พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อานันทสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36794
อ่าน  439

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 78

๕. อานันทสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 78

๕. อานันทสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕

[๗๙] กรุงสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่าไหนที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ดังนี้ไซร้ เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯลฯ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปแลย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งรูปย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูปที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ความบังเกิดขึ้นแห่ง เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งวิญญาณย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งวิญญาณที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 79

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์อย่างนี้แล.

[๘๐] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปแลย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งรูปแลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูปที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ความบังเกิดขึ้นแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งวิญญาณย่อม ปรากฏ ความเป็นไปอย่างอื่นแห่งวิญญาณที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ดูก่อนอานนท์ ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่านี้ที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ ดูก่อนอานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้.

จบ อานันทสูตรที่ ๑

อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑

ในอานันทสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ิตสฺส อญฺถตฺตํ ปญฺายติ ความว่า เมื่อรูปยังดำรงอยู่ คือเป็นอยู่ ชราย่อมปรากฏ. ก็คำว่า ิติ เป็นชื่อของการหล่อเลี้ยง กล่าวคือ ชีวิตินทรีย์. คำว่า อญฺถตฺตํ เป็นชื่อของชรา. ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

อุปฺปาโท ชาติ อกฺขาโต ภงฺโค วุตฺโต วโยติ จ อญฺถตฺตํ ชรา วุตฺตา ิติ จ อนุปาลนา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 80

ความเกิดขึ้น เรียกว่าชาติ

ความดับ เรียกว่าวยะ

ความแปรปรวน เรียกว่าชรา

ความหล่อเลี้ยง เรียกว่าฐิติ

ขันธ์แต่ละขันธ์มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ อุปปาทะ ชรา และ ภังคะ ด้วยประการฉะนี้ ที่พระองค์หมายถึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตะเหล่านี้มี ๓ อย่าง ดังนี้. ในคำนั้นที่ชื่อว่าสังขตะ ได้แก่ สังขารชนิดใดชนิดหนึ่งที่เกิดแต่ปัจจัย. แต่สังขารไม่ชื่อว่าลักษณะและไม่ชื่อว่าสังขาร ด้วยว่า เว้นลักษณะเสีย ใครๆ ไม่อาจจะบัญญัติสังขารได้ ทั้งเว้นลักษณะเสีย ก็ชื่อว่าสังขารไม่ได้. แต่สังขารก็ย่อมปรากฏด้วยลักษณะ.

เหมือนอย่างว่า แม่โคนั่นแหละไม่จัดเป็นลักษณะ. ลักษณะนั่นแหละเป็นแม่โค. แม้ละลักษณะเสีย ก็ไม่อาจบัญญัติแม่โคได้ แม้ละแม่โคเสีย ก็ไม่อาจบัญญัติลักษณะได้ แต่แม่โคย่อมปรากฏด้วยลักษณะฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็พึงทราบฉันนั้น.

บรรดาขณะทั้ง ๓ นั้น ในอุปาทขณะแห่งสังขารทั้งหลาย สังขารก็ดี อุปาทลักษณะก็ดี ขณะแห่งสังขารนั้นกล่าวคือกาละก็ดี ย่อมปรากฏ. เมื่อกล่าวว่าอุปฺปาเทติย่อมเกิดขึ้น สังขารก็ดี ชราลักษณะก็ดี ขณะแห่งสังขารนั้นกล่าวคือกาละก็ดี ย่อมปรากฏ. ในภังคขณะ สังขารก็ดี สังขารลักษณะก็ดี ขณะแห่งสังขารนั้นกล่าวคือกาละก็ดี ย่อมปรากฏ. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าชราขณะแห่งอรูปธรรมทั้งหลาย ใครๆ ไม่อาจบัญญัติได้ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อตรัสว่า ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งเวทนา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 81

ย่อมปรากฏ เมื่อเวทนาตั้งอยู่ ความแปรปรวนย่อมปรากฏ ทรงบัญญัติลักษณะ ๓ แม้แห่งอรูปธรรม ย่อมได้ลักษณะ ๓ เหล่านั้น เพราะอาศัยขณะปัจจุบัน ครั้นกล่าวดังนี้แล้วสำเร็จความนั้นตามอาจริยคาถานี้ว่า

อตฺถิตา สพฺพธมฺมานํ ิติ นาม ปวุจฺจติ ตสฺเสว เภโท มรณํ สพฺพทา สพฺพปาณินํ

ความที่ธรรมทั้งปวงเป็นปัจจุบัน ท่านเรียกว่าฐีติขณะ ความแตกดับแห่งรูปนั้นแลของสรรพสัตว์ในกาลทุกเมื่อ เรียกว่ามรณะ ดังนี้

อนึ่ง ท่านยังกล่าวว่า พึงทราบว่าปาณะปราณด้วยอำนาจสันตติ. ก็เพราะเหตุที่ในพระสูตรไม่มีความแปลกกัน ฉะนั้น ตามมติของอาจารย์ก็ไม่พึงเพิกถอนพระสูตร พึงกระทำพระสูตรเท่านั้นเป็นสำคัญ.

จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑