พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อานันทสูตร ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36777
อ่าน  587

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 56

๑๐. อานันทสูตร

ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 56

๑๐. อานันทสูตร

ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์ ๕

[๔๘] กรุงสาวัตถี. ในอาราม ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความดับเรียกว่านิโรธ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหนแลเรียกว่านิโรธ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ รูปแลเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้นเรียกว่านิโรธ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 57

เป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้นเรียกว่านิโรธ ดูก่อนอานนท์ ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แลเรียกว่านิโรธ

จบ อานันทสูตร

จบ อนิจจวรรคที่ ๒

อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑๐

พระสูตรสุดท้ายในอนิจจวรรคเป็นไปด้วยอำนาจคำถาม บทที่เหลือพระองค์ทรงแสดงด้วยอำนาจแห่งผู้มีปัญญาตรัสรู้โดยประการนั้นๆ.

จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาอนิจวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตรที่ ๑ ๒. ทุกขสูตรที่ ๑ ๓. อนัตตสูตรที่ ๑ ๔. อนิจจสูตรที่ ๒ ๕. ทุกขสูตรที่ ๒ ๖. อนัตตสูตรที่ ๒ ๗. อนิจจเหตุสูตร ๘. ทุกขเหตุสูตร ๙. อนัตตเหตุสูตร ๑๐. อานันทสูตร