พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อนุราธสูตร ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36850
อ่าน  565

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 267

๔. อนุราธสูตร

ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 267

๔. อนุราธสูตร

ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

[๒๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่าไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกพากันเข้าไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วจึงได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ดูก่อนท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติในฐานะ ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑ เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 268

ได้กล่าวกะอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑ เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่บวชแล้วไม่นาน ก็หรือว่าเป็นภิกษุเถระแต่โง่เขลาไม่ฉลาด. ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถียร์ปริพาชกกล่าวรุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่า เป็นภิกษุใหม่และเป็นผู้โง่เขลาแล้ว พากันลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๒๐๙] เมื่ออัญญเดียรถียร์ปริพาชกเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถียร์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไรจึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถียร์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำอันไม่จริง และพึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งสหธรรมิกไรๆ ผู้กล่าวคล้อยตามวาทะจะไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนได้ ลำดับนั้น ท่านพระอนุราธะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กระท่อมในป่าไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถียร์ปริพาชกเป็นอันมากพากันเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ฯลฯ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านพระอนุราธะ พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 269

บรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติในฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกะพวกเขาว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชไม่นาน ก็หรือว่าเป็นเถระแต่โง่เขลาไม่ฉลาด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นรุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่า เป็นผู้ใหม่ เป็นผู้เขลา แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์เกิดความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งสหธรรมิกไรๆ ผู้กล่าวคล้อยตามวาทะจะไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนได้.

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 270

อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา?

อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๑๑] ภ. ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นรูปว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๒] ภ. ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในรูปหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากรูปหรือ?

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 271

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในเวทนาหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากเวทนาหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในสัญญาหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากสัญญาหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในสังขารหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากสังขารหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากวิญญาณหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๓] พ. ดูก่อนราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 272

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๔] พ. ดูก่อนราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลนี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?.

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ บรรลุธรรมที่ควรบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑?

อ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

ภ. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์และความดับทุกข์.

จบ อนุราธสูตรที่ ๔

อรรถกถาอนุราธสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในอนุราธสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อรญฺกุฏิกายํ ได้แก่ ในบรรณศาลา (ตั้งอยู่) ท้ายวิหารนั้นนั่นแล.

บทว่า ตํ ตถาคโต คือ พระตถาคตผู้เป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 273

บทว่า อญฺตฺริเมห (๑) ความว่า ได้ยินว่า ท่านพระอนุราธะนั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า เดียรถีย์เหล่านี้เป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งต่อพระศาสนา พระศาสดาจักไม่ทรงบัญญัติ (๒) เหมือนอย่างที่เดียรถีย์เหล่านี้กล่าว ฉะนั้นท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า เอวํ วุตฺเต เต อญฺติตฺถิยา ความว่า เมื่อพระเถระกล่าว (แบบ) ไม่ทราบลัทธิของตนและของบุคคลอื่นอย่างนี้ ปริพาชกผู้เป็นอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นรู้แต่เพียงลัทธิในศาสนา (ของตน) ส่วนเดียว ประสงค์จะให้โทษ (จับผิด) ในวาทะของพระเถระ จึงได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอนุราธะ.

บทว่า กิํ ตํ มญฺสิ อนุราธ ความว่า พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระอนุราธะนั้นแล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่รู้จักโทษในลัทธิของตน แต่เธอเป็นผู้ทำ (จริง) ได้บำเพ็ญเพียรมาแล้ว เราตถาคต จักให้เธอทราบอย่างนี้ด้วยการแสดงธรรม.

พระศาสดาประสงค์จะทรงแสดงเทศนามีปริวัฏฏ์ ๓ จึงตรัสคำ ว่า ตํ กิํ มญฺสิ อนุราธ (ดูก่อนอนุราธะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?) เป็นต้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกทางบำเพ็ญเพื่อเป็นพระอรหันต์ขึ้น (แสดง) แก่พระอนุราธะนั้น ด้วยเทศนานั้นจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ตํ กิํ มญฺสิ อนุราธ รูปํ ตถาคโต (ดูก่อนอนุราธะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เธอพิจารณาเห็นรูปว่าเป็นสัตว์หรือ?).


(๑) บาลีเป็น อญฺตฺร อิเมหิ

(๒) ปาฐะว่า เอวํ สตฺถา ฉบับพม่าเป็น น เอวํ สตฺถา แปลตามฉบับพม่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 274

บทว่า ทุกฺขญฺเจว ปญฺเปมิ ทุกฺขสฺส จ นิโรธํ ความว่า เราตถาคต บัญญัติวัฏฏทุกข์และความดับไปแห่งวัฏฏทุกข์ คือ พระนิพพาน.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า ทุกฺขํ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงทุกขสัจ เมื่อทรงหมายถึงทุกขสัจนั้นแล้วก็เป็นอันหมายถึงสมุทยสัจด้วย เพราะสมุทยสัจเป็นมูลเหตุแห่งทุกขสัจนั้น.

ด้วยคำว่า นิโรธํ เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงนิโรธสัจ เมื่อทรงหมายถึงนิโรธสัจนั้นแล้วก็เป็นอันทรงหมายถึงมรรคสัจด้วย เพราะมรรคสัจเป็นอุบาย (ให้บรรลุ) นิโรธสัจนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงว่า ดูก่อนอนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้เราตถาคตบัญญัติสัจจะไว้ ๔ เท่านั้น ด้วยประการดังกล่าวมานี้.

ด้วยเหตุผลดังว่ามานี้ในสูตรนี้ เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะ (เรื่อง) วัฏฏะไว้.

จบ อรรถกถาอนุราธสูตรที่ ๔