๗. เขมกสูตร ว่าด้วยไม่มีตนในขันธ์ ๕
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 290
๗. เขมกสูตร
ว่าด้วยไม่มีตนในขันธ์ ๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 290
๗. เขมกสูตร
ว่าด้วยไม่มีตนในขันธ์ ๕
[๒๒๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นพระเถระหลายรูปอยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี. ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเขมกอาพาธเป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา พักอยู่ที่พทริการาม. ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ภิกษุผู้เป็นพระเถระทั้งหลายออกจากที่พักแล้ว เรียกท่านพระทาสกะมา กล่าวว่า มาเถิดท่านทาสกะ จงเข้าไปหาเขมกภิกษุถึงที่อยู่ จงบอกกะเขมกภิกษุอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายได้ถามท่านอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านพออดทนได้หรือ ยังพอเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้น ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่าทุเลาไม่กำเริบขึ้นหรือ. ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายแล้ว เข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ได้กล่าวแก่ท่านพระเขมกะว่า ดูก่อนท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านพออดทนได้หรือ ยังพอเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ฯลฯ ท่านพระเขมกะตอบว่าผมอดทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาอันกล้าของผมกำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่ทุเลาเลย.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 291
[๒๒๖] ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะภิกษุผู้เป็นเถระว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เขมกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ผมทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ฯลฯ.
ถ. มาเถิดท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาเขมกภิกษุถึงที่อยู่ จงกล่าวกะเขมกภิกษุอย่างนี้ว่า ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า อาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ว่า เป็นอัตตาหรือว่ามีอยู่ในอัตตาหรือ ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายแล้ว เข้าไปหาท่านเขมกะถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า อาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์ ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ว่าเป็นอัตตาหรือว่ามีในอัตตาหรือ.
ข. อาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว คือ รูปปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ ว่าเป็นอัตตาหรือว่ามีในอัตตา.
[๒๒๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระทาสกะเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวอย่างนี้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณู-
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 292
ปาทานขันธ์ ดูก่อนผู้มีอายุ ผมไม่ได้เห็นสิ่งอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ว่าเป็นอัตตาหรือว่ามีในอัตตาเลย.
ถ. มาเถิดท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงกล่าวกะภิกษุเขมกะอย่างนี้ว่า อาวุโส พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์ ได้ทราบว่า ถ้าท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ว่าเป็นอัตตาหรือว่ามีในอัตตา ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพ ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว เข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์ ได้ทราบว่า ถ้าท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ว่าเป็นอัตตาหรือว่ามีในอัตตา ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพ.
ข. ดูก่อนอาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่ได้พิจารณาเห็นสิ่งอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ว่าเป็นอัตตาหรือว่ามีในอัตตา และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่ได้พิจารณาเห็นว่า เราเป็นนี้.
[๒๒๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระทาสกะเข้าไปหาภิกษุผู้เถระถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุเถระทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 293
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่ได้พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ว่าเป็นอัตตาหรือว่ามีในอัตตา และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ แต่ผมเข้าใจว่าเรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่ได้พิจารณาเห็นว่าเราเป็นนี้
ถ. มาเถิดท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงกล่าวกะภิกษุเขมกะอย่างนี้ว่า ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายถามท่านอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านเขมกะ ที่ท่านกล่าวว่า เรามี นี้คืออย่างไร? ท่านกล่าวรูปว่า เรามี หรือกล่าวว่า เรามีนอกจากรูป ท่านกล่าวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เรามี หรือกล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ ดูก่อนท่านเขมกะ ที่ท่านกล่าวว่า เรามีนั้น คือ อย่างไร? ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว เข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระเขมกะว่า ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านเขมกะ ที่ท่านกล่าวว่า เรามี นั้น คืออย่างไร? ท่านกล่าวรูปว่า เรามี หรือกล่าวว่า เรามีนอกจากรูป ท่านกล่าวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า เรามี หรือกล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ ดูก่อนท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า เรามีนั้น คืออย่างไร.
ข. พอทีเถิดท่านทาสกะ การเดินไปเดินมาบ่อยๆ อย่างนี้จะมีประโยชน์อะไร อาวุโส จงไปหยิบเอาไม้เท้ามาเถิด ผมจักไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายเอง.
[๒๒๙] ครั้งนั้น ท่านพระเขมกะยันไม้เท้าเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 294
ครั้นแล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระเขมกะว่า ดูก่อนท่านเขมกะ ที่ท่านกล่าวว่า เรามีนั้น คืออย่างไร?
ข. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผมไม่กล่าวรูปว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากรูป ไม่กล่าวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่ได้พิจารณาเห็นว่า เราเป็นนี้ เปรียบเหมือน กลิ่นดอกอุบลก็ดี กลิ่นดอกปทุมก็ดี กลิ่นดอกบุณฑริก (บัวขาว) ก็ดี ผู้ใดหนอจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า กลิ่นใบ กลิ่นสี หรือว่ากลิ่นเกสร ผู้นั้นเมื่อกล่าวอย่างนี้จะพึงกล่าวชอบละหรือ?
ถ. ไม่เป็นอย่างนั้น อาวุโส.
ข. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็โดยที่ถูก เมื่อจะกล่าวแก้ ควรกล่าว แก้อย่างไร?
ถ. ดูก่อนอาวุโส โดยที่ถูก เมื่อจะกล่าวแก้ ควรกล่าวแก้ว่า กลิ่นดอก.
ข. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ผมไม่กล่าวรูปว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากรูป ไม่กล่าวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่พิจารณาเห็นว่า เราเป็นนี้ สังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่าเรามีไม่ได้ สมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ สัญญาดังนี้ สังขารดังนี้ วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 295
ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่ แม้ท่านยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัย อย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ก็ถึงการเพิกถอนได้ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนผ้าเปื้อนเปรอะด้วยมลทิน เจ้าของทั้งหลายมอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักฟอก ช่างซักฟอกขยี้ผ้านั้นในน้ำด่างขี้เถ้า ในน้ำด่างเกลือ หรือในโคมัย แล้วเอาซักในน้ำใสสะอาด ผ้านั้นเป็นของสะอาดขาวผ่องก็จริง แต่ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า กลิ่นน้ำด่างเกลือ หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด ช่างซักฟอกมอบผ้านั้นให้แก่เจ้าของทั้งหลาย เจ้าของทั้งหลายเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบอบกลิ่น แม้ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า กลิ่นน้ำด่างเกลือ หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด แม้กลิ่นนั้นก็หายไป ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้ สมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูป ดังนี้ เวทนาดังนี้ สัญญาดังนี้ สังขารดังนี้ วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่ แม้ท่านยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ก็ถึงการเพิกถอนได้ ฉันนั้น.
[๒๓๐] เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระเขมกะว่า ผมทั้งหลายไม่ได้ถามมุ่งหมายเบียดเบียนท่านเขมกะเลย แต่ว่า ท่านเขมกะสามารถพอจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 296
พระภาคเจ้านั้นโดยพิสดาร ตามที่ท่านเขมกะบอกแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว โดยพิสดาร.
ท่านพระเขมกะได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระเขมกะ ก็เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวคำไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุผู้เถระประมาณ ๖๐ รูป และของท่านพระเขมกะพ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.
จบ เขมกสูตรที่ ๗
อรรถกถาเขมกสูตรที่ ๗
พึงทราบวินิจฉัยในเขมกสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺตนิยํ ได้แก่ ที่เป็นบริขารของตน.
บทว่า อสฺมีติ อธิคตํ ความว่า เราประสบกับตัณหาและมานะที่เป็นไปอย่างนี้ว่า เรามีเราเป็น.
บทว่า สนฺธาวนิกาย ได้แก่ ด้วยการไปการมาบ่อยๆ.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พระเขมกะเดินทางจากวัดพทริการามไปยังวัดโฆสิตาราม (ซึ่งอยู่ห่างกัน) ประมาณ ๓ คาวุต ฝ่ายพระทาสกเถระ วันนั้นเดินทางไกลถึง ๒ โยชน์ ด้วยการไปมาถึง ๔ ครั้ง.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเถระทั้งหลายจึงส่งพระทาสกะนั้นไป (ยังสำนักพระเขมกะ) ด้วยหวังว่า เราทั้งหลายจัก (คอย) ฟังธรรมจากสำนักพระธรรมกถึกผู้มีชื่อเสียง? เพระเหตุไรท่านจึงไม่ไปกันเอง?
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 297
ตอบว่า ป่าอันเป็นสถานที่อยู่ของพระเถระคับแคบ ในป่านั้น พระเถระจำนวนตั้ง ๖๐ รูป ไม่มีที่ว่าง (พอ) ยืนหรือนั่งได้ เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นจึงไม่ไปเอง (แต่ส่งพระทาสกะไปด้วยหวังว่า) ขอท่านเขมกะจงมากล่าวธรรมแก่เราทั้งหลายในที่นี้.
อนึ่ง ถามว่า เพราะเหตุไรพระเถระทั้งหลายจึงส่งพระทาสกะนั้นไป (ยังสำนักพระเขมกะ) เล่า?
ตอบว่า เพราะพระ (เขมก) เถระอาพาธ.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงส่งไปบ่อย.
ตอบว่า ส่งไปก็ด้วยหวังว่าพระเขมกะทราบแล้วจักมากล่าวธรรมแก่เราทั้งหลายด้วยตนเองทีเดียว.
ฝ่ายพระ (เขมก) เถระทราบอัธยาศัยของพระเถระเหล่านั้นแล้วจึงได้เดินไป (เอง).
บทว่า น ขฺวาหํ อาวุโส รูปํ ความว่า ก็ภิกษุใดกล่าวเฉพาะรูปว่าเป็นเรา ขันธ์ ๔ นอกนี้ก็เป็นอันภิกษุนั้นกล่าวปฏิเสธแล้ว. ภิกษุใดกล่าวนอกไปจากรูป รูปก็เป็นอันภิกษุนั้นกล่าวปฏิเสธแล้ว.
ในเวทนาทั้งหลายก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้. ฝ่ายพระเขมกเถระได้ประสบกับตัณหาและมานะว่า เรามีในขันธ์ทั้ง ๕ โดยประมวล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า อนุสหคโต แปลว่า สุขุม (ละเอียด).
บทว่า อูเส คือ น้ำด่างที่เกิดจากเถ้า.
บทว่า ขาเร คือ น้ำด่างที่เกิดจากดินเค็ม
บทว่า สมฺมทฺทิตฺวา คือ ให้เปียก ได้แก่ ให้ชุ่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 298
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้ออุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-
ก็วาระจิตของปุถุชนเปรียบเหมือนผ้าสกปรก
อนุปัสสนา ๓ เปรียบเหมือนน้ำด่าง ๓ ชนิด วาระจิตของพระอนาคามีเปรียบเหมือนผ้าที่ซักด้วยน้ำด่าง ๓ ชนิด
กิเลสที่อรหัตตมรรคฆ่าเปรียบเหมือนกลิ่นดินเค็มเป็นต้นที่ละเอียด.
อรหัตตมรรคญาณเปรียบเหมือนผอบของหอม ความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งหมดด้วยอรหัตตมรรคเปรียบเหมือนกลิ่นดินเค็มเป็นต้นที่ละเอียดหมดไปเพราะอาศัยผอบของหอม.
การที่พระขีณาสพผู้ฟุ้งตลบไปทั้ง ๑๐ ทิศ ด้วยกลิ่นหอมทั้งหลาย มีกลิ่นศีลเป็นต้น. ท่องเที่ยว (จาริก) ไปตามใจปรารถนา เปรียบเหมือนการที่คนมีกลิ่นตัวหอม นุ่งห่มผ้าที่อบด้วยกลิ่นหอม แล้วท่องเที่ยวไปตามท้องถนนในวันมีมหรสพ.
ปุถุชนสอนปุถุชนบรรลุมรรคผล
บทว่า อาจิกฺขิตุํ แปลว่า เพื่อบอก. บทว่า ทสฺเสตุํ แปลว่า เพื่อประกาศ. บทว่า ปญฺญเปตุํ แปลว่า เพื่อให้คนอื่นทราบ. บทว่า ปฏฺเปตุํ แปลว่า เพื่อให้ (คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ดำรงมั่น. บทว่า วิวริตุํ แปลว่า เพื่อทำ (คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ให้เปิดเผย. บทว่า วิภชิตุํ แปลว่า เพื่อทำ (คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ให้เป็นอันจำแนกไว้ดีแล้ว. บทว่า อุตฺตานีกาตุํ แปลว่า เพื่อทำ (คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ให้มีความหมายง่ายขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 299
บทว่า สฏฺีมตฺตานํ เถรานํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระประมาณ ๖๐ รูปนั้น เริ่มเจริญวิปัสสนาในที่ที่พระเถระกล่าว (ธรรมแก่พวกตน) แล้วพิจารณาสูงขึ้นๆ เวลาจบเทศนาก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. ฝ่ายพระ (เขมก) เถระไม่กล่าวโดยทำนองอื่นแต่กล่าวด้วยจิตสหรคตด้วยวิปัสสนานั่นเอง เพราะฉะนั้นท่านจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วย ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า จิตของภิกษุเถระประมาณ ๖๐ รูปและของท่านพระเขมกะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น.
จบ อรรถกถาเขมกสูตรที่ ๗