พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปริชานสูตร ว่าด้วยผู้ไม่ควรและผู้ควรสิ้นทุกข์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36780
อ่าน  365

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 62

๓. ปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ควรและผู้ควรสิ้นทุกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 62

๓. ปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ควรและผู้ควรสิ้นทุกข์

[๕๖] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละซึ่งรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อสิ้นทุกข์.

[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ เมื่อหน่าย เมื่อละได้ซึ่งรูป จึงเป็นผู้ควรเพื่อสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ เมื่อหน่าย เมื่อละได้ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ จึงเป็นผู้ควรเพื่อสิ้นทุกข์.

จบ ปริชานสูตรที่ ๓

อรรถกถาปริชานสูตรที่ ๓

ในปริชานสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า อภิชานํ ได้แก่ รู้ยิ่ง ด้วยบทนี้ท่านกล่าวหมายเอาญาตปริญญา ด้วยบทที่ ๒ ท่านกล่าวหมายเอาติรณปริญญา ด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 63

บทที่ ๓ และที่ ๔ ท่านกล่าวหมายเอาปหานปริญญา รวมความว่า ในสูตรนี้ ท่านกล่าวปริญญา ๓ อย่างแล.

จบ อรรถกถาอภิชานสูตรที่ ๓