๒. ปฏิปทาสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อความเกิดและความดับสักกายทิฏฐิ
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 91
๒. ปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อความเกิดและความดับสักกายทิฏฐิ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 91
๒. ปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อความเกิดและความดับสักกายทิฏฐิ
[๘๙] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายสมุทัย (ความเกิดขึ้นแห่งกายตน) และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายนิโรธ (ความดับแห่งกายตน) เธอทั้งหลายจงฟังปฏิปทาทั้ง ๒ นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายสมุทัยเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมแห่งพระอริยะ มิได้รับการแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 92
นี้เรียกว่าปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายสมุทัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่กล่าวแล้วนี้ เรียกว่าการตามเห็นอันจะยังสัตว์ให้ถึงทุกขสมุทัย (ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์) นี้แลเป็นใจความข้อนี้.
[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายนิโรธเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในศาสนานี้ ผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่ตามเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่ตามเห็นรูปในตน ๑ ย่อมไม่ตามเห็นตนในรูป ๑ ไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ไม่ตามเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ไม่ตามเห็นวิญญาณในตน ๑ ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายนิโรธ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่กล่าวแล้วนี้เรียกว่าการพิจารณาเห็นอันจะยังสัตว์ให้ถึงทุกขนิโรธ นี้แลเป็นใจความในข้อนี้.
จบ ปฏิปทาสูตรที่ ๒
อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๒
ในปฏิปทาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในบทว่า ทุกฺขสมุทยคามินี สมนุปสฺสนา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า เพราะชื่อว่าปฏิปทาเครื่องให้ถึงเหตุเกิดขึ้นแห่งสักกายะอันเป็นตัวทุกข์
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 93
ที่ท่านตรัสว่า ทิฏฐิสมนุปัสสนาอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นตน ฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุกขสมุทยคามินี สมนุปัสสนา. มรรคญาณ ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา ตรัสว่า สมนุปัสสนา ในคำนี้ว่า ทุกฺขนิโรธคามินี สมนุปสฺสนา ดังนี้. ในสูตรนี้ท่านกล่าววัฏฏะและพระนิพพานไว้ด้วยประการฉะนี้
จบ อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๒