสงฆ์แล้วเสด็จขึ้นรถ ฉะนี้แล.
จบตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐
จบวรรคที่ ๒
อรรถกถาตติยสักกนมัสสนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เพราะเหตุไร มาตลิสังคหกเทพบุตรนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้บ่อยๆ. นัยว่าท้าวสักกะเทวราชมีพระสุรเสียงไพเราะในเวลาดำรัสช่องพระทนตสนิท เปล่งพระสุรเสียงดุจเสียงกระดิ่งทอง. มาตลิสังคหกเทพบุตรพูดว่า เราจักได้ฟังพระสุรเสียงนั้นบ่อยๆ. บทว่า ปูติเทหสยา ความว่า ชื่อว่า นอนทับกายเน่าเพราะนอนทับบนร่างกายของมารดาที่เน่า หรือสรีระของตนเอง. บทว่า นิมฺมุคฺคา กุณปเสฺมเต คือคนเหล่านี้จมอยู่ในซากกล่าวคือท้องมารดาตลอด ๑๐ เดือน. บทว่า เอตํ เนสํ ปิหยามิ ได้แก่เราชอบใจมารยาทของท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น. บทว่า น เตลํ โกฏฺเ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 516
โอเปนฺติ ความว่า บุคคลจะไม่เก็บข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางคือข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไม่มี. บทว่า น กุมฺภา ได้แก่ ไม่เก็บไว้ในหม้อ. บทว่า น กโฬปิยํ ได้แก่ ไม่เก็บไว้ในกระบุง. บทว่า ปรนิฏฺิตเมสนา ได้แก่ เสาะแสวงหาของที่สุกแล้วในเรื่องนั้นๆ ที่สำเร็จเพื่อคนเหล่าอื่นด้วยภิกขาจารวัตร. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการแสวงหาอย่างนี้นั้น. บทว่า สุพฺพตา ได้แก่ สมาทานวัตรงามดีแล้ว ตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง. บทว่า สุมนฺตนฺติโน คือมีปกติกล่าวคำสุภาษิตตอย่างนี้ว่า เราจะสาธยายยธรรม จักปฏิบัติธุดงค์ จักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้. บทว่า ตุณฺหีภูตา สมญฺจรา ความว่า แม้กล่าวธรรม ก็ยังกังวานอยู่เสมอตลอดทั้ง ๓ ยามเหมือนเสียงฟ้าร้อง. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่มีคำที่ไร้ประโยชน์. บทว่า ปุถุมจฺจา จ ได้แก่ สัตว์เป็นอันมากผิดใจกันและกัน. บทว่า อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตาได้แก่ ดับเสียได้ในอาชญาที่ถือเอาแล้ว เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น คือสละอาชญาเสียแล้ว. บทว่า สาทาเนสุ อนาทานา ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความถือมั่น ไม่มีความถือมั่นเพราะไม่ถือมั่น แม้ส่วนหนึ่งของกำเนิดภพเป็นต้น.
จบอรรถกถาสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐
จบ ทุติยวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมเทวสูตร ๒. ทุติยเทวสูตร ๓. ตติยเทวสูตร ๔. ทฬิททสูตร ๕. รามเณยยกสูตร ๖. ยชมานสูตร ๗. วันทนสูตร ๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร ๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร ๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.