พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อุปาทิยสูตร ว่าด้วยการถูกมารผูกมัดเพราะถือมั่น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36820
อ่าน  399

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 148

อรหันตวรรคที่ ๒

๑. อุปาทิยสูตร

ว่าด้วยการถูกมารผูกมัดเพราะถือมั่น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 148

อรหันตวรรคที่ ๒

๑. อุปาทิยสูตร

ว่าด้วยการถูกมารผูกมัดเพราะถือมั่น

[๑๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานพระวโรกาสแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว เป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคลยังถูกตัณหามานะทิฏฐิยึดไว้ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ถูกยึด จึงหลุดพ้นจากมาร.

ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่กล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร ได้อย่างไรเล่า.

ภิ. ข้าแต่พระองค์เจริญ เมื่อบุคคลยังยึดรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณมั่นอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นจึงหลุดพ้นจากมาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 149

แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างนี้แล.

พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว อย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ บุคคลยังยึดรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณมั่นอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ถูกยึด จึงหลุดพ้นจากมาร เธอพึงทราบอรรถแห่งคำนี้ที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างนี้เถิด.

[๑๓๙] ครั้งนั้นแล. ภิกษุรูปนั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคม กระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล เธอเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ อุปาทิยสูตรที่ ๑

อรหันตวรรคที่ ๒

อรรถกถาอุปาทิยสูตรที่ ๑

ในอุปาทิยสูตรที่ ๑ อรหันตวรรค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปาทิยมาโน ได้แก่ ถูกตัณหามานะและทิฏฐิยึด. บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 150

พนฺโธ มารสฺส ได้แก่ ชื่อว่าถูกบ่วงมารมัดไว้. บทว่า มุตฺโต ปาปิมโต ได้แก่ เป็นอันชื่อว่าพ้นแล้วจากบ่วงแห่งมารผู้มีบาป.

จบ อรรถกถาอุปทิยสูตรที่ ๑