พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36763
อ่าน  412

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 41

๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 41

๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง

[๓๑] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะความถือมั่นและความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะความถือมั่นย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มีได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 42

ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูปของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปของเขาแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงมีความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูปย่อมครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครองงำ ปุถุชนนั้นย่อมมีความหวาดเสียว มีความลำบากใจ มีความห่วงใยและสะดุ้งอยู่เพราะความถือมั่น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เวทนาของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ สัญญาของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ สังขารของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงมีความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณย่อมครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครองงำ ปุถุชนนั้นย่อมมีความหวาดเสียว มีความลำบากใจ มีความห่วงใยและสะดุ้งอยู่เพราะความถือมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 43

[๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่นย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑ รูปของอริยสาวกนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มีความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ความสะดุ้งและความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูปย่อมไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ เวทนาของอริยสาวกนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ... ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑ สัญญาของอริยสาวกนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ... ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ สังขารของอริยสาวกนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ... ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณของอริยสาวกนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 44

แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มีความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ย่อมไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำอริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่นย่อมมีอย่างนี้แล.

จบ อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗

อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗

ในอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า อุปาทานปริตสฺสนํ ได้แก่ ความสะดุ้งที่เกิดขึ้นเพราะความยึดถือ. บทว่า อนุปาทานอปริตสฺสนํ ได้แก่ ความไม่สะดุ้งที่เกิดขึ้นเพราะความไม่ยืดถือ. บทว่า รูปวิปริณามานุวตฺติ ความว่า กรรมวิญญาณย่อมเป็นธรรมชาติหมุนเวียนไปตามความแตกแห่งรูปโดยนัยเป็นต้นว่า รูปของเราแปรไปแล้วดังนี้ หรือว่ารูปนี้ได้เคยมีแก่เราแล้ว มาบัดนี้รูปนี้ไม่มีแก่เราหนอดังนี้. บทว่า วิปริณามานุปริวตฺติชา ได้แก่ อันเกิดแต่จิตที่มีความแปรปรวนเป็นอารมณ์โดยหมุนเวียนไปตามรูปที่แปรปรวนไป. บทว่า ปริตสฺสนาธมฺมสมุปฺปาทา ได้แก่ ความสะดุ้งเพราะตัณหาและความเกิดขึ้นพร้อมแห่งอกุศลธรรม. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ กุศลจิต. บทว่า ปริยาทาย ติฏฺนฺติ ได้แก่ ครอบงำตั้งอยู่. บทว่า อุตฺตาสวา ได้แก่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 45

มีความสะดุ้ง. บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ มีความคับแค้นคือมีความทุกข์. บทว่า อเปกฺขวา ได้แก่ มีความอาลัย. บทว่า อุปาทาย จ ปริตสฺสติ ได้แก่ เป็นผู้ชื่อว่าสะดุ้งเพราะยึดถือ. บทว่า น รูปวิปริณามานุปริวตฺติ ได้แก่ กรรมวิญญาณนั่นแหละไม่มีแก่พระขีณาสพ เพราะฉะนั้น การพูดว่าความหมุนเวียนไปตามความแตกแห่งรูปย่อมไม่มี ดังนี้จึงถูกต้อง.

จบ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗