พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สัญญาสูตร ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36866
อ่าน  436

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 356

๑๐. สัญญาสูตร

ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 356

๑๐. สัญญาสูตร

ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา

[๒๖๓] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ จะถอน อัสมิมานะทั้งปวงขึ้นได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนาเมื่อจะใช้ไถใหญ่ไถนา ก็จะไถดะรากไม้ที่แตกยื่นออกไปทั้งหมดเสีย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 357

แล้ว จะครอบงำ กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชา ทุกอย่าง จะถอนอัสมิมานะทั้งหมดขึ้น.

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายเกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายแล้ว จะดาย จะฟาด จะสลัดทิ้ง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดตรงขั้ว มะม่วงทั้งหลายที่ติดอยู่กับขั้วก็จะหลุดออกไปตามขั้วนั้น แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ฯลฯ.

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนของเรือนยอดทั้งหมด ที่ชี้ตรงไปที่ยอด ชอนไปที่ยอด ไปรวมกันอยู่ที่ยอด ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่ากลอนเหล่านั้น ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นกะลำพัก ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่ากลิ่นที่เกิดจากรากทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จันทน์แดง ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าไม้ที่มีกลิ่นที่แก่นทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดอกมะลิ ชาวโลกกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 358

เป็นเลิศกว่าดอกไม้ที่มีกลิ่นที่ดอกทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจ้าประเทศราชทั้งหมดย่อมตามเสด็จพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าเจ้าประเทศราชเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างของดวงดาวทุกดวงไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของดวงจันทร์ ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัยเมื่อท้องฟ้าบริสุทธิ์ แจ่มจำรัส ปราศจากเมฆหมอก พระอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องฟ้า จะส่องแสง แผดแสงผ่านอากาศ ผ่านความมืดทั้งหมดแล้วเจิดจ้าอยู่ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว จะครอบงำ กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชา ทุกอย่าง จะถอนอัสมิมานะทั้งมวลได้.

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะครอบงำกามราคะทั้งหมดได้ ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งหมดขึ้นได้? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ ความดับสูญแห่งรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ ...

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 359

สัญญาอย่างนี้ ... สังขารอย่างนี้ ... วิญญาณอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้ จะครอบงำ กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชาทุกอย่างได้ จะถอนอัสมิมานะ ทั้งหมดขึ้นได้.

จบ สัญญาสูตรที่ ๑๐

จบ ปุปผวรรคที่ ๕

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนิจฺจสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ภาวนาอยู่ว่า ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง.

บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ จักทำให้ (กามราคะ) ทั้งหมดสิ้นไป.

บทว่า สพฺพํ อสฺมิมานํ ได้แก่ อัสมิมานะทั้ง ๙ อย่าง.

บทว่า มูลสนฺตานกานิ ได้แก่ รากไม้ที่แตกยื่นออกไป.

ก็ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-

อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนไถใหญ่.

กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนรากไม้ที่แตกออกไปทั้งเล็กทั้งใหญ่.

พระโยคีผู้เจริญอนิจจสัญญา ทำลายกิเลสได้ด้วยญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา เปรียบเหมือนชาวนาไถนาทำลายรากไม้เหล่านั้นได้ด้วยไถ.

บทว่า โอธุนาติ แปลว่า ดาย (กำจัดข้างล่าง).

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 360

บทว่า นิธุนาติ แปลว่า ฟาด.

บทว่า นิปฺโผเฏติ แปลว่า สลัดทิ้ง.

แม้ในที่นี้ พึงอุปมาเปรียบเทียบด้วยอรรถนี้ว่า อาลัยคือกิเลส เปรียบเหมือนหญ้าปล้อง ญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา เปรียบเหมือนการสลัดทิ้ง.

บทว่า วณฺฑจฺฉินฺนาย ความว่า (พวงมะม่วง) ขั้วขาดเพราะลูกธนูอันคม.

บทว่า ตนฺวยานิ ภวนฺติ ความว่า (มะม่วงลูกอื่นๆ) ย่อมตกตามพวงมะม่วงพวงนั้น. เมื่อมะม่วงพวงนั้นตก มะม่วง (ลูกอื่น) ก็พลอยตกลงพื้นดินด้วย.

แม้ในที่นี้ มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ว่า :-

กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวงมะม่วง

อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนลูกธนูอันคม

เมื่ออวิชชาที่เป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไปด้วยญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา กิเลสทั้งหมดก็พลอยถูกถอน (ถูกตัด) ไปด้วย เปรียบเหมือนเมื่อพวงมะม่วงถูกตัดไปด้วยคมธนู มะม่วงทั้งหมด (ในก้านเดียวกัน) ก็พลอยหล่นลงพื้นไปด้วย.

บทว่า กูฏงฺคมา แปลว่า (กลอนทั้งหลาย) ไปถึงยอดเรือน.

บทว่า กูฏนินฺนา แปลว่า ชอนเข้าไปในยอดเรือน โดยสอดเข้าไปสู่ยอดเรือน.

บทว่า กูฏสโมสรณา แปลว่า รวมลงอยู่ที่ยอดเรือน.

ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 361

อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนยอดเรือน.

กุศลธรรมที่เป็นไปภูมิ ๔ เปรียบเหมือนกลอนเรือน.

อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือนยอดแห่งกลอนทั้งหมดเป็นยอดของกูฏาคาร.

ถามว่า ก็อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะ (เท่านั้น) มิใช่หรือ? (แล้ว) กลับมาเป็นยอดของโลกุตตรธรรมได้อย่างไร?

ตอบว่า อนิจจสัญญา พึงทราบว่า เป็นยอด (ของโลกุตตรธรรมทั้งหลาย) เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ได้โลกุตตรธรรมแม้เหล่านั้น.

พึงทราบข้ออุปมาเปรียบเทียบในอุปมาทั้งหมดโดยอุบายนี้ ก็ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกิจของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา ๓ ข้อแรก ตรัสพลังของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา ๓ ข้อหลังแล.

จบ อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาปุปผวรรคที่ ๕

จบ มัชฌิมปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นทีสูตร ๒. ปุปผสูตร ๓. เผณปิณฑสูตร ๔. โคมยสูตร ๕. นขสิขาสูตร ๖. สามุททกสูตร ๗. คัททูลสูตรที่ ๑ ๘. คัททูลสูตรที่ ๒ ๙. นาวาสูตร ๑๐. สัญญาสูตร.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 362

รวมวรรคที่มีในมัชฌิมปัณณาสก์นั้นคือ

๑. อุปายวรรค

๒. อรหันตวรรค

๓. ขัชชนียวรรค

๔. เถรวรรค

๕. ปุปผวรรค

จึงเรียกว่าเป็นทุติยปัณณาสก์ ในขันธสังยุตต์นั้น.