พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. เทวทหสูตร ว่าด้วยการกําจัดฉันทราคะในขันธ์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36758
อ่าน  549

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 18

๒. เทวทหสูตร

ว่าด้วยการกําจัดฉันทราคะในขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 18

๒. เทวทหสูตร

ว่าด้วยการกำจัดฉันทราคะในขันธ์ ๕

[๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมเทวทหะของศากยะทั้งหลายในสักกชนบท. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เพื่ออยู่อาศัยในปัจฉาภูมชนบท. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายลาสารีบุตรแล้วหรือ. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมิได้ลาท่านพระสารีบุตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปลาสารีบุตรเถิด สารีบุตรเป็นบัณฑิตอนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 19

[๗] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มุงด้วยตะไคร่น้ำ ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร กล่าวคำปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะไปปัจฉาภูมชนบท เพื่ออยู่อาศัยในปัจฉาภูมชนบท ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านทั้งหลายกราบทูลลาพระศาสดาแล้วหรือ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชประเทศต่างๆ มีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็พวกมนุษย์ที่เป็นบัณฑิตทดลองถามว่า พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร ธรรมทั้งหลายพวกท่านฟังดีแล้ว เรียนดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาบ้างหรือ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พยากรณ์อย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนได้.

ภิ. ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทั้งหลายมาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 20

[๘] ส. ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีเป็นบัณฑิตบ้าง สมณะเป็นบัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชประเทศต่างๆ มีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลายมีวาทะว่าอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลายตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งอะไร ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลายทรงเห็นโทษอะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 21

ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ยังไม่ปราศจากไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมเกิดขึ้นเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงเห็นโทษนี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระคาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลายทรงเห็นอานิสงส์อะไร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณปราศจากไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงเห็นอานิสงส์นี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ.

[๙] ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ จักได้มีการอยู่สบาย ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้วก็พึงหวังสุคติไซร้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 22

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมมีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบัน และเมื่อตายไปแล้วก็พึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลาย.

[๑๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ จักได้มีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก ความคับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้วก็พึงหวังได้ทุคติไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ มีการอยู่สบาย ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้วก็พึงหวังได้สุคติ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.

จบ เทวทหสูตรที่ ๒

อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๒

ในเทวทหสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เจ้าทั้งหลายท่านเรียกว่าเทวะ สระอันเป็นมงคลของเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า เทวทหะ อีกนัยหนึ่งสระนั้นเกิดเอง เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงเรียกว่า เทวทหะ นิคมมีอยู่ในที่ไม่ไกลสระเทวทหะนั้น จึงว่า เทวทหะนั้นแหละโดยเป็นนปุงสกลิงค์ บทว่า ปจฺฉาภูมคามิกา ได้แก่ ผู้ใคร่จะไปยังปัจฉาภูมชนบทที่ตั้งอยู่ใน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 23

ทิศอื่นอีก บทว่า นิวาสํ ได้แก่ อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน บทว่า อปโลกิโต แปลว่า บอกลา บทว่า อปโลเกถ แปลว่า ขอท่านจงบอกลา ถามว่า เพราะเหตุไรจึงให้พระเถระบอกลา? ตอบว่า เพราะมีพุทธประสงค์จะทำให้ท่านเหล่านั้นมีภาระหน้าที่ จริงอยู่ ผู้ใดแม้เมื่ออยู่ในวิหารเดียวกันก็ไม่ไปสู่สำนัก เมื่อจะหลีกไปก็หลีกไปโดยไม่บอกลา ผู้นี้ชื่อว่า นิพฺภาโร ไม่มีภาระ ผู้ใดแม้อยู่ในวิหารเดียวกันก็มาพบกันได้ เมื่อจะหลีกจำต้องบอกลา ผู้นี้ชื่อว่ามีภาระ ภิกษุแม้เหล่านี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้จักเจริญด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ จึงมีพระพุทธประสงค์จะทรงนำภิกษุเหล่านั้น ให้มีภาระหน้าที่ จึงรับสั่งให้บอกลา. บทว่า ปณฺฑิโต ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต ๔ อย่าง มีความเป็นผู้ฉลาดในธาตุเป็นต้น. บทว่า อนุคฺคาหโก ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ด้วยการอนุเคราะห์ ๒ อย่าง คือ อนุเคราะห์ด้วยอามิสและอนุเคราะห์ด้วยธรรม

ได้ยินว่า พระเถระไม่ไปบิณฑบาตแต่เช้าตรู่เหมือนภิกษุเหล่าอื่น เมื่อภิกษุทั้งปวงไปแล้ว ก็เดินตรวจไปตามลำดับทั่วสังฆาราม กวาดที่ที่ไม่ได้กวาด ทิ้งหยากเยื่อที่ยังไม่ได้ทิ้ง เก็บงำเตียงตั่ง เครื่องไม้และเครื่องดิน ที่เก็บไว้ไม่ดีในสังฆาราม ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะประสงค์ว่าอัญญเดียรถีย์ผู้เข้าไปวิหารเห็นเข้า อย่ากระทำความดูหมิ่น แต่นั้นได้ไปยังศาลาภิกษุไข้ ปลอบใจภิกษุไข้ ถามว่าต้องการอะไร จึงหาภิกษุหนุ่มและสามเณรของภิกษุเหล่านั้นไปเพื่อประโยชน์ตามที่ประสงค์ แล้วแสวงหาเภสัชด้วยภิกขาจารวัตรหรือในที่ที่คนชอบพอกัน ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงส่งภิกษุเหล่านั้นไปด้วยกล่าวว่า ขึ้นชื่อการบำรุงภิกษุไข้ พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 24

สรรเสริญแล้ว ไปเถิด ท่านสัปปุรุษ พวกท่านอย่าเป็นผู้ประมาท แล้วตนเองก็เที่ยวไปบิณฑบาตหรือกระทำภัตกิจในตระกูลอุปัฏฐาก แล้วไปสู่วิหาร ข้อนี้เป็นเพราะพระเถระนั้นเคยประพฤติมาในสถานที่อยู่ประจำก่อน

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไป พระเถระคิดว่า เราเป็นพระอัครสาวกจึงไม่เดินสรวมรองเท้ากั้นร่มไปข้างหน้า. ก็ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้แก่ เป็นผู้ไข้ หรือยังหนุ่มนัก พระเถระก็ให้เอาน้ำมันทาที่เจ็บของภิกษุเหล่านั้น แล้วให้ภิกษุหนุ่มและสามเณรของตนถือบาตรและจีวร วันนั้นหรือวันรุ่งขึ้นก็พาภิกษุเหล่านั้นไป วันหนึ่งพระศาสดาทรงเห็นท่านผู้นี้แลไม่ได้เสนาสนะนั่งอยู่ในกลดเพราะมาถึงเวลาวิกาลเกินไป วันรุ่งขึ้นจึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์แสดงเรื่องช้าง ลิง และนกกระทา แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ท่านพึงให้เสนาสนะตามลำดับผู้แก่. อันดับแรกพระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยอามิสด้วยประการฉะนี้ ก็แลพระองค์เมื่อจะทรงโอวาทร้อยครั้งบ้างพันครั้งบ้าง จนกระทั่งบุคคลนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ลำดับนั้นจึงทรงผละบุคคลนั้นแล้วโอวาทบุคคลอื่น โดยนัยนี้คนทั้งหลายตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ผู้ทรงโอวาทอยู่ ก็บรรลุพระอรหัตนับไม่ถ้วน พระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยธรรมด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปจฺจสฺโสสุํ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นคิดว่าผู้นี้ไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ ไม่ได้เป็นอาจารย์ ไม่ได้เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมา ดังนั้นเราจักทำในสำนักของท่านดังนี้แล้ว มิได้นิ่งเฉยเสีย จึงรับพระดำรัสพระศาสดาว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

บทว่า เอลคลาคุมฺเพ ได้แก่ ที่โรงที่มุงบังด้วยตะไคร่น้ำ ได้ยินว่าพุ่มตะไคร่น้ำนั้นเกิดในที่มีน้ำขังนานๆ ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นทำโรง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 25

๔ เสาในที่นั้น แล้วยกพุ่มตะไคร่น้ำนั้นขึ้นไว้บนโรงนั้น ตะไคร่น้ำนั้นปิดกั้นโรงนั้น ที่นั้นภิกษุเหล่านั้นจึงก่ออิฐไว้ภายใต้โรงนั้น เกลี่ยทรายปูลาดอาสนะไว้ ลมอ่อนๆ พัดต้องที่พักกลางวันอันร่มเย็น พระเถระนั่งในที่นั้น ซึ่งท่านมุ่งหมายกล่าวไว้ว่า ที่พุ่มตะไคร่น้ำ. บทว่า นานาเวรชฺชคตํ ความว่า ได้แก่ ประเทศต่างๆ นอกจากประเทศพระราชาพระองค์หนึ่ง. บทว่า วิรชฺชํ ได้แก่ ประเทศอื่น เหมือนอย่างว่าถิ่นอื่นนอกจากถิ่นของตนออกไป ชื่อว่า วิเทส (ต่างถิ่น) ฉันใด ประเทศอื่นนอกจากประเทศที่เคยอยู่อาศัยชื่อวิรัชชะ (ต่างประเทศ) ฉันนั้น. ต่างประเทศนั้นท่านเรียกว่า เวรัชชะ. บทว่า ขตฺติยปณฺฑิตา ได้แก่ พระราชาผู้เป็นบัณฑิต มีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น.

บทว่า พฺราหฺมณปณฺฑิตา ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีจังกีพราหมณ์และตารุกขพราหมณ์เป็นต้น. บทว่า คหปติปณฺฑิตา ได้แก่ คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิต มีจิตตคฤหบดีและสุทัตตคฤหบดีเป็นต้น. บทว่า สมณปณฺฑิตา ได้แก่ นักบวช ผู้เป็นบัณฑิต มีสัพพิยปริพาชกและปิโลติกปริพาชกเป็นต้น. บทว่า วีมํสกา ได้แก่ ผู้แสวงหาประโยชน์. บทว่า กึวาที ได้แก่ ท่านกล่าวความเห็นของตนว่าอย่างไร อธิบายว่า ผู้มีลัทธิว่าอย่างไร.

บทว่า กิมกฺขายี ได้แก่ บอกโอวาทและอนุสาสน์แก่สาวกทั้งหลายว่าอย่างไร. บทว่า ธมฺมสฺส จานุธมฺมํ ได้แก่ พยากรณ์ตามพยากรณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว. บทว่า สหธมฺมิโก ได้แก่ ผู้เป็นไปกับด้วยเหตุ. บทว่า วาทานุวาโท ได้แก่ กล่าวตามวาทะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส. บาลี วาทานุวาโต ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ตกไปตาม คล้อยตาม เป็นไปตาม. แม้ด้วยบทนี้เป็นอันท่านแสดงเฉพาะวาทะที่คล้อยตามวาทะนั่นเอง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 26

ในบทว่า อวีตราคสฺส พึงทราบอรรถโดยตัณหานั่นเอง เพราะฉะนั้นตัณหาแลท่านเรียกว่าราคะเพราะกำหนัด ว่าฉันทะเพราะพอใจ ว่าเปมะเพราะอรรถว่าประพฤติรักใคร่ ว่าปิปาสาระหายเพราะอรรถว่าประสงค์จะดื่ม ว่าปริฬาหะรุ่มร้อนเพราะอรรถว่าตามเผา. ถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงเริ่มคำเป็นต้นว่า อกุสเล จาวุโสธมฺเม แก้ว่า เพื่อแสดงโทษของผู้ไม่ปราศจากราคะและอานิสงส์ของผู้ปราศจากราคะในขันธ์ ๕. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิฆาโต ได้แก่ ผู้หมดทุกข์แล้ว. บทว่า อนุปายาโส ได้แก่ ผู้หมดความเดือดร้อน. บทว่า อปริฬาโห ได้แก่ ผู้ไม่มีความรุ่มร้อน พึงทราบความทุกบทดังว่ามานี้.

จบ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๒