พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อนุธรรมสูตรที่ ๔ ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอนัตตาในขันธ์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36799
อ่าน  396

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 86

๑๐. อนุธรรมสูตรที่ ๔

ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอนัตตาในขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 86

๑๐. อนุธรรมสูตรที่ ๔

ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอนัตตาในขันธ์ ๕

[๘๖] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 87

หลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.

จบ อนุธรรมสูตรที่ ๔

จบ นตุมหากวรรคที่ ๔

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑ - ๗

จบ อรรถกถานตุมหากวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ (๑)

๑. นตุมหากสูตรที่ ๑

๒. นตุมหากสูตรที่ ๒

๓. ภิกขุสูตรที่ ๑

๔. ภิกขุสูตรที่ ๒

๕. อานันทสูตรที่ ๑

๖. อานันทสูตรที่ ๒

๗. อนุธรรมสูตรที่ ๑

๘. อนุธรรมสูตรที่ ๒

๙. อนุธรรมสูตรที่ ๓

๑๐. อนุธรรมสูตรที่ ๔


(๑) สูตรที่ ๘ - ๑๐ ไม่มีอรรถกถา