พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อนุธรรมสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความหน่ายในขันธ์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36796
อ่าน  533

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 84

๗. อนุธรรมสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความหน่ายในขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 84

๗. อนุธรรมสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความหน่ายในขันธ์ ๕

[๘๓] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในรูปอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในเวทนาอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในสัญญาอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในสังขารอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในวิญญาณอยู่ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.

จบ อนุธรรมสูตรที่ ๑

อรรถกถาอนุธรรมสูตรที่ ๑

ในอนุธรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนสฺส ความว่า ผู้ปฏิบัติปุพพภาคปฏิปทาอันเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตตรธรรม ๙. บทว่า อยมนุธมฺโม ความว่า ธรรมนี้เป็นอนุโลมธรรม. บทว่า นิพฺพิทาพหุโล ได้แก่เป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 85

ผู้ไม่มากไปด้วยความกระสัน. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ กำหนดรู้ด้วย ปริญญา ๓. บทว่า ปริมุจฺจติ ได้แก่ หลุดพ้นด้วยปหานปริญญาที่เกิดขึ้นในมรรคขณะ.

ในพระสูตรนี้เป็นอันตรัสเฉพาะมรรคเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. ในปริญญา ๓ นอกจากนี้ก็เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ ท่านไม่กำหนดเอาอนุปัสสนา กำหนดเอาในปริญญา ๓ เหล่านั้น เพราะฉะนั้น แม้ในที่นี้ อนุปัสสนานั้น พึงกำหนดตามที่ท่านกำหนดไว้แล้วในปริญญา ๓ นั่นแล. จริงอยู่ ในปริญญา ๓ เหล่านั้น เว้นอนุปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่งเสีย ใครๆ ไม่อาจจะเบื่อหน่ายหรือกำหนดรู้ได้.

จบ อรรถกถาอนุธรรมสูตรที่ ๑