พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อุปายสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36810
อ่าน  429

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 109

มัชฌิมปัณณาสก์

อุปายวรรคที่ ๑

๑. อุปายสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 109

มัชฌิมปัณณาสก์

อุปายวรรคที่ ๑

๑. อุปายสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น

[๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึงด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นความไม่หลุดพ้น ความไม่เข้าถึงเป็นความหลุดพ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯลฯ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 110

เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ อุปายสูตรที่ ๑

อรรถกถาอุปายสูตรที่ ๑

ในอุปายสูตรที่ ๑ แห่งอุปายวรรคมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปาโย ได้แก่ เข้าถึงขันธ์ ๕ ด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ บทว่า วิญฺาณํ ได้แก่ กรรมวิญญาณ (วิญญาณที่เกิดแต่กรรม). บทว่า อาปชฺเชยฺย ได้แก่ พึงให้กรรมย่อยยับไปแล้วถึงความเจริญเป็นต้นโดยความเป็นธรรมชาติสามารถรั้งปฏิสนธิมาได้. เหตุในการไม่ถือเอาบทว่า วิญฺาณูปายํ ท่านได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล. บทว่า โวจฺฉิชฺชตารมฺมฌํ ความว่า อารมณ์ย่อมขาดลงเพราะความไม่สามารถรั้งปฏิสนธิมา. บทว่า ปติฏฺา วิญฺาณสฺส ความว่า กรรมวิญญาณย่อมไม่มีที่ตั้งอาศัย. บทว่า ตทปฺปติฏฺิตํ ตัดบทเป็น ตํ อปฺปติฏฺิตํ. บทว่า อนภิสํขจฺจ วิมุตฺตํ ความว่า ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป.

จบ อรรถกถาอุปายสูตรที่ ๑