๕. นขสิขาสูตร ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนแห่งขันธ์ ๕
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 335
๕. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนแห่งขันธ์ ๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 335
๕. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนแห่งขันธ์ ๕
[๒๕๒] กรุงสาวัตถี. ที่พระเชตวนาราม. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะมีหรือไม่ รูปบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย?
จะมีหรือไม่ พระเจ้าข้า เวทนาบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย?
จะมีหรือไม่ พระเจ้าข้า สัญญาบางอย่าง ฯลฯ สังขารบางอย่าง ฯลฯ วิญญาณบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย?
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 336
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ไม่มีเลยภิกษุ รูปบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย. ไม่มีเลยภิกษุ เวทนาบางอย่าง ... สัญญาบางอย่าง ... สังขารบางอย่าง ... วิญญาณบางอย่าง ที่จะเป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย.
[๒๕๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นนิดหน่อย แล้วได้ตรัสคำดังนี้กะภิกษุนั้นว่า :-
ดูก่อนภิกษุ ไม่มีรูปแม้ประมาณเท่านี้เลย ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุ ผิว่า จักได้มีรูปแม้เพียงเท่านี้ ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาแล้วไซร้ ก็จะไม่ปรากฏการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยถูกต้อง. แต่เพราะเหตุที่ไม่มีรูปแม้มีประมาณเท่านี้แล ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ฉะนั้นการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยถูกต้อง จึงปรากฏ.
ดูก่อนภิกษุ ไม่มีเวทนาแม้มีประมาณเท่านี้แล ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่ อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุ ผิว่า จักได้มี เวทนาแม้เพียงเท่านี้ ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาแล้วไซร้ ก็จะ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 337
ไม่ปรากฏการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยถูกต้อง แต่เพราะเหตุที่ไม่มีเวทนามีประมาณเท่านี้ ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ฉะนั้นการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยถูกต้อง จึงปรากฏ.
ดูก่อนภิกษุ ไม่มีสัญญาแม้มีประมาณเท่านี้แล ... ไม่มีสังขารทั้งหลายแม้มีประมาณเท่านี้แล ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุ ผิว่า จักได้มีสังขารทั้งหลายแม้มีประมาณเท่านี้ ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้วไซร้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็จะไม่ปรากฏ แต่เพราะเหตุที่ไม่มีสังขารทั้งหลายแม้มีประมาณเท่านี้ ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ฉะนั้นการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยถูกต้อง จึงปรากฏ.
ดูก่อนภิกษุ ไม่มีวิญญาณแม้มีประมาณเท่านี้ ซึ่งจะเป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุ ผิว่า จักได้มีวิญญาณมีประมาณเท่านี้ เป็นของเที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้วไซร้ ก็จักไม่ปรากฏการประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยถูกต้อง แต่เพราะเหตุที่ไม่มีวิญญาณแม้มีประมาณเท่านี้ ซึ่งจะเป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 338
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยถูกต้อง จึงปรากฏ.
[๒๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญ ความข้อนี้เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. กราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
ภ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ... เพราะเหตุนั้นแล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ... รู้ชัดว่า ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ นขสิขาสูตรที่ ๕
อรรถกถานขสิขาสูตรที่ ๕
คำทั้งหมด ในนขสิขาสูตรที่ ๕ มีนัย (ความหมาย) ดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถานขสิขาสูตรที่ ๕