๖. พุทธสูตร ว่าด้วยพระพุทธเจ้าต่างกับภิกษุหลุดพ้นด้วยปัญญา
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 132
๖. พุทธสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าต่างกับภิกษุหลุดพ้นด้วยปัญญา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 132
๖. พุทธสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าต่างกับภิกษุหลุดพ้นด้วยปัญญา
[๑๒๕] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เทวดาและมนุษย์ต่างพากันเรียกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 133
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เราเรียกว่าผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
[๑๒๖] ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นจะมีอะไรเป็นข้อแปลกกัน จะมีอะไรเป็นข้อประสงค์ที่ยิ่งกว่ากัน จะมีอะไรเป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน เป็นแบบฉบับ เป็นที่อิงอาศัย ขอประทานพระวโรกาส ขออรรถแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียวเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ยังประชุมชนให้รู้จักมรรคที่ใครๆ ไม่รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง ประกาศทางให้ปรากฏ ฉลาดในทาง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สาวกทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ที่ดำเนินไปตามทาง เป็นผู้ตามมาในภายหลัง อันนี้แลเป็นข้อแปลกกัน อันนี้เป็นข้อประสงค์ยิ่งกว่ากัน อันนี้เป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
จบ พุทธสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 134
อรรถกถาพุทธสูตรที่ ๖
ในพุทธสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โก อธิปฺปายโส ความว่า อะไรเป็นความประสงค์ที่ยิ่งกว่ากัน. บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส ความว่า จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ทรงให้มรรคจิตนี้เกิดขึ้น ถัดจากนั้น ศาสดาอื่นไม่อาจให้เกิดขึ้นได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าทำมรรคจิตที่ยังไม่เกิดให้ เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ในนคโรปัมมสูตร ทางเก่าเกิดในที่ที่ไม่มีร่องรอย ในที่นี้ชื่อว่ามรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะอรรถว่ายังไม่เป็นไป. บทว่า อสญฺชาตสฺส เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุปฺปนฺนสฺส นั่นเอง. บทว่า อนกฺขาตสฺส ได้แก่ มิได้ตรัสไว้. ชื่อว่า มัคคัญญู เพราะรู้มรรคจิต. ชื่อว่า มัคควิทู เพราะทำมรรคจิตให้แจ่มแจ้ง คือ ให้ปรากฏ. ชื่อว่า มัคคามัคคโกวิทะ เพราะฉลาดในมรรคจิตและธรรมชาติมิใช่มรรคจิต. บทว่า มคฺคานุคา แปลว่า ไปตามมรรคจิต. บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา ความว่า เราถึงก่อน สาวกถึงภายหลัง.
จบ อรรถกถาพุทธสูตรที่ ๖