พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อัสสาทสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์เกี่ยวกับขันธ์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36782
อ่าน  430

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 63

๕. อัสสาทสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์เกี่ยวกับขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 63

๕. อัสสาทสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์เกี่ยวกับขันธ์ ๕

[๕๙] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นคุณของรูป อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่อง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 64

สลัดออก อะไรเป็นคุณของเวทนา ... อะไรเป็นคุณของสัญญา ... อะไรเป็นคุณของสังขาร ... อะไรเป็นคุณของวิญญาณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า สุขโสมนัสอันใดอาศัยรูปเกิดขึ้น นี่เป็นคุณของรูป รูปใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป สุขโสมนัสอันใดอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใดอาศัยสัญญาเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใดอาศัยสังขารเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใดอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.

[๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น เมื่อใด เรารู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 65

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

จบ อัสสาทสูตรที่ ๕

อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ ๔ - ๙

สูตรที่ ๔ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในธาตุสังยุตนั่นแล. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวสัจจะ ๔ ไว้ในสูตรที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๗ ในธาตุสังยุตนั้นตามลำดับ. ในสูตรที่ ๙ ท่านกล่าววัฏฏะและนิพพานไว้.

จบ อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ ๔ - ๙