พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปาลิเลยยสูตร ว่าด้วยการรู้เห็นที่ทําให้สิ้นอาสวะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2564
หมายเลข  36839
อ่าน  546

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 222

๙. ปาลิเลยยสูตร

ว่าด้วยการรู้เห็นที่ทําให้สิ้นอาสวะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 222

๙. ปาลิเลยยสูตร

ว่าด้วยการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสวะ

[๑๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงผ้าอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังพระนครโกสัมพีเพื่อบิณฑบาต. ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครโกสัมพี แล้ว. ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร มิได้รับสั่งเรียกพวกภิกษุที่เป็นอุปัฏฐาก มิได้ตรัสอำลาพระภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียว ไม่มีเพื่อน เสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก.

[๑๗๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถอะท่านพระอานนท์ พระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 223

พระภาคเจ้าทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร มิได้ทรงรับสั่งเรียกพวกภิกษุที่เป็นอุปัฏฐาก มิได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียว ไม่มีเพื่อน เสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก. ท่านพระอานนท์ ได้ตอบว่า อาวุโส สมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร มิได้ทรงรับสั่งเรียกพวกภิกษุที่เป็น อุปัฏฐาก มิได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียว ไม่มีเพื่อน เสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงพระประสงค์ที่จะประทับแต่พระองค์เดียว สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเป็นผู้อันใครๆ ไม่พึงติดตาม.

[๑๗๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงป่าปาลิเลยยกะ ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้รังอันเจริญ ในป่าปาลิเลยยกะนั้น ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วต่างก็สนทนาปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้พากันกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ นานแล้วที่พวกผมได้สดับธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านอานนท์ พวกผมปรารถนาที่จะสดับธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์พร้อมกับภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ณ โคนไม้รังอันเจริญ ในป่าปาลิเลยยกะ ครั้นแล้วต่างถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 224

[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอย่างไรหนอ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุนั้นด้วยพระทัย จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมด้วยการเลือกเฟ้น แสดงสติปัฏฐาน ๔ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงสัมมัปปธาน ๔ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงอิทธิบาท ๔ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงอินทรีย์ ๕ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงพละ ๕ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงโพชฌงค์ ๗ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการเลือกเฟ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมด้วยการเลือกเฟ้นเช่นนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงด้วยการเลือกเฟ้นเช่นนี้ เออก็มีภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ยังเกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอย่างไรหนอ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ?

[๑๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม มิได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริธรรม ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นอัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 225

เกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

[๑๗๕] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย แต่ว่าตามเห็นอัตตามีรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

[๑๗๖] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ย่อมไม่ตามเห็นอัตตามีรูป แต่ว่าตามเห็นรูปในอัตตา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 226

[๑๗๗] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ย่อมไม่ตามเห็นอัตตามีรูป ย่อมไม่ตามเห็นรูปในอัตตา แต่ว่าตามเห็นอัตตาในรูป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

[๑๗๘] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ย่อมไม่ตามเห็นอัตตามีรูป ย่อมไม่ตามเห็นรูปในอัตตา ย่อมไม่ตามเห็นอัตตาในรูป แต่ว่าตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตามีเวทนา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นเวทนาในอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตาในเวทนา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา แต่ว่าตามเห็นอัตตามีสัญญา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสัญญาในอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตาในสัญญา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตามีในสัญญา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตามีสังขาร ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสังขารในอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตาในสังขาร ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตามีวิญญาณ ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นวิญญาณในอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตาในวิญญาณ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร ก็สังขารนั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 227

มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

[๑๗๙] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าเป็นผู้มีทิฏฐินี้ว่า อัตตาก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิความเห็นว่าเที่ยงเช่นนั้นเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

[๑๘๐] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิเช่นนี้ว่า อัตตาก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา แต่ว่าเป็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 228

ผู้มีทิฏฐิเช่นนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิความเห็นว่าขาดสูญเช่นนั้นเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลแม้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

[๑๘๑] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิเช่นนี้ว่า อัตตาก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา และเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิเช่นนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี แต่ว่ายังเป็นผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความเป็นผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรมเช่นนั้นเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลแม้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

จบ ปาลิเลยยสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 229

อรรถกถาปาลิเลยยสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในปาลิเลยยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน

บทว่า จาริกํ ปกฺกามิ ความว่า ในคราวที่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน วันหนึ่ง พระศาสดาจึงทรงนำเรื่องของพระเจ้าทีฆีติโกศลมาแล้วตรัสสอนด้วยพระคาถาทั้งหลายมีอาทิว่า

ไม่ว่าในกาลไหนๆ ในโลกนี้ เวรทั้งหลาย ไม่ (เคย) ระงับด้วยเวรเลย.

วันนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังทะเลาะกันอยู่ ราตรีก็สว่างแล้ว แม้วันที่สองพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรื่องนั้นซ้ำอีก. แม้วันนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นยังคงทะเลาะกันอยู่เหมือนเดิม ราตรีก็สว่างแล้ว ถึงวันที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสเรื่องนั้นซ้ำอีกแล.

พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปองค์เดียว

ครั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กราบทูลกะพระองค์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงขวนขวายน้อย หมั่นประกอบการประทับอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจักปรากฏเพราะความบาดหมางทะเลาะวิวาทกันครั้งนี้เอง พระศาสดาทรงดำริว่าโมฆบุรุษเหล่านี้มีจิตถูกโทสะครอบงำแล้วแล เราตถาคตไม่สามารถจะไกล่เกลี่ยโมฆบุรุษพวกนี้ให้ยอมกันได้เลย ดังนี้แล้วทรงดำริ (อีก) ว่า ประโยชน์อะไรของเราตถาคตกับโมฆบุรุษเหล่านี้ เราตถาคตจักอยู่ด้วยการเที่ยวจาริกไปคนเดียว.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 230

พระศาสดาทรงดำริอย่างนี้แล้ว รุ่งเช้าครั้นทรงชำระพระวรกายเรียบร้อยแล้ว จึงได้เสด็จ (ออก) เที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี มิได้ตรัสเรียกใครๆ (ให้ตามเสด็จไปด้วย) พระองค์เดียวเท่านั้นเสด็จหลีกจาริกไปไม่มีเพื่อนสอง.

พระเถระกล่าวคำนี้ว่า ยสฺมิํ อาวุโส สมเย ก็เพราะท่านได้ทราบการเสด็จเที่ยวไปของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหมดว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จหลีกไปกับภิกษุรูปเดียว วันนี้จักเสด็จหลีกไปกับภิกษุสองรูป วันนี้จักเสด็จหลีกไปกับภิกษุ ๑๐๐ รูป วันนี้จักเสด็จหลีกไปกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป และวันนี้จักเสด็จหลีกไปเพียงลำพังพระองค์เดียว คือ การเสด็จเที่ยวไปของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหมดปรากฏคือ แจ่มแจ้งแก่พระเถระนั้น.

เสด็จสู่ป่าปาลิเลยยกะ

บทว่า อนุปุพฺเพน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับคามนิคม พลางประสงค์จะโปรดภิกษุผู้อยู่ด้วยการเที่ยวจาริกไปแต่ลำพัง จึงได้เสด็จไปยังพาลกโลณการคาม.

ณ พาลกโลณการคามนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอานิสงส์ในการอยู่ด้วยการเที่ยว (จาริก) ไปตามลำพังแก่พระภัคคุเถระตลอดเวลาหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จ (ในเวลากลางวัน) และตลอดทั้ง ๓ ยามในเวลากลางคืน รุ่งขึ้นทรงมีพระเถระนั้นเป็นปัจฉาสมณะเสด็จเที่ยวบิณฑบาตแล้ว ทรงให้พระเถระนั้นกลับในที่นั้นนั่นเอง ทรงดำริว่า เราตถาคตจักโปรดกุลบุตร ๓ คน (ภิกษุ ๓ รูป) ผู้อยู่ด้วยกันด้วย

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 231

ความสมัครสมาน จึงได้เสด็จพุทธดำเนิน (ต่อไป) ยังป่าปาจีนวังสะ. พระองค์ได้ตรัสอานิสงส์ในการอยู่ด้วยกันด้วยความสมัครสมานแก่ภิกษุทั้ง ๓ รูปนั้นตลอดคืน (แล้วรุ่งเช้าเสด็จออกบิณฑบาต) ทรงให้ภิกษุทั้ง ๓ รูปนั่นกลับในที่นั้นนั่นเอง แล้วเสด็จหลีกมุ่งสู่เมืองปาลิเลยยกะตามลำพังพระองค์เดียว เสด็จถึงเมืองปาลิเลยยกะตามลำดับ ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะเสด็จจาริกไปตามลำดับ ก็ได้เสด็จไปทางเมืองปาลิเลยยกะ.

ช้างอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า

บทว่า ภทฺทสาลมูเล ความว่า ชาวเมืองปาลิเลยยกะถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้พากันสร้างบรรณศาลาถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าในราวป่าชื่อรักขิตะ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากป่าปาลิเลยยกะ ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประทับอยู่ว่า ขอนิมนต์พระองค์ประทับอยู่ในบรรณคาลานี้เถิด.

ก็แล ต้นสาละบ้างต้นในราวป่านั้นนั่นแล เป็นต้นไม้ใหญ่ ประเสริฐ จึงเรียกว่า ภัททสาละ พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปอาศัยเมืองนั้น ประทับอยู่ที่โคนต้นไม้นั้น (ซึ่งอยู่) ใกล้บรรณศาลาในราวป่านั้น ด้วยเหตุนั้นพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ภทฺทสาลมูเล.

ก็เมื่อพระถาคตประทับอยู่ในราวป่านั้นอย่างนั้น ช้างพลายตัวหนึ่งถูกพวกช้างพังและลูกช้างเป็นต้น เบียดเสียดในสถานที่ทั้งหลาย มีสถานที่ออกหากินและสถานที่ลงท่าน้ำเป็นต้น เบื่อหน่าย (ที่จะอยู่) ในโขลง คิดว่าเราจะอยู่กับช้างพวกนี่ไปทำไม จึงละโขลง (ออก) ไปยังถิ่นมนุษย์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในราวป่าปาลิเลยยกะ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 232

(ทันทีที่เห็น) ใจก็สงบเยือกเย็นประหนึ่งความร้อนที่ถูกดับด้วยน้ำพันหม้อ. ได้ยืนอยู่ใกล้พระคาสดา.

นับแต่นั้นมา ช้างนั้นก็ทำวัตรปฏิบัติถวายพระศาสดา ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์ นำน้ำสรงมาถวาย ถวายไม้สีฟัน กวาดบริเวณ นำผลไม้มีรสอร่อยจากป่ามาถวายพระคาสดา. พระศาสดาก็ทรงเสวย. คืนวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจงกรมแล้วประทับนั่งบนแผ่นหิน. ฝ่ายช้างพลายก็ยืนอยู่ในที่ใกล้ๆ. พระคาสดาทรงเหลียวมองด้านพระปฤษฎางค์แล้ว มองไม่เห็นใครๆ เลย เหลียวมองด้านหน้าและด้านพระปรัศว์ทั้งสอง ก็มองไม่เห็นใครๆ เลยอย่างนั้น (เหมือนกัน).

ขณะนั้นพระองค์เกิดพระดำริขึ้นว่า สุขแท้หนอ ที่เราตถาคตอยู่แยกจากภิกษุผู้ก่อความบาดหมางกันเหล่านั้น. ฝ่ายช้างพลายก็คิดถึงเหตุเป็นต้นว่า ไม่มีช้างเหล่าอื่นคอยเคี้ยวกินกิ่งไม้ที่เราโน้มลง แล้วเกิดความคิดขึ้นว่า สุขแท้หนอ ที่เราอยู่ช้างเดียว เราได้ทำวัตรถวายพระศาสดา.

พระศาสดาตรวจดูพระดำริของพระองค์แล้วทรงดำริว่า จิตของเราตถาคตเป็นเช่นนี้ก่อน จิตของช้างเป็นเช่นไรหนอแล ทรงเห็นจิตของช้างนั้นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน จึงทรงดำริว่า จิตของเราทั้งสองเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

จิตของช้างตัวประเสริฐผู้มีงางอน กับจิตอันประเสริฐ (ของเราตถาคต) นี้ ย่อมเข้ากันได้ (และ) ไม่ว่าจะเป็นใคร ถ้ายินดีอยู่ในป่า (จิตของเขากับจิตของเราตถาคตย่อมเข้ากันได้ทั้งนั้น)

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 233

บทว่า อถโข สมฺพหุลา ภิกฺขู ความว่า ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในป่าปาลิเลยยกะนั้น ดังพรรณนามานี้ ภิกษุ ๕๐๐ รูปที่จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลาย.

บทว่า เยนายสฺมา อานนฺโท ความว่า (ภิกษุเหล่านั้น) ไม่สามารถจะไปสำนักพระศาสดาตามธรรมดาของตนได้ จึงเข้าไปหาพระอานนท์จนถึงที่อยู่.

ศาสนาธรรม

บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ ขโย ความว่า อรหัตตผลต่อจากมรรค.

บทว่า วิจยโส แปลว่า ด้วยการวิจัย อธิบายว่า กำหนดด้วยญาณซึ่งสามารถวิจัยถึงสภาวะของธรรมเหล่านั้นๆ.

บทว่า ธมฺโม หมายถึง ศาสนธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมกำหนดส่วนเหล่าใด มีอาทิว่าสติปัฏฐาน ๔ ไว้ เพื่อต้องการประกาศส่วนเหล่านั้น พระองค์จึงตรัส (พระพุทธพจน์นี้ไว้).

ปฏิจจสมุปบาทย่อย

บทว่า สมนุปสฺสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นด้วยทิฏฐิ.

บทว่า สงฺขาโร โส ได้แก่ สังขารคือทิฏฐินั้น.

บทว่า ตโตโช โส สงฺขาโร ความว่า สังขารนั้นเกิดจากตัณหานั้น อธิบายว่า ในบรรดาจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหา สังขารนั้นย่อมเกิดในจิต ๔ ดวง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 234

บทว่า สาปิ ตณฺหา ได้แก่ ตัณหาซึ่งเป็นปัจจัยของสังขารคือทิฏฐินั้น.

บทว่า สาปิ เวทนา ไต้แก่ เวทนาซึ่งเป็นปัจจัยของตัณหานั้น.

บทว่า โสปิ ผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันเกิดจากอวิชชาซึ่งเป็นปัจจัยของเวทนานั้น.

บทว่า สาปิ อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชาอันสัมปยุตด้วยผัสสะนั้น.

ถ้ามีเรา บริขารของเราก็มี

บทว่า โน จสฺสํ โน จ เม สิยา ความว่า ถ้าเราไม่พึงมีไซร้ แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมีด้วย.

บทว่า น ภวิสฺสามิ น เม ภวิสฺสติ ความว่า ก็ถ้าแม้ในอนาคตเราจักไม่มีไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้บริขารของเราก็จักไม่มีด้วย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาให้ภิกษุนั้นสลัดทิ้งทิฏฐิที่ยึดถือไว้แล้วๆ ตามอัธยาศัยบุคคลบ้าง ตามการยักย้ายเทศนาบ้าง.

ในบทว่า ตโตโช โส สงฺขาโร พึงทราบอธิบายว่า :-

ถามว่า ในจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหาไม่มีวิจิกิจฉาเลย (แล้ว) สังขารคือวิจิกิจฉาจะเกิดจากตัณหาได้อย่างไร?

ตอบว่า สังขารคือวิจิกิจฉาเกิดจากตัณหาก็เพราะยังละตัณหาไม่ได้. อธิบายว่า เมื่อตัณหาใดยังละไม่ได้ สังขารคือวิจิกิจฉานั้นก็เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตัณหานั้น จึงตรัสคำนี้ว่า ตโตโช โส สงฺขาโร.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 235

แม้ในทิฏฐิก็ได้นัย (ความหมาย) อย่างเดียวกันนี้. เพราะธรรมดาว่า สัมปยุตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีในจิตตุปบาท ๔ ดวง.

อนึ่ง สัมปยุตตทิฏฐินั้นเกิดขึ้นเพราะละตัณหาใดไม่ได้ หมายเอาตัณหานั้น ความหมายนี้จึงใช้ได้แม้ในทิฏฐินั้น รวมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาจนถึงอรหัตตผลไว้ในฐานะ ๒๓ ในสูตรนี้.

จบ อรรถกถาปาลิเลยยสูตรที่ ๙