ความรู้สึกเหมือนอยู่คนเดียวในโลก อ้างว้าง

 
กระดาษ
วันที่  7 พ.ค. 2550
หมายเลข  3660
อ่าน  2,772

อยากทราบว่า เวลาที่คนเรารู้สึกเหมือนอยู่คนเดียวในโลก อ้างว้าง โดดเดี่ยวเป็นลักษณะของอกุศลประเภทใดครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pirmsombat
วันที่ 7 พ.ค. 2550

โทสมูลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 พ.ค. 2550

จิตเมื่อเกิดขึ้น ย่อมมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ เจตสิกดวงหนึ่งที่เกิดกับจิตทุกดวง คือ เวทนาเจตสิก เวทนาเจตสิก คือ สภาพธัมมะที่รู้สึก เช่น สุขใจ ทุกข์ใจ เฉยๆ สุขกาย ทุกข์กาย

ขณะที่รู้สึกเหมือนอยู่คนเดียวในโลก อ้างว้าง โดดเดี่ยวเป็นลักษณะของอกุศลประเภทใดครับ

ขณะนั้น รู้สึกถึงความไม่สบายใจ ทุกข์ใจไหม ความขุ่นใจ เล็กๆ น้อยบ้างไหม

ก็มีครับ ดังนั้น จิตขณะนั้นก็เป็นโทสมูลจิต เพราะโทสมูลจิตจะประกอบด้วยโทมนัสเวทนา (ความรู้สึก ไม่สบายใจ ขุ่นใจ เป็นต้น) แต่ที่สำคัญการจะรู้ว่าจิตใดเป็นอะไร แท้จริงแล้วก็ต้องด้วยสติ (ขั้นสติปัฏฐาน) ที่ระลึกสภาพธัมมะที่เกิดในขณะนั้นครับ มิเช่นนั้น เราก็ได้แต่เดาและก็ใส่ชื่อให้เขาว่า นี่โทสมูลจิตนะ ทั้งๆ ที่สภาพธัมมะ ธัมมะนั้นดับไปนานแล้ว หนทางเดียวก็คืออบรมสติปัฏฐาน ระลึกสภาพธัมมะนั้นในปัจจุบันครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จิต89หรือ121
วันที่ 8 พ.ค. 2550

ลักษณะของโทสะ จะสังเกตได้จากเวทนา (เว-ทะ-นา) ซึ่งเป็นความรูสึกที่เกิดร่วมกับจิต ในขณะนั้นจะเป็นโทมนัสเวทนา เป็นความรู้สึกที่เราไม่ชอบ ไม่ต้องการ ไม่อยากให้เกิดกับเรา เช่น ความอ้างว้าง ความเหงา คิดมาก กังวล เบื่อหน่าย รำคาญ เสียใจ ทุกข์ใจ ผิดหวัง ไม่ชอบใจ ... ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 8 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 8 พ.ค. 2550

ความจริงเราไม่ได้อยู่คนเดียวหรอก เราอยู่กับตัณหาคือโลภะเป็นเพื่อนสอง และถ้าสติเกิดก็พิจารณาสภาพธรรมมีตลอดเวลา เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยิน ฯลฯ ระลึกลักษณะของความรู้สึกว่าเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ดับไป คนที่มีกิเลสจะรู้สึกว้าเหว่เหงา โดดเดี๋ยว แต่คนที่มีปัญญาไม่มีเวลาเหงาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ภพฺพาคมโน
วันที่ 8 มิ.ย. 2550

โทสมูลจิตค่ะ เพราะเป็นจิตที่ไม่พอใจในอารมณ์

โทสมูลจิต คือ จิตที่เกิดขึ้น โดยมีโทสะเป็นมูลเหตุ โทสะเป็นเจตสิกธรรม ที่เป็นประธานในการปรุงแต่งจิต ให้เกิดความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความกลุ้มใจ

ความเสียใจ ความอิจฉาริษยา ความตระหนี่หวงแหน (มัจฉริยะ) ความรำคาญใจ (กุกกุจจะ) ความอาฆาต พยาบาท จองเวร จนถึงขั้น ประทุษร้าย ฯลฯ
โทสมูลจิตนี้เกิดขึ้น พร้อมด้วยความไม่พอใจเสมอ เพราะเกิดจากการรับอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีและไม่น่าพอใจ เกิดขึ้นเองบ้าง ถูกผู้อื่น หรือสิ่งอื่นชักชวนให้เกิดบ้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
unknown
วันที่ 9 มิ.ย. 2550

ถ้าสติเกิดจะรู้เองครับ เพราะผมไม่ใช่พระสัพพัญญูน่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 12 มิ.ย. 2550

ท่านผู้รู้กล่าวว่า จริงๆ แล้ว คนเราเกิดมาคนเดียว อยู่คนเดียว (กับอายตนะทั้ง ๖)

และจะต้องตายไป ... คนเดียว

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เลยไป
วันที่ 12 มิ.ย. 2550

จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์เลย จะอ้างว้างได้อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 3 พ.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ