พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อัสสชิสูตร ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36852
อ่าน  475

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 285

๖. อัสสชิสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 285

๖. อัสสชิสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา

[๒๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอัสสชิอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา พักอยู่ที่อารามของกัสสปเศรษฐี. ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า มาเถิดอาวุโสทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า พระเจ้าข้า อัสสชิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา แลท่านทั้งหลายจงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุถึงที่อยู่เถิด ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านอัสสชิแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า อัสสชิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ท่านถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และสั่งมากราบทูลว่า พระเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุถึงที่อยู่เถิด.

[๒๒๓] ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่พัก แล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอัสสชิถึงที่อยู่ ท่านพระอัสสชิ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 286

ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วก็ลุกขึ้นจากเตียง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอัสสชิว่า อย่าเลยอัสสชิ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจักนั่งที่อาสนะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระอัสสชิว่า ดูก่อนอัสสชิ เธอพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ฯลฯ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่าทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ไม่สามารถจะยัง อัตภาพให้เป็นไปได้ ฯลฯ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย

ภ. ดูก่อนอัสสชิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนอะไรบ้างหรือ?

อ. พระเจ้าข้า แท้ที่จริงข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อย มีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อยเลย.

ภ. ดูก่อนอัสสชิ ก็ตัวเธอเองไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้างหรือ?

อ. พระเจ้าข้า ตัวข้าพระองค์เองจะติเตียนข้าพระองค์เองได้โดยศีลก็หาไม่.

ภ. ดูก่อนอัสสชิ ถ้าหากว่า ตัวเธอเองติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมีความรำคาญและความเดือดร้อนอะไร?

ภ. พระเจ้าข้า ในการป่วยครั้งก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) (ครั้งนี้ระงับไม่ได้) จึงไม่ได้สมาธิ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 287

เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความสงสัยอย่างนี้ว่า เราไม่เสื่อมหรือหนอ.

ภ. ดูก่อนอัสสชิ สมณพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ เมื่อได้สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อมหรือหนอ ดูก่อนอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

ภ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าอริยสาวกนั้นได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวยทุกขเวทนา ก็ทราบชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าหากว่าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวยสุขเวทนา ก็ปราศจากความยินดียินร้าย เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าหากว่าเสวยทุกขเวทนา ก็ ปราศจากความยินดียินร้าย เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าหากว่าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ปราศจากความยินดียินร้าย เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ย่อมทราบชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวยเวทนา (๑) มีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกาย


(๑) เวทนาทางทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 288

เป็นที่สุด ถ้าเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนา (๑) มีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.

[๒๒๔] ดูก่อนอัสสชิ อุปมาเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงติดอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ เชื้อไม่มีก็พึงดับเพราะหมดน้ำมันและไส้นั้น ฉันใด ดูก่อนอัสสชิ ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.

จบ อัสสชิสูตรที่ ๖

อรรถกถาอัสสชิสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในอัสสชิสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กสฺสปการาเม ได้แก่ ในอารามที่กัสสปเศรษฐีให้สร้าง.

บทว่า กายสงฺขาเร ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก. ก็พระอัสสชินั้นระงับลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านั้นด้วยจตุตถฌานอยู่. บทว่า เอวํ โหติ ความว่า บัดนี้เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธินั้น จึงมีความคิดอย่างนี้. บทว่า โน จ ขฺวาหํ ปริหายามิ


(๑) เวทนาทางใจ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 289

ความว่า เรายังไม่เสื่อมจากพระศาสนา แลหรือหนอแล. ได้ยินว่าสมาบัติของท่านแนบแน่น แน่วแน่แล้ว (๑) (เป็นอัปปนา) เสื่อมไปเพราะโทษคืออาพาธ เพราะฉะนั้น ท่านจึงคิดอย่างนี้.

บทว่า สมาธิสารกา สมาธิสามญฺา ความว่า สมาธินั่นแลเป็นสาระและเป็นสามัญญผล แต่ในศาสนาของเรา ตถาคต ยังไม่ใช่สาระ วิปัสสนา มรรคและผลเป็นต้น (ต่างหาก) เป็นสาระ เธอนั้น เมื่อเสื่อมจากสมาธิ ไฉนจึงคิดว่าเราเสื่อมจากศาสนา. (๒)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นปลอบโยนพระเถระอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงเริ่มแสดงธรรมมีปริวัฏ ๓ แก่พระเถระนั้น จึงตรัสคำว่า ตํ กิํ มญฺสิ เป็นต้น. ต่อมาเมื่อจะทรงแสดงธรรมเครื่องอยู่ประจำแก่พระเถระนั้นผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในเวลาจบเทศนามีปริวัฏ ๓ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส สุขญฺเจ เวทนํ เวทยติ.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อนภินนฺทิตา ปชานาติ พึงทราบ อธิบายว่า :-

ถามว่า สุขเวทนา มีความเพลิดเพลินยินดี จงยกไว้ก่อนเถิด (ส่วน) ทุกขเวทนา มีความเพลิดเพลินยินดี เป็นอย่างไร?


(๑) ปาฐะว่า ตสฺส กิร อาพาธโทเสน อปฺปิโต สมาปตฺตโต ปริยายิ ฉบับพม่าเป็น ตสฺส กิร อาพาธโทเสน อปฺปิตปฺปิตา สมาปตฺติ ปริหายิ. แปลตามฉบับพม่า

(๒) ปาฐะว่า กสฺมา จินฺเตสิ สมาธิโต ปริหายามีติ สาสนโต ปริหายนฺโต นี้ ไม่มีในฉบับพม่า จึงแปลตามนัยของพม่า.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 290

ตอบว่า บุคคลประสบทุกข์แล้วย่อมปรารถนาสุข ซึ่งก็คือปรารถนาทุกข์นั่นเอง เพราะทุกข์มาถึงเพราะสุขแปรปรวนไป นักศึกษาพึงทราบความเพลิดเพลินยินดีในทุกข์อย่างนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้น นั่นแล.

จบ อรรถกถาอัสสชิสูตรที่ ๖