๘. รชนิยสัณฐิตสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งจูงใจให้กําหนัด
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 159
๘. รชนิยสัณฐิตสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งจูงใจให้กําหนัด
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 159
๘. รชนิยสัณฐิตสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งจูงใจให้กำหนัด
[๑๔๖] กรุงสาวัตถี. ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ สิ่งใดแลจูงใจให้กำหนัด เธอควรละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.
พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร ได้อย่างไรเล่า.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนจูงใจให้กำหนัด ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 160
เสีย ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างนี้แล.
พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนจูงใจให้กำหนัด ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างนี้เถิด ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ รชนิยสัณฐิตสูตรที่ ๘
อรรถกถารชนิยสัณฐิตสูตรที่ ๘
ในรชนียสัณฐิตสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รชนียสณฺิตํ ได้แก่ ตั้งอยู่โดยอาการอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี อธิบายว่า ตั้งอยู่โดยความเป็นปัจจัยแห่งราคะ.
จบ อรรถกถารชนิยสัณฐิตสูตรที่ ๘