๔. อัจจยสูตร ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 523
๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 523
๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[๙๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน.
ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษ (รับผิดและขอโทษ) ในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ.
[๙๕๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เมื่อนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสองรูปได้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นภิกษุผู้พูดล่วงเกินแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ พระพุทธเจ้าข้า.
[๙๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้ คือ ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ. ผู้ไม่รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้ คือ ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ ผู้รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 524
[๙๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ขอความโกรธ จงอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย ขอความเสื่อมคลายในมิตรธรรมอย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย ก็ความโกรธ เปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก.
อรรถกถาอัจจยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัจจยสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺปโยเชสุํ แปลว่า ทะเลาะกัน. บทว่า อจฺจสรา ได้แก่ ล่วงเกิน. อธิบายว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวคำล่วงเกินภิกษุรูปหนึ่ง. บทว่า ยถาธมฺมํ น ปฏิคฺคณฺหาติ ได้แก่ ไม่ยกโทษ. บทว่า โกโธ โว วสมายาตุ ท่านแสดงว่า ความโกรธจงมาสู่อำนาจของพวกท่าน พวกท่านอย่าไปสู่อำนาจของความโกรธ. คำว่า หิ ในบทนี้ว่า มา จ มิตฺเต หิ โว ชรา เป็นเพียงนิบาต. ความเสื่อมในมิตรธรรม อย่าเกิดแก่พวกท่าน. อีกอย่างหนึ่ง ตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ความเสื่อมในมิตรธรรมอย่าเกิดแล้ว คือว่าความเป็นโดยประการอื่นจากความเป็นมิตรจง