พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. คัททูลสูตรที่ ๒ ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕ ด้วยเสาล่ามสุนัข

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36864
อ่าน  424

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 342

๘. คัททูลสูตรที่ ๒

ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕ ด้วยเสาล่ามสุนัข


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 342

๘. คัททูลสูตรที่ ๒

ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕ ด้วยเสาล่ามสุนัข

[๒๕๘] กรุงสาวัตถี. ที่เชตวนาราม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ มีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคลตามไปรู้ไม่ได้แล้ว เงื่อนต้นแห่งสงสารจะไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุนัขที่เขาล่ามเชือกแล้ว ถูกล่ามไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง. ถ้ามันจะวิ่งไซร้ ก็จะวิ่งวนหลักหรือเสานั้น ถ้าจะยืนไซร้ ก็จะยืนชิดหลักหรือ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 343

เสานั้นนั่นเอง ถ้าจะนอนไซร้ ก็จะนอนชิดหลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมตามเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. แม้หากเขาจะเดินไปไซร้ ก็จะเดินใกล้ปัญจุปาทานขันธ์เหล่านี้แหละ แม้หากจะยืนไซร้ ก็จะยืนติดปัญจุปทานขันธ์เหล่านี้แหละ แม้หากจะนั่งไซร้ ก็จะนั่งติดปัญจุปาทานขันธ์เหล่านี้แหละ. เพราะฉะนั้นแลภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ อย่างนี้ว่า จิตนี้เศร้าหมองเพราะราคะ โทสะ โมหะ มาแล้วตลอดกาลนาน.

ว่าด้วยความเศร้าหมองและผ่องแผ้วแห่งจิต

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจะเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายจะผ่องแผ้วเพราะจิตผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไหม จิตที่ชื่อว่า จรณะ (จิตรกรรม) ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จรณจิต (จิตรกรรม) แม้นั้นแล จิตนั้นนั่นแหละคิดแล้ว. ก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนั่นเอง ยังวิจิตรกว่าจรณจิต (จิตรกรรม) แม้นั้นแล. เพราะฉะนั้นแลภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองเพราะราคะ โทสะ โมหะ มานมนานแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจะเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง จะผ่องแผ้วเพราะจิตผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์อื่นแม้เหล่าเดียวที่จะวิจิตรเหมือนสัตว์เดียรัจฉานเหล่านี้นะภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย สัตว์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 344

เดียรัจฉานแม้เหล่านั้น วิจิตรแล้วเพราะจิตนั่นเอง. จิตนั่นเองยังวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล. เพราะฉะนั้นแลภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรพิจารณาว่า จิตนี้เศร้าหมองเพราะราคะ โทสะ โมหะ มานมนานแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง ผ่องแผ้วเพราะจิตผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมหรือช่างเขียนเมื่อมีเครื่องย้อมก็ดี ครั่งก็ดี ขมิ้นก็ดี สีเขียวก็ดี สีแสดก็ดี พึงเขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษมีองคาพยพครบทุกส่วน ลงที่แผ่นกระดานหรือฝาผนังที่ขัดดีแล้ว หรือแผ่นผ้าที่เขาจัดเตรียมไว้ดีแล้ว แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วก็ฉันนั้นแล เมื่อจะให้เกิดขึ้น ก็จะให้รูปนั่นแหละเกิดขึ้น จะให้เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ นั่นแหละเกิดขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีดังนี้.

จบ คัททูลสูตรที่ ๒

อรรถกถาคัททูลสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในคัททูลสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พาลปุถุชนผู้ติดอยู่ใน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 345

วัฏฏะ ผู้อาศัยโซ่ตรวนคือทิฏฐิ จึงถูกผูกไว้ที่เสาคือสักกายะ ด้วยเชือกคือตัณหา อาศัยขันธปัญจกะเป็นไปอยู่ในอิริยาบถทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่จิตนี้เศร้าหมองเพราะราคะ โทสะ โมหะ มานาน.

สัตว์เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง

บทว่า จิตฺตสงฺกิเลสา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลาย แม้อาบน้ำดีแล้วก็ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง นั่นแล แต่ว่าแม้ร่างกายจะสกปรกก็ชื่อว่าผ่องแผ้วได้เพราะจิตผ่องแผ้ว.

ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ มิได้ตรัสไว้ว่า เมื่อรูปเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าเศร้าหมอง เมื่อรูปบริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าบริสุทธิ์.

(แต่) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ ได้ตรัสไว้ว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าเศร้าหมอง เมื่อจิตบริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าบริสุทธิ์ด้วย.

บทว่า จรณํ นาม จิตฺตํ ได้แก่ วิจรณจิต (ภาพเขียน). พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิชื่อว่าสังขามีอยู่ พวกเขาให้สร้างแผ่นผ้าแล้ว ให้ช่างเขียนภาพแสดงสมบัติและวิบัตินานัปการ โดยเป็นสวรรค์ เป็นนรก ลงในแผ่นภาพนั้น แสดง (ถึงผลของกรรม) ว่า ทำกรรมนี้แล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 346

จะได้รับผลนี้ ทำกรรมนี้แล้วจะได้รับผลนี้ ถือเอาจิตรกรรมนั้นเที่ยวไป (๑) .

บทว่า จิตฺเตเนว จินฺติตํ ความว่า ชื่อว่าอันจิตรกร (ช่างเขียน) ให้สวยงามแล้วด้วยจิต เพราะคิดแล้วจึงเขียน (๒) .

บทว่า จิตฺตญฺเว จิตฺตตรํ ความว่า จิตที่แสวงหาอุบายของจิตนั้น วิจิตรกว่าจิตที่ชื่อว่า จรณะแม้นั้น.

บทว่า ติรจฺฉานคตา ปาณา จิตฺเตเนว จินฺติตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นวิจิตรแล้ว (๓) เพราะจิตที่เป็นเหตุให้ทำกรรมนั่นเอง. ก็สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ มีนกกระจอกและนกกระทาเป็นต้น ที่จะชื่อว่าประมวลเอาจิตที่เป็นเหตุให้ทำกรรมนั้นมา โดยคิดว่า เราทั้งหลายจักวิจิตรอย่างนี้ ไม่มีเลย. กรรมต่างหากชักนำไปสู่กำเนิด. การที่สัตว์เหล่านั้นสวยงามก็โดยมีกำเนิดเป็นมูล. จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายที่เข้าถึงกำเนิดแล้ว ย่อมวิจิตรเหมือนกับสัตว์ที่เกิดอยู่ในกำเนิดนั้นๆ บัณฑิตพึงทราบว่า ความวิจิตรสำเร็จมาแต่กำเนิด กำเนิดสำเร็จมาแต่กรรม ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาว่าจิตนี้เป็นสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมกัน) จึงพึงทราบว่า มีอารมณ์อันวิจิตรกว่าความวิจิตรของสัตว์


(๑) ปาฐะว่า นโข นาม พฺราหฺมณปาสณฺฑิกา โหนฺติ เต ปน โกฏฺกํกตฺวา ตตฺถ นานปฺ- ปการา สุคติทุคฺคติวเสน สมฺปตฺติวิปตติโย ลิขาเปตฺวา อิทํ กมฺมํ กตฺวา อิทํ ปฏิลภติ อิทํกตฺวา อิทนฺติ ทสฺเสนฺโต ตํ จิตฺตํ คเหตฺวา วิจรติ. ฉบับพม่าเป็น สงฺขา นาม พฺราหฺมณปาสญฺฑิกา โหนฺติ, เต ปฏโกฏฺกํ กตฺวา ตตฺถ นานปฺปการา สุคติทุคฺคติวเสน สมฺปตฺติวิปตฺติโย เลขาเปตฺวา อิทํ กมฺมํ กตฺวา อิทํ ปฏิลภติ อิทํ กตฺวาอิทนฺติ ทสฺเสนฺตา ตํ จิตฺตํ คเหตฺวา วิจรติ. แปลตามฉบับพม่า.

(๒) ปาฐะว่า จิตฺตกาเรน จินฺเตตฺวา เอกคฺคตาจิตฺเตน จินฺติตํ. ฉบับพม่าเป็น จิตฺตกาเรน จินฺเตตฺวา กตตฺตา จิตฺเตน จินฺติตํ นาม. แปลตามฉบับพม่า.

(๓) ปาฐะว่า จินฺติตา ฉบับพม่าเป็น จิตฺติตา แปสตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 347

เดียรัจฉานทั้งหลาย เพราะวิจิตรด้วยสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมกัน) เพราะวิจิตรด้วยวัตถุ (ที่อาศัย) เพราะวิจิตรด้วยทวาร เพราะวิจิตรด้วยอารมณ์ ทั้งเพราะให้สำเร็จความวิจิตรเป็นอเนก เช่น เพศต่างๆ กัน สัญญาต่างๆ กัน โวหารต่างๆ กัน เป็นต้น ซึ่งมีกรรมชนิดต่างๆ กัน เป็นมูล.

บทว่า รชโก ได้แก่ ช่างที่เขียนรูปด้วยสีลงในวัตถุทั้งหลาย ก็ช่างนั้น (ถ้า) ไม่ฉลาดก็จะเขียนรูปได้ไม่น่าพอใจ (แต่ถ้า) ฉลาดก็เขียนรูปได้น่าพอใจ สวยน่าดู ฉันใด. ปุถุชนก็เป็นอย่างนั้นแหละ คือ ย่อมยังรูปที่ผิดปกติอันเว้นจากคุณสมบัติ มีความถึงพร้อมด้วยจักษุ เป็นต้น ให้เกิดขึ้นด้วยอกุศลจิตหรือด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณวิปปยุต ย่อมยังรูปที่สวยงามอันถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความถึงพร้อมด้วยจักษุเป็นต้น ให้เกิดขึ้นด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุต.

จบ อรรถกถาคัททูลสูตรที่ ๒