พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อุทานสูตร ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36812
อ่าน  505

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 113

๓. อุทานสูตร

ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 113

๓. อุทานสูตร

ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ

[๑๐๘] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.

[๑๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุทานอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 114

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่าเป็นทุกข์ ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.

[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแลผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรม ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำดีในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ เธอย่อมทราบชัด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 115

ไม่เที่ยง ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่าเป็นทุกข์ ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา ย่อมทราบชัด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้แลว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขาร จักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

[๑๑๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ ย่อมถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล ฯลฯ ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 116

พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ภิกษุนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไปจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อมจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.

จบ อุทานสูตรที่ ๓

อรรถกถาอุทานสูตรที่ ๓

ในอุทานสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุทานํ อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งอุทาน ซึ่งมีโสมนัสมีกำลังแรงเป็นสมุฏฐาน. ถามว่า ก็โสมนัสนั้นเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 117

เพราะอาศัยอะไร? แก้ว่า เพราะอาศัยภาวะที่ศาสนาเป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์. อย่างไร? ได้ยินว่า พระองค์ทรงพระดำริว่า อุปนิสสัยของเรามีอยู่ ๓ อย่าง คือ ทานูปนิสสัย สีลูปนิสสัย ภาวนูปนิสสัย ในอุปนิสสัย ๓ อย่างนั้น ทานูปนิสสัยและสีลูปนิสสัยมีกำลังเพลา ภาวนูปนิสสัยมีกำลังกล้า จริงอยู่ ทานูปนิสสัยและสีลูปนิสสัยย่อมยังสัตว์ให้บรรลุมรรค ๓ และผล ๓ ภาวนูปนิสสัยให้บรรลุพระอรหัต ภิกษุดำรงอยู่ในอุปนิสสัยที่มีกำลังเพลา เพียรพยายามตัดเครื่องผูกคือโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้แล้ว ย่อมทำมรรค ๓ และผล ๓ ให้เกิดด้วยประการฉะนี้ เมื่อพระองค์ทรงรำพึงอยู่ว่า น่าอัศจรรย์จริง พระศาสนาเป็นนิยานิกะ นำสัตว์ออกจากทุกข์ โสมนัสนี้ย่อมเกิดขึ้น.

ใน ๒ อย่างนั้น ภิกษุตั้งอยู่ในอุปนิสสัยที่มีกำลังเพลา เพียร พยายาม ย่อมบรรลุ มรรค ๓ ผล ๓ ดังนั้น เมื่อจะเผยเนื้อความนี้ พึงทราบเรื่องพระมิลกเถระ ดังต่อไปนี้.

เล่ากันมาว่า ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ พระเถระนั้นเลี้ยงชีพด้วยการกระทำปาณาติบาต ประกอบบ่วงไว้ร้อยหนึ่ง ฟ้าทับเหวร้อยหนึ่ง ในป่า. ภายหลังวันหนึ่ง เธอเคี้ยวกินเนื้อที่ปิ้งไว้บนถ่านเพลิง แล้วเที่ยวไปในที่ใกล้บ่วง ถูกความกระหายครอบงำ จึงไปสู่วิหารของพระเถระผู้อยู่ป่ารูปหนึ่ง เปิดหม้อน้ำดื่มที่ตั้งอยู่ในที่ไม่ไกลของพระเถระผู้กำลังจงกรมอยู่. ไม่ได้เห็นน้ำแม้เพียงมือเปียก. เธอโกรธ กล่าวว่า ภิกษุ ภิกษุ พวกท่านฉันโภชนะที่คฤหบดีให้แล้วก็หลับไป ไม่จัดตั้งน้ำไว้แม้เพียงนิ้วมือหนึ่งในหม้อน้ำ นั่นเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง. พระเถระกล่าวว่า ผมได้ตั้งหม้อน้ำดื่มไว้เต็มแล้ว นี่เหตุอะไรหนอ ดังนี้แล้วจึงไปตรวจดู เห็นหม้อน้ำยังเต็ม จึงบรรจุสังข์สำหรับใส่น้ำดื่ม

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 118

จนเต็มได้ให้แล้ว. เธอดื่มน้ำที่เต็มสังข์ที่สอง คิดว่า ขึ้นชื่อว่าหม้อเต็มน้ำอย่างนี้อาศัยการกระทำของเรา เกิดเป็นราวกะว่ากระเบื้องร้อนในอนาคต อัตภาพของเราจักเป็นอย่างไรหนอ มีจิตสลด ทิ้งธนู แล้วกล่าวว่า ขอท่านโปรดบวชให้กระผมเถิดขอรับ. พระเถระบอกตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้วให้เธอบรรพชา.

เมื่อเธอทำสมณธรรมอยู่ สถานที่ที่ฆ่าเนื้อและสุกรเป็นอันมากและสถานที่ดักบ่วงและฟ้าทับเหวย่อมปรากฏ เมื่อเธอกำลังระลึกถึงสถานที่นั้นอยู่ เกิดความเร่าร้อนในร่างกาย เธอไม่ดำเนินไปตามแนวพระกัมมัฏฐาน เป็นเหมือนโคโกงฉะนั้น. เธอคิดว่า โดยภาวะเป็นภิกษุ เราจะทำอย่างไร ถูกความไม่ยินดียิ่งบีบคั้น ไปหาพระเถระ ไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ ผมไม่อาจทำสมณธรรมได้. ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะเธอว่า เธอจงทำการฝีมือ. เธอรับว่า ดีละ ขอรับ แล้วตัดไม้สด มีไม้มะเดื่อเป็นต้น ทำเป็นกองใหญ่ แล้วถามว่า บัดนี้ผมจะทำอย่างไร. จงเผามัน. เธอก่อไฟในทิศทั้ง ๔ ก็ไม่อาจจะเผาได้ จึงกล่าวว่า ผมไม่อาจ ขอรับ. พระเถระกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นจงหลีกไป แล้วขุดหลุม เอาไฟประมาณเท่าหิ่งห้อยจากเปลวไฟใส่เข้าในหลุมนั้น. เธอเผากองไม้ใหญ่เพียงนั้นให้ไหม้โดยฉับพลันเหมือนเผาใบไม้แห้ง ลำดับนั้น พระเถระแสดงเปลวไฟแก่เธอแล้วกล่าวว่า ถ้าเธอจักสึก เธอจักไหม้ในที่นี้ ดังนี้แล้วให้เธอเกิดความสังเวช. จำเดิมแต่เธอได้เห็นเปลวไฟ เธอตัวสั่นถามว่า ท่านขอรับ พระพุทธศาสนาเป็นเหตุนำออกจากทุกข์หรือ. อย่างนั้น อาวุโส. ท่านขอรับ เมื่อพระพุทธศาสนาเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ มิลกภิกษุจักทำตนให้พ้นทุกข์ ท่านอย่าคิดไปเลย. จำเดิม แต่นั้นมา เธอเพียรพยายามทำสมณธรรม บำเพ็ญวัตตปฏิบัติต่อท่าน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 119

เมื่อถูกความหลับบีบคั้น วางฟางที่ชุ่มน้ำไว้บนศีรษะ นั่งหย่อนเท้าทั้งสองลงในแอ่งน้ำ. วันหนึ่งเธอกรองน้ำดื่ม วางหม้อน้ำไว้ที่ขา ได้ยืนคอยจนน้ำในหม้อหมด. ครั้งนั้นแล พระเถระได้บอกอุทเทศแก่สามเณรดังนี้ว่า

อุฏฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน สญฺตสฺส จ ธมฺมชีวโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ

ยศย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคลผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญก่อนจึงทำ ผู้สำรวม ผู้เป็นอยู่โดยธรรม และเป็นผู้ไม่ประมาท.

เธอน้อมคาถาแม้ที่ประกอบด้วยบท ๔ เข้ามาในตนทีเดียว ขึ้นชื่อว่าผู้มีความหมั่นต้องเป็นเช่นกับเรา แม้ผู้มีสติก็เป็นเช่นกับเรา เหมือน ฯลฯ ทั้งผู้ไม่ประมาทเล่า ก็พึงเป็นเช่นกับเราเหมือนกัน รวมความว่าเธอน้อมคาถานั้นเข้าไปในตนเข้ามาในตนอย่างนั้นแล้ว ตั้งอยู่ในวาระย่างเท้านั้นนั่นเอง ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างแล้ว ดำรงอยู่ในอนาคามิผล หรรษาร่าเริง กล่าวคาถานี้ว่า

เราเทินกลุ่มก้อนฟางสดจงกรม บรรลุผลที่ ๓ (อนาคามิผล) ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เป็นลาภของเราหนอ.

เธอตั้งอยู่ในอุปนิสสัยมีกำลังเพลา เพียรพยายามอยู่อย่างนี้ ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง และทำมรรค ๓ ผล ๓ ให้เกิดได้ ด้วยประการฉะนี้

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โน จสฺส โน จ เม สิยา, น ภวิสฺส น เม ภวิสฺสติ ดังนี้ เมื่อภิกษุหลุดพ้นอย่างนี้แล้วชื่อว่าพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำเสียได้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 120

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน จสฺสํ โน จ เม สิยา ความว่า ก็เราไม่พึงเป็น แม้ปริขารของเราก็ไม่พึงมี ก็หรือว่าถ้าการปรุงแต่งกรรมในอดีตของเราจักไม่ได้มีแล้วไซร้ บัดนี้ขันธ์ ๕ หมวดของเรานี้ไม่พึงมี. บทว่า น ภวิสฺส น เม ภวิสฺสติ ความว่า ก็บัดนี้เราจักพยายามโดยประการที่การปรุงแต่งกรรมอันให้ขันธ์บังเกิดแก่เราในอนาคตจักไม่มี เมื่อการปรุงแต่งกรรมไม่มี ชื่อว่าปฏิสนธิในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา. บทว่า เอวํ วิมุจฺจมาโน ความว่า ภิกษุเมื่อน้อมใจไปอย่างนี้ ตั้งอยู่ในอุปนิสัยมีกำลังอ่อน พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้. บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงถึงความที่พระศาสนาเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ ตรัสอุทานนี้อย่างนี้. บทว่า รูปํปิ ภวิสฺสติ ความว่า รูปจักมี. บทว่า รูปสฺส วิภวา ได้แก่ เพราะเห็นไม่เป็นไปของรูป. จริงอยู่ มรรค ๔ ที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนาชื่อว่าเห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งรูปเป็นต้น ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้เช่นนั้น. บทว่า เอวํ วิมุจฺจมาโน ภนฺเต ภิกฺขุ ฉินฺเทยฺย ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อน้อมใจไปอย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้ เหตุไรจักไม่ตัด.

บัดนี้ เมื่อจะทูลถามถึงมรรคผลสูงๆ ขึ้นไป ภิกษุนั้นจึงกราบทูลคำเป็นต้นว่า กถํ ปน ภนฺเต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า อนนฺตรา ได้แก่ กาลอันเป็นลำดับซึ่งมีอยู่ ๒ อย่าง คือ กาลเป็นลำดับใกล้ ๑ กาลเป็นลำดับไกล ๑ วิปัสสนาชื่อว่ากาลเป็นลำดับใกล้ต่อมรรคไกลต่อผล ภิกษุหมายเอากาลเป็นลำดับนั้นจึงทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อรหัตตผลที่นับว่าความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีในลำดับแห่งวิปัสสนา. บทว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 121

อตสิตาเย ได้แก่ ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง คือ ไม่ควรกลัว. บทว่า ตาสํ อาปชฺชติ แปลว่า ย่อมถึงความกลัว. บทว่า ตาโส เหโส ความว่า เพราะวิปัสสนาอย่างอ่อนที่เป็นไปอย่างนี้ว่า โน จสฺสํ โน จ เม สิยา นี้นั้นไม่สามารถจะยึดครองความรักในตนได้ ฉะนั้นปุถุชนผู้ไม่ได้สดับจึงชื่อว่ามีความสะดุ้ง เพราะเขาคิดว่าบัดนี้เราจักขาดสูญ เราจักไม่มีอะไรๆ จึงเห็นตนเสมือนตกไปในเหวเหมือนพราหมณ์คนหนึ่ง.

เล่ากันมาว่าพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก สวดพระธรรมเนื่องด้วยไตรลักษณ์อยู่ใต้โลหะปราสาท. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งกำลังยืนฟังธรรมอยู่ในที่แห่งหนึ่ง สังขารได้ปรากฏเป็นของว่างเปล่า. เขาเป็นเสมือนตกไปในเหว หนีออกจากที่นั้นทางประตูที่เปิดไว้ เข้าเรือนแล้วให้ลูกนอนบนอก กล่าวว่า พ่อ เมื่อเรานึกถึงลัทธิของตนเป็นอันฉิบหายแล้ว. บทว่า น เหโส ภิกฺขุ ตาโส ความว่า วิปัสสนาที่มีกำลังนั้นคือที่เป็นไปอย่างนั้น ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นความสะดุ้งสำหรับพระอริยสาวกผู้ได้สดับ ความจริงเขามิได้คิดอย่างนี้ว่าเราจักขาดสูญหรือจักพินาศ แต่เขามีความคิดอย่างนี้ว่าสังขารทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและย่อมดับไป.

จบ อรรถกถาอุทานสูตรที่ ๓