พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ฉันนสูตร ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36854
อ่าน  432

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 299

๘. ฉันนสูตร

ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 299

๘. ฉันนสูตร

ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ

[๒๓๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระหลายรูปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้.

[๒๓๒] เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 300

ไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความคิดนี้ว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็น อนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรม เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่าเป็นตนของเรา แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔) ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้.

[๒๓๓] ลำดับนั้นเอง ท่านพระฉันนะได้มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ท่านพระอานนท์ผู้ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและทรงยกย่องแล้ว ย่อมสามารถแสดงธรรมแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู และสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถิด. ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะก็เก็บเสนาสนะ แล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอิสปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 301

ครั้งนั้น ผมออกจากที่พักในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ทางวิหารแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้. เมื่อผมกล่าวอย่างนี้แล้วภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะผมว่า ท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนี้ ผมนั้นได้มีความคิดว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนั้นว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรม เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา? โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้ อาวุโส ผมนั้นได้มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ท่านพระอานนท์ผู้ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและทรงยกย่อง ย่อมสามารถแสดงธรรมแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู และสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถิด ขอท่านพระอานนท์จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 302

[๒๓๔] ท่านพระอานนท์กล่าวว่า แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผมก็ดีใจด้วยท่านพระฉันนะ ทั้งได้รำพึงกันมาแต่แรก ท่านพระฉันนะได้กระทำข้อนั้นให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำลายความดื้อดึงได้แล้ว ท่านพระฉันนะ ท่านจงเงี่ยโสตลงฟัง ท่านเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง ลำดับนั้น ความปีติและความปราโมทย์อย่างโอฬารก็บังเกิดมีแก่ท่านพระฉันนะ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นว่า เราเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.

อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์ รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า ดูก่อนกัจจานะ โลกนี้โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี (อัตถิตา) ๑ ความไม่มี (นัตถิตา) ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอยู่ ความมีในโลกย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและความยึดมั่น แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น มีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเราย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้นย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ดูก่อนกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลจึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 303

การสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ฉ. ดูก่อนท่านอานนท์ ท่านเหล่าใดมีการกล่าวสอนอย่างนี้ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อนุเคราะห์ มุ่งประโยชน์ กล่าวสอนและพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์แล้ว เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.

จบ ฉันนสูตรที่ ๘

อรรถกถาฉันนสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในฉันนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

พระฉันนเถระ

บทว่า อายสฺมา ฉนฺโน ได้แก่ พระฉันนเถระ เกิดในวันเดียวกับพระตถาคตเจ้า ในวันที่พระตถาคตเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็โดยเสด็จออกไปด้วย ครั้นเวลาต่อมาได้บรรพชาในสำนักพระศาสดาแล้วกลับมีปกติลบหลู่ตีเสมออย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าของเรา พระธรรมของเรา กระทบกระทั่งเพื่อนสพรหมจารีด้วยวาจาหยาบคาย.

บทว่า อปาปุรณํ (๑) อาทาย คือ ถือเอาลูกกุญแจ.


(๑) พ. อวาปุรณํ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 304

บทว่า วิหาเรน วิหารํ อุปสงฺกมิตฺวา ความว่า (พระฉันนะ) เข้าไปสู่วิหารหลังหนึ่ง ออกจากวิหารหลังนั้นแล้วก็เข้าไปสู่วิหารหลังอื่น ออกจากวิหารหลังอื่นนั่นแล้วก็เข้าไปสู่วิหารหลังอื่น (ต่อไปอีก) รวมความว่า ออกจากวิหารหลังนั้นๆ เข้าไปยังวิหารหลังนั้น อย่างนี้.

บทว่า เอตทโวจ โอวทนฺตุ มํ (๑) ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงไปในวิหารนั้นๆ ด้วยความอุตสาหะมากถึงอย่างนี้แล้วได้ กล่าวคำนี้?

ตอบว่า เพราะท่านเกิดความสังเวช.

เป็นความจริง เมื่อพระศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์ได้รับมอบหมายจากพระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงได้ไปยังเมืองโกสัมพีแล้วได้ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะนั้น.

เมื่อ (พระฉันนะ) ถูกลงพรหมทัณฑ์แล้ว ท่านก็เกิดความเร่าร้อนจนสลบล้มลง ครั้นรู้สึกตัวขึ้นมาอีกจึงลุกขึ้นไปยังสำนักภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นก็ไม่ยอมพูดจาอะไรกับท่าน. ท่านได้ไปยังสำนักภิกษุรูปอื่น แม้ภิกษุรูปนั้นก็มิได้พูด (อะไรกับท่าน) รวมความว่า ท่านท่องเที่ยวไปจนทั่ววัดอย่างนี้ แล้วก็เกิดเบื่อหน่าย จึงถือบาตรและจีวรไปยังเมืองพาราณสี เกิดความสังเวชจึงไปในวิหารหลังนั้นๆ แล้วได้กล่าวอย่างนี้.

บทว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ความว่า สังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมดไม่เที่ยง.


(๑) ปาฐะว่า เอตทโวจ โอวทนฺตุ มํ. ฉบับพม่าเป็นบทตั้ง แปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 305

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ความว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด เป็นอนัตตา.

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เมื่อจะโอวาทพระเถระ จึงบอกลักษณะ ๒ คือ อนิจจลักษณะ อนัตตลักษณะ แต่ไม่บอกถึงทุกขลักษณะ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าว่า เมื่อเราทั้งหลายบัญญัติ ทุกขลักษณะ ภิกษุนี้ (ฉันนะภิกษุ) จะพึงถือฟั่นเฝือไปว่า รูปเป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณเป็นทุกข์ มรรค (๑) เป็นทุกข์ ผลเป็นทุกข์ ดังนั้นท่านทั้งหลายชื่อว่าเป็นภิกษุผู้ตกทุกข์ด้วย เราทั้งหลายจักบอกไม่ให้เป็นโทษแก่เธอ โดยประการที่เธอไม่สามารถจะยึดถือฟั่นเฝือได้ ภิกษุเหล่านั้นจึงได้บอกสองลักษณะเท่านั้น.

บทว่า ปริตฺตสฺสนาอุปาทานํ อุปฺปชฺชติ ความว่า ความสะดุ้งและอุปาทานเกิดขึ้น.

บทว่า ปจฺจุทาวตฺตติ มานสํ อถ โก จรหิ เม อตฺตา ความว่า ใจของผมหมุนกลับอย่างนี้ว่า ถ้าว่าในขันธ์ ๕ มีรูป เป็นต้น ไม่มีแม้ขันธ์เดียวที่เป็นอัตตาไซร้ ก็แล้วอะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา.

ได้ยินว่า พระเถระนี้เริ่มเจริญวิปัสสนาโดยไม่กำหนดปัจจัยเลย. วิปัสสนาที่หย่อนกำลังของท่านนั้นจึงไม่สามารถกำจัดการยึดถืออัตตาได้ ครั้นเมื่อสังขารทั้งหลายปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า


(๑) ปาฐะว่า ปตฺโต ฉบับพม่าเป็น มคฺโค แปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 306

จึงกลับเป็นปัจจัย (ให้เกิด) อุจเฉททิฏฐิและความสะดุ้งว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ.

และท่านก็เห็นอัตตาเหมือนตกลงไปในเหว จึงกล่าวว่า ความสะดุ้งและอุปาทานเกิดขึ้น ใจของผมจึงหมุนกลับอย่างนี้ว่า ก็แล้วอะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา?

บทว่า น โข ปเนตํ ธมฺมํ ปสฺสโต โหติ ความว่า ความคิดอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เห็นธรรมคือ สัจจะ ๔.

บทว่า ตาวติกา วิสฺสฏฺิ แปลว่า ความคุ้นเคยเช่นนั้น.

บทว่า สมฺมุขา เมตํ ความว่า พระเถระฟังคำของพระฉันนะนั้นแล้วจึงคิดว่า ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแลจึงเหมาะแก่ภิกษุนี้ เลือกเฟ้นพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ก็ได้เห็นกัจจายนสูตรว่า พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอนแรกเป็นการคลายทิฏฐิ ตอนกลางเป็นการแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า (ทสพลญาณ) ตอนท้ายเป็นการประกาศปัจจยาการที่ละเอียดสุขุม เราจักแสดงสูตรนี้แก่เธอ.

พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงสูตรนั้นจึงกล่าวคำว่า สมฺมุขา เมตํ เป็นต้น.

จบ อรรถกถาฉันนสูตรที่ ๘