ปริหานิสูตร - ปีติสูตร - ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๐
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••
สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๐
เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.
ปริหานิสูตร
ว่าด้วยพิจารณาเห็นธรรม ๔
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 375
ปีติสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่มีแก่อริยสาวก
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 374
นำการสนทนาโดย ..
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
และคณะวิทยากร
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 375
ปริหานิสูตร
ว่าด้วยพิจารณาเห็นธรรม ๔
[๑๕๘] พระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมา ฯลฯ แสดงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็น ธรรม ๔ ประการมีอยู่ในตน ผู้นั้นพึงสันนิษฐานได้ว่าตนเสื่อมจากกุศลธรรม ทั้งหลาย เพราะการที่มีธรรม ๔ ประการอยู่ในคนนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าเป็นความเสื่อม ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความมีราคะ หนาแน่น ๑ ความมีโทสะหนาแน่น ๑ ความมีโมหะหนาแน่น ๑ ไม่มีปัญญาจักษุก้าวไปในฐานะและอฐานะอันลึก ๑ ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔ ประการนี้มีอยู่ในตน พึงสันนิษฐานได้ว่าตนเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการที่มีธรรม ๔ ประการ นี้อยู่ในตนนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นความเสื่อม อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พิจารณา เห็นธรรม ๔ ประการนี้มีอยู่ในตน พึงสันนิษฐานได้ว่าคนไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการที่มีธรรม ๔ ประการนั้นอยู่ในตนนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความ มีราคะเบาบาง ๑ ความมีโทสะเบาบาง ๑ ความมีโมหะเบาบาง ๑ มีปัญญาจักษุก้าวไปในฐานะและอฐานะอันลึก ๑ ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ ก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔ ประการที่มีอยู่ในตน พึงสันนิษฐานได้ว่าตนไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการที่มีธรรม ๔ ประการ นี้อยู่ในตนนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม.
จบปริหานิสูตรที่ ๘
อรรถกถาปริหานิสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปริหานิสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คมฺภีเรสุ ได้แก่ ลึกโดยอรรถ.
บทว่า านาาเนสุ ได้แก่ ในเหตุและมิใช่เหตุ.
บทว่า น กมติ ได้แก่ ไม่นำไปคือไม่เป็นไป. ในบทว่า ปญฺาจกฺขุ นี้ แม้ปัญญาเกิดจากการเรียน การสอบถามก็ควร แม้ปัญญาเกิดจากการพิจารณา การแทงตลอดก็ควร.
จบอรรถกถาปริหานิสูตรที่ ๘
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 374
ปีติสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่มีแก่อริยสาวก
[๑๗๖] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แวดล้อมด้วยอุบาสก ประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน คฤหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ว่า เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึง เข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาลอันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลาย พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านทั้งหลาย ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึงเข้าถึงปีติ ที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาลอันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก อย่างนี้แล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่ วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น คือ สมัยนั้น ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑ สุข โสมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑ ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑ สุข โสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑ ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยกุศล ๑ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น.
พ. ดีละๆ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวก อยู่ ... ดูก่อนสารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น.
จบปีติสูตรที่ ๖
อรรถกถาปีติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปีติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กินฺติ มย ได้แก่ เราพึงเข้าถึง (ปวิเวกปีติ) ด้วยอุบายไร.
บทว่า ปวิเวกปีตึ ได้แก่ ปีติที่อาศัยปฐมฌานและทุติยฌานเกิดขึ้น.
บทว่า กามูปสญฺหิติ ได้แก่ ทุกข์อาศัยกาม คือ อาศัยกามสองอย่าง ปรารภกาม สองอย่างเกิดขึ้น.
บทว่า อกุสลูปสญฺหิต ความว่า เมื่อคิดว่าเราจักยิงเนื้อ สุกรเป็นต้น ดังนี้ ยิงลูกศรพลาดไป ทุกขโทมนัสอาศัยอกุศลอย่างนี้ว่า เรา ยิงพลาดไปเสียแล้ว ดังนี้ เกิดขึ้น ชื่อว่าประกอบด้วยอกุศล เมื่อยิงไม่พลาด ไปในฐานะเช่นนั้น สุขโสมนัสเกิดขึ้นว่า เรายิงดีแล้ว เราประหารดีแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า ประกอบด้วยอกุศล แต่ทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอุปกรณ์มี ทานเป็นต้น ยังไม่พร้อม พึงทราบว่า ประกอบด้วยกุศล.
จบอรรถกถาปีติสูตรที่ ๖