พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อัสสาทสูตรที่ ๒ ว่าด้วยสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36783
อ่าน  404

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 65

๖. อัสสาทสูตรที่ ๒

ว่าด้วยสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 65

๖. อัสสาทสูตรที่ ๒

ว่าด้วยสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ

[๖๑] กรุงสาวัตถีฯ ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งรูป เราได้พบคุณแห่งรูปแล้ว เราได้เห็นคุณแห่งรูปเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว เราได้เที่ยวค้นหาโทษแห่งรูป เราได้พบโทษแห่งรูปแล้ว เราได้เห็นโทษแห่งรูปเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว เราได้เที่ยวค้นหาเครื่องสลัดออกแห่งรูป เราได้พบเครื่องสลัดออกแห่งรูปแล้ว เราได้เห็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งเวทนา ฯลฯ เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งสัญญา ฯลฯ เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งสังขาร ฯลฯ เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งวิญญาณ เราได้พบคุณแห่งวิญญาณแล้ว เราได้เห็นคุณแห่งวิญญาณ เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว เราได้เที่ยวค้นหาโทษแห่งวิญญาณ เราได้พบโทษแห่งวิญญาณแล้ว เราได้เห็นโทษแห่งวิญญาณเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว เราได้เที่ยวค้นหาเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ เราได้พบเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณแล้ว เราได้เห็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ตามความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 66

เป็นจริง เพียงใด (๑) เราก็ยังไม่ปฏิญาณ ฯลฯ เพียงนั้น ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบ อัสสาทสูตรที่ ๖

อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ ๔ - ๙

สูตรที่ ๔ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในธาตุสังยุต นั่นแล. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวสัจจะ ๔ ไว้ในสูตรที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๗ ในธาตุสังยุตนั้นตามลำดับ. ในสูตรที่ ๙ ท่านกล่าววัฏฏะและนิพพานไว้.

จบ อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ ๔ - ๙


(๑) ตรงนี้ บาลีไม่มีคำว่า "เอวํ" เหมือนข้อ ๖๐